การวิจารณ์งานศิลปะ  [1]  เป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับศิลปะที่มองเห็น หรือทัศนศิลป์โดยตรง การวิจารณ์บางครั้งสามารถช่วยให้ผู้ดูรู้จักเลือกดู และรู้จักดูบางสิ่งบางอย่างที่อาจหลงตาไป เพราะยังขาดความรู้และประสบการณ์ ส่วนผู้สร้างผลงานก็เกิดแนวความคิดกว้างขึ้น สามารถนำไปแก้ไขปรับปรุงผลงานของตนเองให้เกิดคุณค่ามากขึ้น

         ปัจจุบันศิลปินด้าน ทัศนศิลป์ มีอิสระมากขึ้น แนวความคิด สร้างสรรค์ จินตนาการจึงไร้ขอบเขต ผลงานทางทัศนศิลป์จึงออกมาหลายรูปแบบผสมผสานด้วยเทคนิคและวิธีการที่แปลก ใหม่ ทำให้ผู้ที่ชมผลงานยากที่จะเข้าใจเนื้อหาและความงาม ดังนั้นเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจในทัศนศิลป์เบื้องต้น โดยเฉพาะงาน จิตรกรรมและประติมากรรม ควรดูและสังเกตดังนี้

          1) ดูการ์ดที่ติดงานใกล้ผลงาน (ถ้ามี)

                บอกชื่อผู้สร้างผลงาน ชื่อผลงาน เทคนิคผลงาน ว่าทำจากอะไร แบบใด อย่างไร เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาเรื่องราวของผลงานเป็นอันดับแรก

          2) ดูว่าเป็นศิลปะสาขาอะไร ทัศนศิลป์แขนงใด ลักษณะใด และประเภทอะไร

                 เช่น   สาขาวิจิตรศิลป์ ทัศนศิลป์แขนงจิตรกรรม ลักษณะการวาดเส้นประเภทภาพหุ่นนิ่ง

ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=kZztZ56iBNg

          3) ดูสิ่งที่ทำให้เกิดมิติในผลงานทัศนศิลป์

                   ได้แก่   มิติในด้านรูปภาพและรูปทรง

          4) ดูส่วนประกอบของความงาม จุด (ถ้ามี)

              เส้น 2 ประเภท รูปร่าง 3 ประเภท (ถ้ามี) รูปทรง 3 ประเภท ความรู้สึกของสีและสีตรงข้าม แสงเงา พื้นผิว จังหวะ ความกลมกลืนของเส้น สี รูปทรง และหลักของการจัดภาพ

          5) ดูเกี่ยวกับการจัดภาพมี 2 แบบ คือ

                    5.1 แบบประจำชาติ 2 แบบ

                              5.1.1 แบบไทยประเพณีรูปแบบไทยเดิม

                              5.1.2 แบบไทยประเพณีรูปแบบไทยประยุกต์

                    5.2 แบบสากล 2 แบบ

                              5.2.1 แบบสากล แบบร่วมสมัยมี 3 รูปแบบ

                                        (1) รูปแบบรูปธรรม

                                       (2) รูปแบบกึ่งนามธรรม

                                       (3) รูปแบบนามธรรม

                              5.2.2 แบบสากล แบบสมัยใหม่มี   2  รูปแบบ

                                       (1) รูปแบบกึ่งนามธรรม

                                       (2) รูปแบบนามธรรม

          6) ดูทฤษฎีการถ่ายทอดทางทัศนศิลป์ เช่น ทฤษฎีเหมือนจริง ทางปัญญา ฯลฯ

          7) ดูเรื่องราวที่นำมาสร้างเกี่ยวกับเรื่องใด เช่น ประวัติศาสตร์ ศาสนา ชีวิตประจำวัน ฯลฯ

         8) ดูคุณค่าทางความงามและคุณค่าทางเรื่องราว

          การวิจารณ์

     ผลงานภาพเขียนสีชอล์ก [2]ชื่อภาพ "ยักษ์" ของนพศร ณ นครพนม เขียนภาพยักษ์ด้วยลีลาและสีสันที่แสดงการเคลื่อนไหวกระฉับกระเฉง คล้ายเป็นการผสานลีลาของการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ สีเขียว น้ำเงิน ม่วง แดง เหลือง ดำ ให้ความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจสนุกสนาน

           การวิจารณ์

          ประติมากรรมรูปปลา ของโทมัส โกลยา เป็นประติมากรรมแกะไม้ระบายสีสวยงาม คล้ายปลาที่มีสีสันสวยงามในตู้เลี้ยงปลา ลวดลายเป็นไปตามธรรมชาติ สีต่างๆ มากมาย เช่นสีแดง เขียว เหลือง น้ำเงิน ม่วง เราอาจเลี้ยงปลาที่บ้านหรือโรงเรียนก็ได้ แต่ต้องเอาใจใส่ดูแลอย่างดีที่สุด เพราะปลามีชีวิต มีความเจ็บปวด มีความหิว ไม่ต่างไปจากเรา

          

                      [1]http://www.youtube.com/watch?v=-Ii36BqTPLw

                     [2]http://www.youtube.com/watch?v=crNjakQQg1I