นาฏศิลป์ เป็นคำสมาส แยกได้ ๒ คำ คือ นาฏ และ ศิลป์
นาฏหมายถึง การร่ายรำและการเคลื่อนไหวไปมา
ศิลปหมายถึง การแสดงออกเพื่อสนองความต้องการทางอารมณ์ การลอกเลียนแบบ การ ถ่ายทอดความหมายต่าง ๆ หรือ เป็นสิ่งที่มนุษย์เกิดจินตนาการในอันที่จะแสดงคุณค่าแห่งความงาม ออกมาในรูปแบบต่าง ๆ หรือได้พบเห็นจากธรรมชาติแล้วนำมาดัดแปลงประดิษฐ์ขึ้นให้มีความวิจิตรละเอียดอ่อน ซาบซึ้ง ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Arts”
ฉะนั้น “นาฏศิลป์” หมายถึง ศิลปะการแสดงประกอบดนตรีเช่น ฟ้อน รำ ระบำ โขน แต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกและมีลีลาท่าการแสดงที่แตกต่างกันไป สาเหตุหลักมาจากภูมิอากาศ ภูมิประเทศของแต่ละท้องถิ่น ความเชื่อ ศาสนา ภาษา นิสัยใจคอของผู้คน ชีวิตความเป็นอยู่ แต่ละภาค ศิลปะของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยความประณีตงดงาม เพื่อให้ความบันเทิงให้ผู้ที่ได้ดูมีความรู้สึกคล้อยตาม การร่ายรำนี้ต้องอาศัยเครื่องดนตรีและ การขับร้อง นาฏศิลป์ถือเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง และเป็นสาขาหนึ่งของศิลปะสาขาวิจิตรศิลป์ นาฏศิลป์ถือเป็นแหล่งรวมศิลปะและการแสดงไว้ด้วยกัน โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางในการคิด สร้างสรรค์ อนุรักษ์และสืบทอดต่อไป
ภาพแสดงการฟ้อนนาฏศิลป์พื้นเมือง
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=527757
ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ ในชีวิตประจำวันทุกวันนี้มนุษย์เราใช้ท่าทางประกอบการพูดหรือบางครั้งมีการแสดงสีหน้า ความรู้สึก เพื่อเน้นความหมายด้วยในทางนาฏศิลป์ ภาษาท่าเสมือนเป็นภาษาพูด โดยไม่ต้องเปล่งเสียงออกมา แต่อาศัยส่วนประกอบอวัยวะของร่างกาย แสดงออกมาเป็นท่าทาง โดยเลียนแบบท่าทางธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ การปฏิบัติภาษาท่าทางนาฏศิลป์แบ่งออกได้ ดังนี้
1. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แทนคำพูด เช่น ฉัน เธอ ท่าน ปฏิเสธ ท่าเรียก ท่าไป
2. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์อริยาบทหรือกิริยาอาการ เช่น ท่ายืน ท่าเดิน ท่านั่ง
3. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น ดีใจ เสียใจ
ความสำคัญของนาฏยศิลป์
นาฎศิลป์เป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าศิลปะแขนงอื่นๆ ความสำคัญของนาฎศิลป์สามารถกล่าวได้ดังนี้
1. นาฎศิลป์แสดงความเป็นอารยประเทศ บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองดีก็ด้วยประชาชนมีความเข้าใจศิลปะ เพราะศิลปะเป็นสิ่งมีค่า เป็นเครื่องโน้มน้าวอารมณ์ โดยเฉพาะศิลปะการละคร มีความสำคัญสามารถกล่อมเกลาจิตใจหรือโน้มน้าวอารมณ์ไปในทางที่ดี เป็นแนวทางนำให้คิดและให้กำลังใจในการที่จะสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่บ้านเมืองสืบไป
2. นาฎศิลป์เป็นแหล่งรวมศิลปะ ประกอบด้วยศิลปะประเภทต่าง ๆ มาเกี่ยวข้องสอดคล้องกัน เช่น ศิลปะการเขียน การก่อสร้าง การออกแบบเครื่องแต่งกาย และวรรณคดี ศิลปะแต่ละประเภทได้จัดทำกันด้วยความประณีตสุขุม ทั้งนี้ก็เนื่องด้วยศิลปะเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของชาติ มนุษย์ทุกชาติทุกภาษาต้องมีศิลปะของตนไว้เป็นประจำนับแต่โบราณมาจนถึงทุกวันนี้ รวมความว่านาฎศิลป์มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกันทั้งสิ้น สร้างความเป็นแก่นสารให้แก่บ้านเมืองด้วยกันทั้งนั้น
ภาพแสดงการรำนาฏศิลป์ไทย
ที่มา : http://www.phattayakulschool.com/webpages/knowledge/thaidance.html
1. เพื่อการสื่อสาร นาฏศิลป์ ได้พัฒนาจากรูปลักษณ์ที่ง่ายและเป็นส่วนประกอบของคำพูดหรือวรรณศิลป์ ไปสู่การสร้างภาษาของตนเองขึ้นที่เรียกว่า "ภาษาท่ารำ" โดยกำหนดกันในกลุ่มชนที่ใช้นาฏศิลป์นั้นๆ ว่าท่าใดมีความหมายอย่างไร
2. เพื่องานพิธีกรรมต่างๆ ได้แก่ การฟ้อนรำเพื่อบูชาหรือบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การรำแก้บน การฟ้อนรำอีกลักษณะหนึ่งเป็นการฟ้อนรำบูชาครู ไม่ได้แก้บนใด ๆ แต่เป็นการฟ้อนบูชาครู หรือเป็นพุทธบูชา เช่น การรำถวายมือในพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ไทย
3. เพื่องานพิธีการต่างๆ ได้แก่ พิธีการต้อนรับแขกเมืองสำคัญ พิธีแห่เทวรูปที่เคารพประจำปี เพื่อเป็นสิริมงคล พิธีฉลองงานสำคัญ เช่น งานวันเกิด งานวันครบรอ
ขอขอบคุณ
:1.http://student.swu.ac.th/hm471010481/%E0%B8%A3%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.htm
2. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8F% %E0%B8%9B%E0%B9%8C
3. https://sites.google.com/site/wbpthaidances/
4. http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0600001Saran/unit04/unit04_02.htm
5. https://sites.google.com/site/prawatinatsilpthiy/prayochn-laea-khunkha-cak-kar-ra-thiy