<< Go Back 
ความหมายและประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย
        1.1  ความหมายของดนตรีไทย
         ดนตรีไทย  หมายถึง  เพลงไทยที่มีระดับเสียงซึ่งประกอบขึ้นเป็นทำนอง  มีลีลา  จังหวะ  มีความเสนาะไพเราะ  ก่อให้เกิดความรู้สึกรื่นเริง สนุกสนาน  รัก   อ่อนหวาน  ให้ความสุข  เศร้าโศก   ปลุกจิตใจให้ฮึกเหิม  เป็นต้น
                 ดนตรีไทยมีความสำคัญต่อการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน  นิยมให้มีวงดนตรีไทยร่วมบรรเลงด้วย  เช่น  งานขึ้นบ้านใหม่  งานทำบุญ  งานบวชนาค  งานมงคลสมรส  งานเฉลิมฉลอง  งานในเทศกาลต่างๆ ตลอดจนการบรรเลงประกอบการแสดง  เป็นต้น
    
        1.2 ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย
        ดนตรีไทย  เป็นดนตรีที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้นใช้บรรเลงในกิจกรรมต่างๆ  ของสังคมที่ตนอาศัยอยู่  เช่น  บรรเลงเพื่อประกอบพิธีตามความเชื่อและเพื่อประกอบ การแสดง
       1.3 องค์ประกอบของดนตรีไทย
ดนตรีที่มีความไพเราะน่าฟังจะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ  ดังนี้
                  1.3.1 เสียงดนตรี  เป็นเสียงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา  โดยทั่วไปแล้วเสียงดนตรีเกิดจากเสียงของเครื่องดนตรีและเสียงร้องเพลงของมนุษย์
                 1.3.2 ทำนอง  หมายถึง  เสียงต่ำ  เสียงสูง  เสียงสั้น  เสียงยาว  เสียงทุ้ม  เสียงแหลมของดนตรีหรือบทเพลง
                 1.3.3 จังหวะ  หมายถึง  การเคลื่อนไหวที่สม่ำเสมอ  จังหวะจะเป็นตัวกำกับเพื่อให้การร้องเพลงหรือการเล่นดนตรีออกมาในลักษณะที่พร้อมเพรียงกัน
                 1.3.4 การประสานเสียง  เสียงของเครื่องดนตรีและเสียงร้องเพลงของมนุษย์ที่มีระดับเสียงต่างกันเปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน  เช่น   การร้องเพลงพร้อมกับการเล่นกีตาร์คอร์ดประสานเสียง ร้อง  เป็นต้น
         2. แนวทำนองเพลงไทย
    เพลงไทยมีแนวทำนองที่ก่อให้เกิดความรู้สึกที่สามารถสัมผัสอารมณ์เพลงได้อย่างหลากหลาย  ดังนี้
                  2.1 เพลงที่ให้ความรู้สึกขลัง  น่าเคารพ  เช่น  เพลงสาธุการ  เพลงมหาฤกษ์  เพลงมหาชัย  เป็นต้น
                  2.2 เพลงที่ให้ความรู้สึกรื่นเริงสนุกสนาน  เช่น  เพลงค้างคาวกินกล้วย  เพลงเขมรไล่ควาย  เป็นต้น
                  2.3 เพลงที่ให้ความรู้สึกรักอ่อนหวาน  เช่น  เพลงลาวดวงเดือน  เพลงชมโฉม  เป็นต้น
                  2.4 เพลงที่ให้ความรู้สึกสุขใจจากสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ  เช่น  เพลงคลื่นกระทบฝั่งสามชั้น  เพลงเขมรไทรโยค  เป็นต้น
                  2.5 เพลงที่ให้ความรู้สึกเศร้าโศก  เช่น  เพลงธรณีกรรแสง  เพลงมอญร้องไห้  เป็นต้น
                  2.6 เพลงที่ให้ความรู้สึกฮึกเหิม  องอาจ  เร้าใจ  เช่น  เพลงกราวใน  เพลงกราวนอก  เป็นต้น
         3. ครูเทพเจ้าของดนตรีไทย
         ครูเทพเจ้าที่ศิลปินนักดนตรีไทยเคารพนับถือมีหลายองค์  ตามแนวของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  ความเชื่อการแสดงความเคารพนับถือ  เป็นความกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อเทพเจ้าแห่งดนตรี  สร้างงานศิลปะดนตรีเป็นเลิศในการบรรเลงเพลงด้วยเครื่องดนตรีและการขับร้อง
                  3.1  พระวิศณุกรรม               เป็นเจ้าแห่งช่างทุกประเภททั้งช่างเขียน  ช่างปั้น  ช่างก่อสร้าง  ในคัมภีร์นาฏศาสตร์ตอนที่พระภรตฤษีรับเทวโองการจากพระมหาพรหม  ให้เริ่มวิธีการแสดงละคร   พระภรตฤษีได้ขอให้พระวิศณุกรรมสร้างโรงละคร  พระวิศณุกรรมจึงออกแบบสร้างโรงละครไว้  และสอนให้ชาวเมืองมนุษย์รู้จักร้องรำทำเพลง
                  3.2  พระปัญจสีขร   เทพเจ้าผู้มีความเป็นเลิศด้านการดีดพิณและการขับลำในอดีตชาติพระปัญจสีขรเป็นเด็กเลี้ยงโคไว้ผม 5 แหยม มีชื่อเรียกว่า  “ปัญจสิขะ” เป็นผู้มีความเลื่อมใส ศรัทธาในการสร้างกุศลได้สร้างการสาธารณสถาน เช่น ศาลา สระน้ำ ถนน ยานพาหนะแต่ต้องตายขณะอยู่ในวัยหนุ่มจึงไปเกิดเป็นเทพบุตรในชั้นจาตุมหาราช มีร่างกายเป็นสีทองมีมง กุฎห้ายอด
                  3.3  พระปรคนธรรพ  เทพเจ้าผู้เป็นยอดแห่งคนธรรพ์ นามที่แท้จริง คือ พระนารทมุนี เป็นผู้คิดและสร้างพิณคันแรกขึ้น มีความชำนาญในการขับร้อง และบรรเลงดนตรี  ทำหน้าที่เป็นพนักงานขับร้องและบรรเลงดนตรีกล่อมพระเป็นเจ้า  และเทพยนิกรพระนารทมุนีเป็นครูเฒ่าของพวกคนธรรพ์
         4. การไหว้ครูดนตรีไทย
                  4.1  ความสำคัญของการไหว้ครูดนตรีไทย  แนวคิดของคนในสังคมไทยต่อครูนับว่ามีความสำคัญอย่างมาก  ครูคือผู้ประสิทธ์ประสาทวิทยาการต่างๆ ให้แก่ศิษย์ เช่น วิชาด้านหนังสือ วิชาช่างศิลป์ วิชาดนตรี วิชานาฏศิลป์ เป็นต้น ศิษย์จึงต้องนำดอกไม้ธูปเทียนและเครื่องกำนลไปแสดงความคารวะมอบให้ครู และฝากตัวเป็นศิษย์ โดยเลือกไปในวันพฤหัสบดี  ซึ่งถือว่าเป็นวันครูวันนี้จึงเป็นวันที่สำคัญ  และมีความหมายที่สุดของการเริ่มเรียนวิชาการดนตรีไทย
          การไหว้ครูดนตรีไทยนิยมจัดเป็นประจำทุกปี  เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของคุณครูอาจารย์ การทำบุญอุทิศแด่ครู การพบปะสังสรรค์ระหว่างศิษย์ พิธีไหว้ ครูดนตรีไทยจึงเป็นพิธีใหญ่มีการตั้งหน้าโขนซึ่งเป็นศีรษะครูเทพเจ้า  เครื่องดนตรีมีเครื่องสังเวยบูชากระยาบวชมีครูผู้ใหญ่เป็นพิธีกรประกอบพิธีกรรมไหว้ครู  มีบทอ่านโองการคำไหว้ครูมีเพลงหน้าพาทย์บรรเลงตามขั้นตอนหลังพิธี  แล้วมีพิธีครอบสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนเพลงครูต่อไป

ที่มา : http://vichakarn.triamudom.ac.th/comtech/studentproject/art/1/images/note3.jpg

    << Go Back