<< Go Back

    คิวบิสม์ หรือบาศกนิยม(อังกฤษ: Cubism)เป็นลัทธิการสร้างสรรค์ศิลปะที่ได้รับผลสะท้อนมาจากอิทธิพลด้านความเจริญ ทางวิทยาศาสตร์ และจากลักษณะรูปแบบหน้ากากของชนเผ่าพรีมิตีฟในแอฟริกา ซึ่งได้ปลุกเร้าการสร้างสรรค์แบบใหม่ รวมทั้ง ลักษณะการของศิลปินสมัยใหม่ที่พยายามแสวงหาลักษณะเฉพาะตัวให้กับตนเอง เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับลักษณะรูปแบบศิลปะ กลุ่มอื่นที่ผ่านมาหรือที่มีอยู่ในยุคนั้น ซึ่งมีหลักสุนทรียภาพที่แสดงรูปทรงศิลปะในลักษณะผันแปรความจริง โดยให้มีลักษณะ เป็นเหลี่ยมมุม เป็นลูกบาศก์ เป็นทรงเรขาคณิต เพื่อสร้างความคิดรวบยอดเชิง3มิติให้ปรากฏในผืนระนาบ2มิติหรือ3มิติแสดง ออกทั้งงานจิตรกรรมและประติมากรรม หากเป็นงานจิตรกรรมรูปแบบผลงานก็จะสามารถแสดงลักษณะปรากฏทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังบนพื้นระนาบไปพร้อมกัน บางทีก็แสดงการทับซ้อนและปิดบังระหว่างกัน รวมทั้งมีการตัดทอนรูปทรง ให้ดูง่ายขึ้นกว่ารูปจริงของวัตถุหรือสภาวะที่แท้จริงของรูปทรงนั้นๆด้วย
ประวัติ
             คิวบิสม์นับเป็นวิวัฒนาการของวงการศิลปะอย่างสำคัญ โดยศิลปินสองคน คือ ฌอร์ฌ บรัก (อังกฤษ: George Braque) และ ปาโบล ปีกัสโซ (อังกฤษ: Pablo Picasso) ซึ่งทั้งสองต่างมีจุดเริ่มต้นแรงบันดาลใจจากผลงานของ พอล เซซาน (อังกฤษ: Paul Cezanne) ซึ่งมีความคิดว่า "โครงสร้างเรขาคณิตเป็นรากฐานของรูปทรงธรรมชาติทั้งมวล" และ ถ้าเข้าใจรูปทรงของโลก ภายนอก และโครงสร้างตามความเป็นจริงแล้ว จงมองดูรูปเหล่านั้นให้เป็นเหลี่ยมเป็นลูกบาศก์ง่ายๆ ทั้งปิกัสโซและบาร์ค พยายามเน้นคุณค่าของปริมาตร ของวัสดุกับอากาศซึ่งสัมพันธ์กันเต็มไปหมดในภาพ อีกทั้งยังปฏิเสธหลักการของลัทธิอิมเพรส ชันนิสม์ ซึ่งละเลยความสำคัญของรูปทรงและมวลปริมาตร ศิลปินทั้งสองต่างสำรวจรายละเอียดของสิ่งที่พวกเขาต้องการวาด ด้วยการวิเคราะห์และแยกแยะทำลายรูปทรงเหล่านั้นให้กลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยไม่ปะติดปะต่อกันจากนั้นก็นำมาสังเคราะห์ ประกอบกันใหม่ ให้รูปทรงบางรูปทับกัน ซ้อนกันหรือเหลื่อมล้ำกันก็ได้ โดยมีจุดประสงค์สำคัญในเรื่องการสร้างความงามที่ เกิดจากมวลปริมาตรเป็นเป้าหมายสูงสุด โดยที่มาของชื่อคิวบิสม์นั้นมาจากการที่จอร์จ บาร์ค ได้ส่งงานเขียนของเขาไปแสดงใน นิทรรศการศิลปะที่หอศิลป์ Salon des Artistes Indepndants ในกรุงปารีส และถูกปฏิเสธไม่ให้แสดงงาน และนำผลงานทั้งหมด ออกจากนิทรรศการ โดยมีนักวิจารณ์แสดงความเห็นเกี่ยวกับผลงานของ บาร์ค ว่าเป็นการสร้างสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ขนาดเล็กทั้งสิ้น และเป็นผลงานที่ไม่เห็นความสำคัญของรูปทรงและตัดทอนทุกอย่างออกไป ไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือน รูปร่างของสิ่ง ต่างๆ โดยบาร์คตัดทอนให้เกิดรูปทรงเรขาคณิตและนำไปสู่รูปทรงแบบลูกบาศก์ โดยในแรกเริ่มนั้น ปิกัสโซ และ บาร์คเริ่มทำงานในแบบ คิวบิสม์ร่วมกันนั้น ปิกัสโซเปิดเผยว่า " ตอนที่เริ่ม เขียนภาพ ในแนวทางนี้นั้น พวกเขาไม่ได้ตั้งใจจะสร้างรูปสี่เหลี่ยม แต่เพียงแต่ต้องการแสดงความคิดพวกเขาออกมาเท่านั้น" และการที่จะแสดงออกให้ตรงกับความคิดของทั้งสองคน มัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการค้นหาโครงสร้างใหม่ด้วย จำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแนวศิลปะไปในทางตรงกันข้ามกับศิลปะอิมเพรส ชันนิสม์ ด้วยเหตุดังนี้เขาจึงต้องละเลยเรื่องสี และสัมผัส เพื่อหันไปค้นหาเรื่องโครงสร้าง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานขององค์ประกอบ โดยจัดระเบียบเสียใหม่
มุมมองเทคนิคและรูปแบบ
             ศิลปะแบบคิวบิสม์นั้น เกิดจากการที่ศิลปินไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางศิลปะที่ต่างไปจากแบบเก่าโดยสิ้นเชิง มันยาก แก่การจำกัดความให้ เพราะคิวบิสม์มันไม่ใช่เพียงแค่ทฤษฎีระบบ หรือแม้แต่รูปแบบเพียงแบบเดียว หากแต่ว่าคิวบิสม์ได้ พยายามค้นคว้าจากแนวทางในการสร้างสรรค์ งานศิลปะที่แสดงให้เห็นวัตถุ โดยให้ความรู้สึกว่าภาพนั้นๆ ถูกสร้างขึ้นด้วยสีบน ผืนผ้าใบ ไม่ใช่เพียงแค่การเลียนแบบวัตถุเท่านั้นให้สายตามองเห็นเป็นจริงอย่างธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ตามศิลปะแบบคิวบิสม์ ก็ ไม่ใช่ศิลปะนามธรรมโดยแท้จริง เพราะว่าคิวบิสม์ยังมีเนื้อหาเรื่องราวในภาพอยู่แต่สิ่งที่คิวบิสม์ให้ความสนใจนั้น คือ มุ่งไปที่ ลักษณะของวัตถุทางรูปทรงที่เราเห็นได้ด้วยความคิด ดังนั้น คิวบิสม์จึงเป็นแนวทางศิลปะที่พยายามจะเชื่อมโยงทั้งความคิดและ สายตาเข้าด้วยกัน ทั้งสองศิลปินนั้นได้แรงบันดาลใจในการทำศิลปะแบบ cubism จาก Cezanne ในเรื่องโครงสร้างและการไม่ลวงตา Cubism ทำตามหลักการวิเคราะห์โครงสร้างและการแปรระนาบแล้วสร้างรูปทรงที่เป็นเหลี่ยมเป็นสันขึ้นมา โดยลด ระยะในช่วงความลึก จากโลกแห่งทิวทัศน์จริงมาทำให้มวลสารทั้งหลายอัดรวมกันเหมือนภาพนูน คิวบิสม์ รูปวิเคราะห์ (Analytical Cubism) จะทำการตัดรายละเอียดซับซ้อนของวัตถุจริงออกไปบ้านและต้นไม้จะลดรูปทรงลงเหลือแค่ก้อนเหลี่ยม หรือ รูปโค้งอย่างง่ายๆ แนวทางของคิวบิสม์จะมีแนวทางที่จะไม่แสดงให้เห็นได้ชัดว่าอะไรเป็นอะไรแต่จะใช้ให้สิ่งต่างๆ นั้น มาปรากฏคู่กันเสมอ เช่น ในการการสร้างปริมาตร (Volume) แต่ในขณะที่ก็มีการใช้สีแบนราบตามผืนผ้าใบในบริเวณใกล้เคียง มี การจับลักษณะวัตถุตามที่ตาเห็น ขณะเดียวกันก็จงใจใช้สีที่แสดงให้รู้ว่านี่คือ ผืนผ้าใบแท้ๆ ไม่ใช่อย่างอื่นในเรื่องของเส้นวาด และสีก็เช่นเดียวกัน เส้นอาจจะถูกกลืนหายเข้าไปในบริเวณสีขอบร่างที่คมชัดของคนอาจจจะเลือนหายเข้าไปกลืนกับระนาบ รอบตัวได้โดยง่าย วิธีการทำระนาบให้เชื่อมโยงกันไปเรื่อยๆนั้น จะทำโดยการเปลี่ยนระดับสายตาไปด้วยกัน จะพบกับความตื้น ลึกที่ต่างกันแม้มันจะอยู่บนระนาบเดียวกันก็ตาม ในช่วงระหว่าาง สงครามโลกครั้งที่ 1 ปีกัสโซ่ได้เปลี่ยนแนวทางการทำงาน แบบ คิวบิสม์มาเป็น คิวบิสม์สังเคราะห์ (Synthetic Cubism) คิวบิสม์แบบนี้จะมีวัสดุต่างๆ เท่าที่หาได้มาปะติดเข้าไปด้วยภาพที่ ใช้วัสดุมาประกอบกันนี้ เรียกว่า "Collage" อาจจะใช้แผ่นกระดาษ เศษหนังสือพิมพ์ แผ่นกระจกเงา เส้นเชือก ทราย หรือไม่ก็ไพ่ การนำเอาเศษวัสดุเหล่านี้มาใส่ในภาพ สามารถอำพรางความรู้สึกที่ว่าโลกของภาพเขียนกัโลกของจิตรกร หรือผู้ดูไม่มีอะไร เกี่ยวกันเป็นคนละโลกให้มันลดลง ซึ่งมันจะทำให้คนดูภาพกับจิตกรมีการเชื่อมโยงสัมพันธืกันทางความคิดมากยิ่งขึ้น วัสดุที่ เลือกมาใช้นี้จะยังคงไว้ซึ่งคุณสมบัติทางการใช้สอย เมื่อนำมาจัดองค์ประกอบทางศิลปะก็จะได้คุณลักษณะใหม่ที่เป็นนามธรรม ในแบบแผนที่แปลกออกไป
คิวบิสม์ยุคแรก
              ระยะที่ 1 คิวบิสม์แบบเหลี่ยมมุม (อังกฤษ : Facet Cubism) ระหว่าง ค.ศ. 1907-1909 เป็นคิวบิสม์แบบเริ่มต้น ระยะนี้ ศิลปินจะทำการสร้างสรรค์โดยการแบ่งแยกวัตถุ หรือรูปภาพออกเป็นส่วนประกอบทางเรขาคณิตที่แน่นอนหรืออาจเรียกว่าตัด เป็นเหลี่ยมมุมอย่างหน้าเพชร (Facet) ก็ได้ ปล้วจึงนำเอาส่วนประกอบย่อยเหล่านั้นมาจัดองค์ประกอบใหม่เข้าด้วยกัน ซึ่งการ แสดงออกในระยะเริ่มต้นของคิวบิสม์นี้ แสดงให้เห็นอิทธิพลของเซซานน์อย่างชัดเจนด้วยพวกเขาได้นำลักษณะรูปแบบของ เซซานน์มาเป็นจุดดลใจและแนวทางการพัฒนาของตน นอกจากนั้น ศิลปินคิวบิสม์ยังสนใจศึกษาศิลปกรรมของชนเผ่าอนารยะ ชาวอาฟริกา และศิลปกรรมแบบอาร์เคอิคของกรีกโบราณ
คิวบิสม์ยุคที่สอง
              ระยะที่ 2 คิวบิสม์แบบวิเคราะห์ (อังกฤษ : Analytical Cubism) ระหว่าง ค.ศ. 1909-1912 เป็นคิวบิสม์ที่ถูกสร้างขึ้นด้วย การแตกแยกรูปแบบจริงของวัตถุเพิ่มมากขึ้น แล้วจึงนำมาวิเคราะห์ (Analyzed) ประกอบผ่านผลงาน แสดงให้เห็นแง่มุมต่างๆ ของวัตถุไปพร้อมกัน คิวบิสม์แบบวิเคราะห์นี้เป็นการๅวิเคราะห์เกี่ยวกับรูปทรงและพื้นที่ พื้นระนาบของวัตถุได้ถูกสร้างขึ้นใน แนวใหม่ จากการศึกษาโครงสร้าง และการแสดงให้เห็นแง่มุมต่างๆ (angular and faceted planes) ของวัตถุสิ่งเดียวกันได้หลาย ด้าน ในส่วนเนื้อหาศิลปะนั้นศิลปินสามารถสร้างสรรค์ด้วยเนื้อหาที่หลากหลาย เช่น เป็นภาพคน หุ่นนิ่ง หรือทิวทัศน์ โดยการใช้ สีที่มีลักษณะไม่ฉูดฉาด ภาพระยะนี้มักถูกคลุมไว้ด้วยสีเทา สีน้ำตาลอมแดง สีเขียว และสีดิน
คิวบิสม์ยุคที่สาม
              ระยะที่ 3 คิวบิสม์แบบสังเคราะห์ (อังกฤษ : Synthetic Cubism) ระหว่าง ค.ศ. 1912-1914 คิวบิสม์แบบสังเคราะห์มี พัฒนาการล้ำหน้า เกินกว่าคิวบิสม์ที่ผ่านมามาก ศิลปินแสดงออกด้วยการจัดองค์ประกอบมากขึ้น และหยิบเอาเรื่องราวที่ง่ายและ ใกล้ตัวมาเป็นเนื้อหาแสดงออก เช่น แผ่นกระจก วัตถุที่ปรากฏนห้องทำงาน อาทิ แก้วเหล้า กล่องยาสูบ บุหรี่ ขวดเหล้า ไพ่ เศษผ้า เครื่องดนตรี หนังสือพิมพ์ โดยการใช้เทคนิคการปะติด (Collage) เข้ามาช่วย หรือที่เรียกว่า "Flat-Pattern Cubism" จัดวาง ลงบนผิวระนาบด้านตั้งและนอนในลักษณะแบนราบด้วยโครงสร้างของสีที่เข้ากันในลักษณะลึกลับน่าอัศจรรย์จิตรกรรมคิวบิสม์ ในระยะหลังนี้จะแสดงรูปทรงต่างๆ ของวัตถุด้วยการแบ่งแยกออกจากกัน และวางทับซ้อนกันด้วยผิวระนาบ(overlapping Planes) และเส้น มีค่าของสีและลักษณะผิวพื้นที่แตกต่างกัน ดังเช่น ภาพหญิงสาวกับกีต้าร์ของ จอร์จ บาร์ค และภาพคนเล่นไพ่ ของปิกัสโซ ซึ่งศิลปินทั้งสองมีเป้าหมายด้านการแสดงออกมากกว่าคำนึงถึงเนื้อหา

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/ลัทธิคิวบิสม์

<< Go Back