ความงดงามทางศิลปวัฒนธรรที่ปรากฎอยู่ในสังคมไทยทุกวันนี้  ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของช่างฝีมือ  หรือช่างไทยในสาขาต่าง ๆ  ซึ่งอาชีพช่างฝีมือที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานทางศิลปะแขนงต่างๆ เหล่านี้  จะมีความแตกต่างไปจากช่างที่เป็นผู้ทำงานใช้ฝีมือโดยทั่วๆ ไป  อย่างไรก็ตามยังมีชื่อช่างไทยในสมัยโบราณ  คือ ช่างสิบหมู่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ช่างหลวง  ที่จัดได้ว่าเป็นผู้มีฝีมือและมีความชำนาญในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ งานทัศนศิลป์  ดังนี้


           เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการวาดเขียน  และระบายสีให้เกิดเป็นลวดลายหรือรูปภาพได้อย่างงดงาม ซึ่งในสมัยโบราณแต่ละท้องถิ่นของเมืองไทยมีคำเรียกขานช่างเขียนแตกต่างกัน เช่น ช่างแต้ม ช่างเขียนสี ช่างเขียนลายรดน้ำ ในบรรดาช่างประเภทต่าง ๆ ช่างเขียนจัดได้ว่าเป็นช่างที่มีความสำคัญที่สุด เพราะการวาดเขียน  และการเขียนระบายสีเป็นที่ยอมรับนับถือกันว่าเป็นสื่อ  ที่มีศักยภาพสูงสุดในการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ออกมาให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นต้นแบบในการนำไปสร้างสิ่งต่าง ๆ ได้ตามความประสงค์หรือเป็นต้นแบบได้อย่างสมบูรณ์ งานจิตรกรรมไทยแบบประเพณี  ถือได้ว่าเป็นมรดกช่างศิลป์ไทยที่มีลักษณะพิเศษที่แสดงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย เช่น งานจิตรกรรมเขียนสีในสมุดข่อย สมัยอยุธยา งานจิตรกรรมฝาผนัง สมัยรัตนโกสินทร์ วัดสุวรรณาราม กรุงเทพฯ งานจิตรกรรมฝาผนังวัดทองธรรมชาติ กรุงเทพฯ งานจิตรกรรมฝาผนังแบบล้านนา วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน เป็นต้น


งานจิตรกรรมเขียนสีในสมุดข่อย สมัยอยุธยา

                  งานจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์
วัดสุวรรณาราม กรุงเทพฯ
งานจิตรกรรมฝาผนังวัดทองธรรมชาติ กรุงเทพฯ
งานจิตรกรรมฝาผนังแบบล้านนา วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน


          เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานปั้น  สามารถนำเอาวัสดุประเภทดิน  ปูน  ขี้ผึ้ง และอื่น ๆ  นำมาสร้างให้เป็นรูปทรงเป็นภาพ  และลวดลายให้เกิดความงดงาม  มีคุณค่าในทางทัศนศิลป์และประโยชน์ใช้สอย ในสมัยโบราณงานปูนปั้นเป็นงานศิลปกรรมของช่างไทยที่สำคัญอย่างหนึ่ง พบได้ในงานปูนปั้นประดับศาสนสถานในลักษณะต่างๆ ทั้งที่เป็นลวดลาย รูปภาพ และรูปทรงประดับตกแต่งประกอบทางสถาปัตยกรรม การปั้นรูปเคารพ  การปั้นพระพุทธรูป เช่น ประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำประดับศาสนสถาน สมัยทวารวดี พบที่เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี เทวดาปูนปั้นประดับพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ ลวดลายปูนปั้นที่วัดไลย จังหวัดลพบุรี ประติมากรรมรูปยักษ์ปูนปั้นที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ  ซุ้มหน้าต่างปูนปั้นปิดทองประดับกระจกที่วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ


ประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำประดับศาสนสถาน สมัยทวารวดี พบที่เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี


เทวดาปูนปั้น ประดับพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ      ลวดลายปูนปั้นที่วัดไลย จังหวัดลพบุรี


ลวดลายปูนปั้นประดับซุ้มประตูโขง
สมัยล้านนายุคทอง
วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง

ประติมากรรมรูปยักษ์ปูนปั้น ซุ้มหน้าต่างปูนปั้นปิดทองประดับกระจก

               ในสมัยปัจจุบันอาชีพช่างปั้นได้ประยุกต์งานปั้นสร้างสรรค์งานออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น  การปั้นตุ๊กตาชาววัง  การปั้นกระปุกออกสิน  การปั้นภาชนะดินเผาบ้านเชียง   ดินเผาด่านเกวียน  การปั้นเครื่องมือ เครื่องใช้ในครัวเรือน และเครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ


การปั้นภาชนะเครื่องใช้ในครัวเรือน


เครื่องปั้นเขียนสีเบญจรงค์


การปั้นตุ๊กตาชาววัง


          เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือทำการแกะ  แคะ  ควัก  ลงบนวัสดุต่าง ๆ  ให้เกิดเป็นลวดลายหรือรูปภาพ  งานของช่างแกะมักจะเป็นงานขนาดเล็กที่ต้องใช้ฝีมือและความละเอียดประณีตมาก  วัสดุที่นำมาแกะจึงมักเป็น  ไม้  งาช้าง  หิน  มัน  เผือก  ฟักทอง  ผลไม้ชนิดต่าง ๆ  เพื่อเป็นสื่อสำหรับถ่ายทอดความคิด  ความเชื่อ  ความงามและความสามารถของช่างแกะ ในสมัยโบราณการแกะสลักไม้ เรียกว่า งานจำหลักไม้ เช่น  งานจำหลักไม้ภาพทวารบาลสมัยสุโขทัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหงจังหวัดสุโขทัย บานประตูจำหลักไม้สมัยอยุธยา วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา งานจำหลักไม้ เจว็ดจำหลักไม้ สมัยอยุธยา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลวดลายจำหลักไม้หน้าบันพระวิหาร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ ลวดลายจำหลักไม้ประดับเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ เป็นต้น


งานจำหลักไม้ภาพทวารบาลสมัยสุโขทัย
ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง
จังหวัดสุโขทัย

บานประตูจำหลักไม้สมัยอยุธยา
วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


งานจำหลักไม้ เจว็ดจำหลักไม้สมัยอยุยา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ลวดลายจำหลักไม้หน้าบันพระวิหาร
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ
ลวดลายจำหลักไม้
ประดับเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์

            ในสมัยปัจจุบันอาชีพช่างแกะ ได้ประยุกต์งานแกะสลักสร้างสรรค์งานออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น การแกะสลักไม้ตกแต่งอาคารบ้านเรือน การแกะสลักเครื่องใช้ในครัวเรือน การแกะสลักเครื่องเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ


การแกะสลักไม้ตกแต่งอาคารบ้านเรือน 


การแกะสลักเครื่องเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ


          เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือประเภทสิ่ว ทำการเจาะหรือสลักลงบนวัสดุประเภทไม้  หิน  หนัง  และกระดาษ  ให้เกิดเป็นลวดลายและรูปภาพต่าง ๆ ตามความคิด  ความเชื่อ  ความงามและฝีมือให้ปรากฎออกมาในรูปลักษณะที่สวยงาม  เช่น  งานสลักไม้โขนเรือครุฑเหินเห็จ  งานสลักไม้สัตภัณฑ์ที่วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง  งานสลักประดับกระจกหน้าบันวิหารวัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ งานสลักไม้บานประตูพระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ งานสลักไม้ประดับมุกหรือประดับกระจกสี เป็นต้น

งานสลักไม้โขนเรือครุฑเหินเห็จ 

งานสลักไม้สัตภัณฑ์
        วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง 


  งานสลักประดับกระจกหน้าบันวิหารวัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่


งานสลักไม้บานประตูพระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ

           ในสมัยปัจจุบันอาชีพช่างสลัก ได้ประยุกต์งานสลัก สร้างสรรค์งานออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น งานสลักหนังใหญ่วัดขนอน งานสลักกระดาษ  หรืองานปรุกระดาษปิดเป็นลวดลายบนระใบฉัตรทองแผ่ลวด พระเมรุฐานเบญจา เครื่องจิตกาธาน เป็นต้น


ช่างสลักหนังใหญ่


การแสดงเชิดหนังใหญ่วัดขนอน


               เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปกรรมประเภทวิจิตรศิลป์ มีความเกี่ยวเนื่องกับงานปั้น ช่างหล่อจำนวนมากมักเป็นผู้มีความสามารถในการปั้นอยู่ด้วย เป็นการสร้างสรรค์งานประติมากรรมด้วยการหลอมโลหะให้ละลายเป็นของเหลว แล้วเทกรอกเข้าไปในแม่พิมพ์ที่ได้จัดทำขึ้น ซึ่งจะได้รูปโลหะหล่อตามรูปต้นแบบหรือรูปหุ่นที่ได้ทำขึ้น เช่น งานหล่อพระพุทธรูปสำริด ศิลปะสุโขทัย พระศรีศากยมุนีวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พระพุทธชินสีห์วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ พระพุทธสิหิงค์ ภายในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร พระนารายณ์สำริด เทวรูปสำริดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร พระพุทธรูปสำริดศิลปะสุโขทัย ประติมากรรมหล่อโลหะในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ เป็นต้น

พระพุทธรูปสำริด ศิลปะสุโขทัย พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
พระพุทธชินสีห์วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ        

พระพุทธสิหิงค์ภายในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


                         พระนารายณ์สำริด เทวรูปสำริดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร    พระพุทธรูปสำริด ศิลปะสุโขทัย


ประติมากรรมหล่อโลหะในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ

          ในสมัยปัจจุบันอาชีพช่างหล่อ ได้ประยุกต์งานหล่อ สร้างสรรค์งานออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น การหล่อโลหะทองเหลือง ทองแดง เป็นเครื่องใช้ประกอบในครัวเรือน และเครื่องประดับตกแต่งต่างๆ

ช่างหล่อกำลังตกแต่งงานหล่อทองเหลือง งานหล่อเครื่องประดับตกแต่ง


งานหล่อเครื่องใช้ในครัวเรือน


            เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการนำเอาวัสดุธรรมชาติ  จำพวกไม้  งาช้าง  และเขาสัตว์บางชนิด  มากกลึงด้วยเครื่องกลึงให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ  เช่น  ทรงกลม  ทรงกระบอก  หรือรูปทรงกรวยกลม  จัดเป็นงานประณีตศิลป์  ใช้สำหรับประดับตกแต่ง  และเครื่องใช้ต่าง ๆ  ได้แก่  เครื่องดนตรีกลองประดับมุก คนโทประดับมุก ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ขันหมากภาชนะเครื่องเขินเชียงใหม่ขันโอภาชนะสำหรับใส่อาหารหรือสิ่งของถวายพระ  การกลึงการกลึงหัวเสา  กลึงลูกกรง  กลึงด้ามมีด  ด้ามดาบ  ภาชนะใส่ของ  เป็นต้น


เครื่องดนตรีกลองประดับมุก คนโทประดับมุก ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร


               ขันหมากภาชนะเครื่องเขินเชียงใหม่                ขันโอภาชนะสำหรับใส่อาหารหรือสิ่งของถวายพระ

            ในสมัยปัจจุบันอาชีพช่างกลึง ได้ประยุกต์งานกลึง สร้างสรรค์งานออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น  การกลึงหัวเสา  กลึงลูกกรง  กลึงด้ามมีด  ด้ามดาบ  ภาชนะใส่ของและเครื่องประดับตกแต่งต่างๆ  เป็นต้น

การกลึงเครื่องประตกแต่งต่างๆ  การกลึงเครื่องรักลายทอง


           เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการนำเอาวัสดุต่าง ๆ มาต่อกัน หรือปรุงให้ขึ้นเป็นรูป ได้แก่ งานโครงรูปหุ่นไม้ ดิน กระดาษ ซึ่งอาจจะเป็นหุ่นจำลองอาคาร โรงเรือน โบสถ์ วิหาร รวมทั้งการทำหุ่นเชิด หัวโขน ละคร หน้ากาก และหุ่นกระบอก เป็นต้น หุ่นของไทยในสมัยโบราณมีอยู่หลายชนิด เช่นหุ่นหลวงหรือหุ่นใหญ่ หุ่นเล็ก หุ่นกระบอก และหุ่นละครเล็ก การสร้างหุ่นแต่ละชนิดจะใช้ไม้เนื้ออ่อนที่แห้งสนิท มีน้ำหนักเบา นำมาถาก เหลา ขึ้นเป็นหุ่นศีรษะ หุ่นลำตัว หุ่นแขนและมือ ขาและเท้า ให้เป็นรูปโกลนขึ้นก่อนแล้ว  จึงทำลวดลายส่วนละเอียดของใบหน้า และเครื่องประดับตกแต่งร่างกาย เช่น หุ่นจีนของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ หุ่นหลวงวังหน้า พระราม นางกษัตริย์ สหัสสะเดชะ หัวโขนวิรุณจำบัง หัวโขนสุครีพ หัวโขนสัทธาสูร หัวโขนหนุมาน ศีรษะพระครูฤษี เป็นต้น

หุ่นหลวงวังหน้า  หุ่นจีนของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ


พระราม                                        นางกษัตริย์                                   สหัสสะเดชะ


หัวโขน วิรุณจำบัง                          หัวโขน สุครีพ                            หัวโขน สัทธาสูร


หัวโขน หนุมาน                                                  ศีรษะพระครูฤษี


            เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยางรัก ซึ่งเป็นยางไม้ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นยางเหนียว สามารถเกาะจับพื้นผิวของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ต้องการทา ถม ทับ หรือเคลือบผิวได้ดี มีคุณภาพคงทนต่อความร้อน ความชื้นได้ดี งานของช่างรักมีหลายประเภท ได้แก่ งานลงรักปิดทองคำเปลว  หรือลงรักปิดทอง ซึ่งประกอบด้วยงานลงรักปิดทองทึบ งานลงรักปิดทองร่องชาด งานลงรักปิดทองร่องกระจก และงานลงรักปิดทองลายฉลุ นอกจากนั้นยังมีงานประดับกระจก งานช่างประดับมุก เป็นต้น

งานลงรักปิดทองเสาวิหารและมณฑปประดิษฐาน พระเจ้าล้านทองในวิหารหลวงวัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง

งานปิดทองทึบพระพุทธรูปประธาน
ภายในวิหารวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน


งานปิดทองร่องชาดหน้าบันวิหารลายคำ
วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่
งานปิดทองร่องชาดผนังด้านหลังพระพุทธสิหิงค์
วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่
ตู้พระธรรมปิดทองลายรดน้ำ สมัยอยุธยา
บนหอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
หีบใส่ผ้า
ภาชนะเครื่องรักหรือเครื่องเขินเชียงใหม่

            ในสมัยปัจจุบันอาชีพช่างรัก ได้ประยุกต์งานรัก สร้างสรรค์งานออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น การทำภาชนะใส่ของ และเครื่องประดับตกแต่งต่างๆ เป็นต้น

การขึ้นรูปงานเครื่องใช้ต่างๆ                                              การทาด้วยน้ำยางรัก



ภาชนะใส่ของ และเครื่องประดับตกแต่งต่างๆ ที่สร้างสรรค์จากอาชีพช่างรัก


            เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการนำเอาวัสดุต่าง ๆ เช่น ผ้า กระดาษ แผ่นโลหะบาง ๆ มาหุ้มตกแต่งผิดภายนอกของศิลปะวัตถุ และสถาปัตยกรรมให้มีความสวยงาม ได้แก่ งานบุ หรือขึงผ้าแต่งฉาก ฝ้าเพดาน งานบุกระดาษทำฉัตร งานบุโลหะหุ้มองค์พระธาตุเจดีย์ บุษบก งานบุพระพุทธรูปและเทวรูป ตลอดจนการทำขัน และพานโลหะ เป็นต้น



เครื่องทอง ผอบทองคำ สุวรรณภิงคาร กลีบขนุนพระปรางค์ ชิ้นส่วนพระปรางค์จำลองบุดุนทองคำ
สมัยอยุธยา จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

องค์พระธาตุดอยสุเทพพระอนุราชมงกุฎ
ที่บุหุ้มด้วยแผ่นโลหะปิดทอง หรือแผ่นทองจังโก

สำหรับประกอบพระอิสริยยศ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ บุดุนทองคำลงยา


    กาน้ำบุดุนโลหะ                 พระทองคำสมัยยุธยา


       ราชรถบุเงิน                                     ตะลุ่มเงิน                            คนโทเงิน


             เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการทำ  และสร้างสิ่งก่อสร้างที่เป็นเครื่องก่อ  หรือก่ออิฐถือปูน ได้แก่ ช่างปูนงานก่อวัสดุชนิดต่าง ๆ เช่น อิฐ หิน ศิลาแลง ขึ้นเป็นรูปทรงสิ่งของต่าง ๆ และช่างปูนงานลวดบัวแบบต่างๆ เช่น บัวคว่ำ บัวหงาย บัวลูกแก้ว ฯลฯ สำหรับประกอบฐานเชิงบาตร ฐานเท้าสิงห์ ฐานปัทม์ หรือทำการถือปูนจับเหลี่ยมเสาแปดเหลี่ยม เสาย่อมุมไม้สิบสอง เป็นต้น

การก่อสร้างเสาแปดเหลี่ยม และเสาย่อมุมไม้สิบสอง
ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ

การสร้างนาคประกอบราวบันไดของวิหาร
ในจังหวัดลำพูน


นาคราวบันได ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่       งานลวดบัวแบบต่างๆ

          งานช่างสิบหมู่นับเป็นผลงานเชิงช่างที่แสดงให้เห็น  ถึงเอกลักษณ์ของช่างไทยอย่างชัดเจน และมีการสืบทอดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่างไทยแต่ละสมัยก็ได้พัฒนาวิธีการ  หรือกรรมวิธีการสร้างงานให้เจริญก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ ด้วยการอาศัยแบบอย่าง  และเทคโนโลยีจากต่างชาติเข้ามาผสมผสาน ปัจจุบันช่างสิบหมู่ได้ลดบทบาทไป เนื่องจากผลของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ  และสังคม ทำให้งานช่างประเภทนี้มีผู้สืบทอดค่อนข้างน้อย
          นอกจากงานช่างสิบหมู่ของไทยแล้ว ยังมีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานทัศนศิลป์อีกหลายแขนง ได้แก่ 
          1.ช่างงหยวก  เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานประดับตกแต่งพิธีหรือราชพิธีต่าง ๆ  เช่น  งานตกแต่งพระเมรุมาศงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงศพสมเด็จพระพี่นางฯ
          2.ช่างจักสาน เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน  เพื่อการประกอบอาชีพ   และชีวิตประจำวัน  ได้แก่  งานสานตระกร้า  กระเป๋าถือ  กระจาด  กระบุง  กระติบ  งอบ  สุ่มปลา  ไซ  กระชัง  ฯลฯ  โดยใช้วัสดุธรรมชาติจากท้องถิ่น  เช่น ไม้ไผ่  หวาย  ทางมะพร้าว  ใบลาน  ใบไม้  เถาวัลย์  เป็นต้น


ผลผลิตจากการสร้างสรรค์อาชีพช่างจักสาน  ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องใช้ในครัวเรือน และการประกอบอาชีพในชีวิตประจำวัน 

            3. ช่างถักทอย้อม เป็นอาชีพที่เน้นหนักการผลิตผ้าชนิดต่าง ๆ เช่น การทอผ้าฝ้าย ผ้าไหม การทำลวดลายเชิงผ้าต้นจก
การทำผ้าบาติก รวมทั้งการถักผักตบชวา ทอเสื่อกก เป็นต้น ช่างที่ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ได้แก่ นางแสงดา บันสิทธิ์ (การทอผ้า) และ นางพยอม สีนะวัฒน์ (ศิลปะงานผ้า)


ขั้นตอนการทอผ้า เริ่มจากการต้มรังไหม กรอเส้นไหม ย้อมสีเส้นไหม และการทอเส้นไหม


ผลผลิตจากช่างทอผ้า


ผลผลิตจากการทำผ้าบาติก


           4. ช่างหนัง เป็นอาชีพที่ผลิตเครื่องหนัง ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ทำหนังหุ้มกลอง หนังตลุงกระเป๋าหนัง สายนาฬิกา เข็มขัด รองเท้า และเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับเครื่องหนังชนิดต่างๆ



ผลผลิตจากการทำเครื่องหนัง

          5. ช่างเงิน ช่างทอง เป็นอาชีพที่ผลิตงานเกี่ยวกับเครื่องเงิน และเครื่องทอง ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การทำขันน้ำ พานรอง เครื่องประดับตกแต่ง เครื่องใช้ในครัวเรือน ฯลฯ


            6. ช่างกระดาษและช่างดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นอาชีพที่ผลิตงานเกี่ยวกับงานกระดาษ และดอกไม้ประดิษฐ์รูปแบบต่างๆ วัสดุที่ใช้ทำได้แก่พลาสติก ผ้าโพลีเอสเตอร์ ผ้าชนิดต่างๆ กระดาษสา และเส้นใยพืชธรรมชาติ


ผลผลิตจากการนำกระดาษทำเครื่องใช้ตกแต่ง


ผลผลิตการทำดอกไม้ประดิษฐ์



             การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ธรรมชาติมีบทบาทสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก ทั้งด้านรูปทรง เนื้อหา และเทคนิควิธีการ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจ ที่กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกชื่นชม พึงพอใจ และสะเทือนใจ แล้วนำมาสร้างเป็นผลงานศิลปะโดยนำมาดัดแปลง แก้ไข เป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่อการใช้สอยในชีวิตประจำวัน หรือเพื่อเป็นสิ่งแทนทางความเชื่อต่าง ๆ เช่น ภาชนะเครื่องปั้นดินเผา อาวุธ เครื่องประดับ ภาพเขียน ภาพปั้น เป็นต้น

             ผู้สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์จะอาศัยความคิด ความฝัน และจินตนาการเป็นตัวสร้างภาพขึ้นในใจ และถ่ายทอดภาพนี้ออกมาให้ปรากฏ ภาพที่ได้จะมีรูปทรง โครงสร้างต่างกันไปตามความคิดจินตนาการ อาจมีรูปทรงหรือรูปร่างแบบเหมือนจริงในธรรมชาติ หรือไม่เหมือนจริง มีขนาดรูปลักษณ์ที่แปลกตา ถอยห่างออกไปจากธรรมชาติมากจนเป็นรูปทรงนามธรรม

             งานทัศนศิลป์นอกจากจะเป็นผลงานที่แสดงออกมาจากความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และแรงบันดาลใจแล้ว ทัศนศิลป์ยังเป็นการถ่ายทอดถึงเรื่องราวกับความเชื่อ ความศรัทธา ไม่ว่าจะเป็นผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม จะอาศัยรูปแบบและเรื่องราวของพระพุทธศาสนา หลักธรรมคำสอนต่าง ๆ ในการปั้นหรือเขียนขึ้นบนฝาผนังโบสถ์ วิหาร สถูป เจดีย์ ช่วยให้เรามีความเข้าใจและเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น จนเกิดเป็นความศรัทธาเลื่อมใสในท้ายที่สุด ซึ่งผลงานทัศนศิลป์มีบทบาทสำคัญ ต่อการสื่อความหมายดังกล่าวมาทุกยุคทุกสมัย

             ภูมิปํญญาไทยเป็นส่วนหนึ่งขององค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ของการดำรงชีวิตของคนไทย เกิดขึ้นจากการสะสมประสบการณ์ทั้งทางตรง  และทางอ้อม ประกอบกับความคิดสำหรับใช้ในการวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวิถีชีวิต ซึ่งผลงานทัศนศิลป์ก็เป็นรากเหง้าดั้งเดิมของภูมิปัญญาไทยด้วย ทั้งด้านจิตรกรรมไทย ประติมากรรมไทย และสถาปัตยกรรมไทย เพราะผลงานดังกล่าวเกิดขึ้น  จากการแก้ปัญหาการปรับตัวที่เป็นเรื่องของการใช้ความรู้  และทักษะในการสร้างสรรค์ ตลอดจนมีเอกลักษณ์ของไทยเอง นอกจากนั้นภูมิปัญญาไทยทางด้านทัศนศิลป์ยังเกิดขึ้น  และพัฒนามาจากการสืบทอดของช่างไทยในแต่ละยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีรูปแบบทัศนศิลป์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาทางภูมิปัญญาไทยดั้งเดิม มีพื้นฐานที่ยึดโยงกับพระพุทธศาสนาประเพณีที่ได้รับการถ่ายทอดสั่งสอน  และปฏิบัติสืบต่อกันมา   และรูปแบบทัศนศิลป์ไทย เป็นภูมิปัญญาที่สะท้อนเรื่องราวทางสังคม วิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างตรงไปตรงมา