<< Go Back

ประยุกต์ศิลป์ (Applied Art)
            ประยุกตศิลป์ เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากความชื่นชมในคุณค่าของศิลปะโดยตรง เช่น ภาพหรือลดลายที่ใช้ตกแต่งอาคาร หรือเครื่องเรือน รูปทรง สีสัน ของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ออกแบบให้เป็นที่พอใจของผู้ บริโภค หรือเครื่องใช้ไม่สอยที่ทำขึ้นด้วยฝีมือประณีต ศิลปะที่ประยุกต์เข้าไปในสิ่งที่ใช้ประโยชน์เหล่านี้ จะให้ความพอใจอัน เกิดจากความประณีตสวยงาม ความกลมกลืน แก่ประสาทสัมผัสควบคู่ไปกับประโยชน์ใช้สอย
งานประยุกต์ศิลป์
            ส่วนใหญ่คืองานศิลปะที่สนองประโยชน์ใช้สอย ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะงานประณีตศิลป์ และ หัตถกรรม เท่านั้น เพราะทั้ง สองประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นส่งของเครื่องใช้ นับตั้งแต่สิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันขึ้นไปจนถึงสิ่งฟุ่มเฟือยซึ่งสนองตอบในทาง ตกแต่งประดับประดามากกว่าจะมีความจำเป็นจริงๆ ในเรื่องนี้ถ้าเราหันกลับไปดูในยุคโบราณก็จะเห็นได้ว่ามนุษย์ดึกดำบรรพ์มี ทั้งเครื่องมือหิน หนังสัตว์ และเครื่องประดับประดาที่เป็นลูกปัดร้อยเป็นพวงแขวนคอ ดังนั้น เครื่องประดับอาจใช้แทน เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ก็ได้
ประยุกต์ศิลป์ (Applied Art) แบ่งออกเป็น 5 แขนง คือ
            1. พาณิชย์ศิลป์ (Commercial Art) เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อสนับสนุนกิจการค้า และการบริการ เพื่อ ให้ประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายได้แก่ การออกแบบเครื่องหมายการค้า การออกแบบสิ่งพิมพ์ การออกแบบโฆษณา การออก แบบฉลากสินค้า การออกแบบจัดแสดงสินค้า ฯลฯ ผู้สร้างสรรค์งานพาณิชย์ศิลป์ เรียกว่า นักออกแบบ (Designer)



            2. มัณฑนศิลป์ (Decorative Art) เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อการตกแต่ง สิ่งต่าง ๆ ให้เกิดความสวยงาม และเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น ได้แก่ การจัดตกแต่งภายในบ้าน อาคาร สถานที่ต่าง ๆ การตกแต่งภายนอก การจัด สวน การจัดนิทรรศการ การจัดบอร์ด ป้ายนิเทศ การจัดแสดงสินค้า การแต่งกาย การแต่งหน้า การตกแต่งร้านค้า เป็นต้น ผู้สร้าง สรรค์งานมัณฑนศิลป์ เรียกว่า มัณฑนากร (Decorator)

   

            3. อุตสาหกรรมศิลป์ (Industrial Art) หมายถึง การออกแบบก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ทั้งสิ่งก่อสร้างที่คนทั่วไปอยู่อาศัยได้ เช่น สถูป เจดีย์ อนุสาวรีย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการกำหนดผังบริเวณต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามและเป็นประโยชน์แก่การ ใช้สอยตามต้องการ งานสถาปัตยกรรมเป็นแหล่งรวมของงานศิลปะทางกายภาพเกือบทุกชนิด และมักมีรูปแบบแสดงเอกลักษณ์
ของ สังคมนั้น ๆ ในช่วงเวลานั้น ๆ

   

            4.การออกแบบ (Design) การออกแบบ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่นสามารถมอง เห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน การออกแบบมี 3 ประเภท คือ การออกแบบสถาปัตยกรรม การ ออกแบบผลิตภัณฑ์ และการออกแบบทางวิศวกรรม

   

ที่มา : http://homegame9.wordpress.com/ประยุกต์ศิลป์/
ที่มา : http://vichakarn.triamudom.ac.th/comtech/studentproject/art/3/ARTS_WEB/WEBPAGE/art2.html