เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี
              ดนตรีประเภทเครื่องตีดูเหมือนจะเป็นประเภทเก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์รู้จักใช้และเครื่องดนตรีของไทยก็เช่นกัน โดยทั่วไป เครื่องตีเป็นของเก่าแก่ของไทย แต่ก็ได้ปรับปรุงให้วิวัฒนาการมาโดยลำดับ เครื่องตีที่ใช้ในวงดนตรีของไทยอาจแบ่งออกได้เป็น ๓ จำพวก คือ
              ๑) เครื่องตีทำด้วยไม้
              ๒) เครื่องตีทำด้วยโลหะ
              ๓) เครื่องตีขึงด้วยหนัง
              เครื่องตีทั้ง ๓ จำพวกนี้ จะกล่าวถึงแต่ละอย่างทั้งประเภทที่เข้าใจว่าไทยเราได้ประดิษฐ์ขึ้นเอง และทั้งประเภทที่ได้รับแบบอย่างจากชาติอื่น แล้วนำมาใช้หรือแก้ไขดัดแปลงใช้อยู่ในวงดนตรีของไทย

              กรับคู่


กรับคู่
ที่มาภาพ : http://www.oknation.net/blog/thai-rhythm/gallery/41781

              กรับ ทำด้วยไม้ไผ่ซีก เหลาให้เรียบและเกลี้ยงเกลา เพื่อมิให้ผิวและเสี้ยนบาดและตำมือ รูปร่างแบนตามซีกไม้ ไผ่และหนาตามขนาดของเนื้อไม่ เช่นหนาสัก ๑.๕ ซม. กว้างสัก ๓-๔ ซม. และตามยาวปรมาณ ๔๐ ซม. ทำเป็น ๒ อัน หรือคู่ ใช้ตีให้ผิวกระทบกันทางด้านแบ เกิดเสียงได้ยินเป็น"กรับ-กรับ-กรับ" และคงจะเนื่องด้วยเสียง นี้เองจึงเรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า "กรับ" ต่มาผู้ประดิษฐ์ทำด้วยไม้แก่นหือไม้จริงแต่ก็เหลาเป็นรูปแบนอย่างซีกไม้ไผ่ คงใช้ในลักษณะเดียวกับกรับไม้ไผ่

             ระนาดเอก


ระนาดเอก
ที่มาภาพ : http://xylophone999.blogspot.com/

              ระนาดเป็นเครื่องตีชนิกหนึ่ง ซึ่งเห็นได้ว่ามีวิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมก็คงใช้ไม้กรับ ๒ อันตีเป็นจังหวะแล้วต่อมาเกิดความรู้เอาไม้มาทำอย่างกรับหลายๆอัน วางเรียงตีให้เกิดเสียงหยาบๆขึ้นก่อนแล้วคิดทำไม้ รองรับเป็นรางวางเรียงราดไป เม่อเกิดความรู้ความชำนาญขึ้นก็แก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน และทำรางรองให้อุ้มเสียงได้แล้วใช้เชือกร้อย "ไม้กรับ" ขนาดต่างๆนั้นให้ขึงติดอยู่บนราง ใช้ไม้ตีเกิดเสียงลดลั่นกันตามต้องการ ใช้เป็นเครื่องบรรเลงเพลงได้แล้วต่อมาก็ประดิษฐ์แก้ไขตัดแต่งใช้ตะกั่วกับขี้ผึ้งผสมกันติดหัวท้ายของไม้กรับถ่วงเสียงให้เกิดความไพเราะยิ่งขึ้น จึงบัญญัติชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า "ระนาด"เรียก"ไม้กรับ" ที่ประดิษฐ์ขนาดต่างๆนั้นว่า "ลูกระนาด" และเรียกลูกระนาดที่ร้อยเชือกเข้าไว้เป็นแผ่นเดียวกันว่า"ผืน" นิยมใช้ไม้ไผ่บงมาทำเพราะว่าได้เสียงดี ทำรางเพื่อให้อุ้มเสียงเป็นรูปคล้ายลำเรือ ทางหัวและท้ายโค้งขึ้น เรียกว่า "ราง(ระนาด)" เรียกแผ่นปิดหัวและท้ายรางระนาดว่า โขน และเรียกรวมทั้งรางและผืนรวมกันเป็นลักษณะนามว่า "ราง" แต่เดิมมา ดนตรีวงหนึ่ง ก็มีระนาดเพียงรางเดียว และระนาดแต่เดิมคงมีจำนวนลูกระนาดน้อยกว่าในปัจจุบันนี้ ต่อมาได้เพิ่มลูกระนาดมากขึ้น และเมื่อมาคิดประดิษฐ์ระนาดอีกชนิดหนึ่งให้มีเสียงทุ้ม ฟังนุ่มไม่แกร่งกร้าวเหมือนชนิดก่อน จึงเลยเรียกระนาดอย่างใหม่นั้นว่า "ระนาดทุ้ม" และเรียกระนาดอย่างเก่าว่า "ระนาดเอก" เป็นคำผสมขึ้นในภาษาไทย ระนาดเอกปัจจุบันมีจำนวน ๒๑ ลูก ลูกต้น ขนาดยาวราว ๓๙ ซม. กว้างราว ๕ ซม. และหนา ๑.๕ ซม. ลูกต่อมาก็ลดหลั่นกันลงไปจนลูกที่ ๒๑ หรือลูกยอด มีขนาดยาว ๒๙ ซม. ลูกระนาดเหล่านั้นร้อยเชือกแขวนบนรางและรางนั้นวัดจาก "โขน" อีกข้างหนึ่ง ประมาณ ๑๒๐ ซม. มีเท้ารองรางตรงส่วนโค้งตอนกลางเป็นเท้าเดี่ยว รูปอย่างพานแว่นฟ้า เครื่องดนตรีชนิดนี้ ปรากฏมีทั้งของชวา ของมอญ และของพม่า ซึ่งพม่าเรียกว่า ปัตตลาร์ (Pattalar หรือBastran) การที่ได้ประดิษฐ์ให้วิวัฒนาการขึ้นนั้นจะเป็นความคิดของไทย หรือได้อย่างมาจากชาติเพื่อนบ้าน หรือชาติเพื่อนบ้านเอาอย่างไป ก็ยังไม่มีหลักฐานจะลงความเห็นได้ แต่คำว่า "ระนาด" นั้นเป็นคำไทยแผลงหรือยืดเสียงมาจากคำว่า "ราด" เช่นเดียวกับคำว่าเรียด แผลงเป็น ระเนียด ราว เป็น ระนาวราบ เป็นระนาบ และราด ก็เป็น ระนาด ยังมีคำพูดกันมาจนติดปากว่า "ปี่พาทย์ ราด ตะโพน" แสดงว่าแต่ก่อนคำนี้ยังมิได้ยืดเสียง และถ้าจะยืดเสียง หรือแผลงตามวิธีข้างบนก็อาจพูดได้ว่า "ปี่พาทย์ระนาด ตะโพน" คำว่า "ราด" ก็หมายความว่าวางเรียงแผ่ออกไป ทำให้กระจายออกไป กล่าวคือ กิริยาที่เอาไม้กรับ หรือ "ลูกระนาด" มาวางเรียงตามขนาดต่างๆลดหลั่นกันไปเช่นเดียวกับที่เอาไม้ท่อนมาวางเรียงขวางเป็นทางเดินในที่ลุ่มหรือที่หล่มก็เรียกว่า ระนาด และไม้ไผ่ที่ถักอย่างเรือกสำหรับรองท้องเรือก่อน แล้วนำมาใช้เรียกเครื่องดนตรีต่อภายหลังหรือจะบัญญัติขึ้นใช้เรียกเครื่องดนตรีก่อน แล้วจึงนำไปใช้เรียกไม้ท่อนเรียงขวางและไม้เรือกรองท้องเรือต่อภายหลัง เป็นเรื่องที่ยังไม่พบข้อตกลงของนักปราชญ์ทางภาษา 

             ระนาดเอกทุ้ม
              ระนาดทุ้ม เป็นเครื่องดนตรีที่คิดสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร์เลียนแบบ ระนาดเอก แต่ลูกระนาดก็คงทำด้วยไม้ชนิดเดียวกับระนาดเอก เป็นแต่เหลาลูกระนาด ให้มีขนาด กว้างและยาวกว่าลูกระนาดเอก และประดิษฐ์รางให้มีรูปร่างต่างจากราง ระนาด คือมีรูปคล้ายหีบไม้ แต่เว้ากลางเป็นทางโค้งมี"โขน"ปิดทางด้านหัวและด้านท้าย วัดจากปลายโขนทางหนึ่งไปยังอีกทางหนึ่งยาวประมาณ ๑๒๔ ซม. ปากรางกว้างประมาณ ๒๒ ซม. มีเท้าเตี้ยๆรอง ๔ มุมราง บางทีเท้าทั้ง ๔ นั้นทำเป็น ลูกล้อติดให้เคลื่อนย้ายได้ง่าย ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน ๑๗ ลูก หรือ๑๘ ลูก ลูกต้นยาวประมาณ ๔๒ ซม. กว้าง ๖ ซม.ลูกต่อมาก็ลดหลั่นลงนิดหน่อย และลูกยอดมีขนาดยาว๓๔ ซม. กว้าง๕ ซม. ไม้ตีก็ประดิษฐ์แตกต่างออกไปด้วย เพื่อต้องการให้มีเสียงทุ้มเป็นคนละเสียงกับระนาดเอก จึงเลยบัญญัติชื่อเป็น ระนาดชนิดนี้ว่า "ระนาดทุ้ม"

              ระนาดเอกเหล็ก
              ความจริง ระนาดทอง หรือระนาดเหล็ก เป็นเครื่องโลหะ ควรจะนำไปกล่าวในหมวดโลหะ แต่เพราะเป็นเครื่องตีที่ประดิษฐ์สร้างขึ้นโดยเลียนแบบเครื่องไม้และใช้ในลักษณะเดียวกัน จึงนำมากล่าวรวมไว้เสียในหมวดเดียวกัน ระนาดทอง หรือระนาดเอกเหล็กนี้ มีตำนานว่า คณาจารย์ทางดุริยางค์ศิลปคิดประดิษฐ์ขึ้นในรัชกาลที่ ๔ กรุงรัตนโกสินทร์ลูกระนาดแต่เดิมทำด้วยทองเหลืองจึงเรียกกันมาว่า ระนาดทอง ต่อมามีผู้ทำลูกระนาดด้วยเหล็กก็มี แต่ทำตามแนวระนาดเอก จึงเรียกว่า ระนาดเอกเหล็ก ทั้งระนาดทองและระนาดเหล็ก ใช้วางเรียงบนรางไม้มีผ้าพันไม้ หรือใช้ไม้ระกำวางพาดไปตามขอบรางสำหรับรองหัวท้ายลูกระนาดแทนร้อยเชือกผูกแขวนอย่างลูกระนาดที่ทำด้วยไม้ คงจะเนื่องจากมีน้ำหนักมาก เกรงว่าถ้าร้อยเชือกแขวน กำลังโขน๒ ข้างจะทานน้ำหนักไม่อยู่ แต่เดิมทำด้วยทองเหลือง จึงเรียกกันมาว่า ระนาดทอง ต่อมามีผู้ทำลูกระนาดด้วยเหล็กก็มี แต่ทำตามแนวระนาดเอก จึงเรียกว่า ระนาดเอกเหล็ก ทั้งระนาดทองและระนาดเหล็ก ใช้วางเรียงบนไม้มีผ้าพันไม้ หรือใช้ไม้ระกำวางพาดไปตามขอบรางสำหรับรองหัวท้ายลูกระนาดแทนร้อยเชือกผูกแขวนอย่างลูกระนาดที่ทำด้วยไม้ คงจะเนื่องจากมีน้ำหนักมาก เกรงว่าถ้าร้อยเชือกแขวน กำลังโขน ๒ ข้างจะทานน้ำหนักไม่อยู่ ระนาด ๒ ชนิดนี้ ทั้งที่ทำลูกด้วยทองเหลืองและเหล็ก มีจำนวน ๒๐ หรือ ๒๑ ลูก ลูกต้นยาวประมาณ ๒๓.๕ ซม. ลูกยอดยาวประมาณ ๑๙ ซม. และกว้างประมาณ ๔ ซม. ลูกต้นๆขูดโลหะตอนกลางด้านล่างจนบาง เพื่อให้ได้ระดับเสียงที่ต้องการ แต่ลูกใกล้ๆลูกยอด ตลอดจนลูกยอดคงโลหะไว้จนหนากว่า ๑ ซม. รางไม้ที่ใช้วางลูกระนาดนั้น ทำเป็นรูปหีบสี่เหลี่ยมแต่ยาวประมาณ ๑ เมตร ปากรางแคบกว่าส่วนยาวของลูกระนาด คือกว้างประมาณ ๑๘ ซม. เบื้องล่างของรางทำเท้ารอง ๔ เท้าติดลูกล้อเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้าย

              ระนาดทุ้มเหล็ก
              ระนาดทุ้มเหล็ก เป็นเครื่องตีที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระอนุชาธิราชในรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงพระราชดำริให้สร้างเพิ่มเติมอีกแบบหนึ่งโดยถ่ายทอดมาจากหีบเพลงฝรั่งอย่างเป็นเครื่องเขี่ยหวีเหล็ก" ลูกระนาดคงทำอย่างเดียวกับระนาดทองแต่ทำเขื่องกว่าระนาดทองหรือระนาดเอกเหล็ก เพื่อเป็นเสียงทุ้มลียนอย่างระนาดทุ้ม มีจำนวน ๑๖ หรือ ๑๗ ลูก ลูกต้นยาวประมาณ ๓๕ซม. กว้างประมาณ ๖ ซม. ลูกอื่นก็ย่อมลงไปตามลำดับ จนถึงลูกยอด ยาวประมาณ ๒๙ ซม. กว้างประมาณ ๕.๕ ซม. ตัวรางระนาดยาวประมาณ ๑ เมตร ากกว้างประมาณ ๒๐ ซม. มีชานยื่นออกไปทั้ง ๒ ข้างรางถ้านับส่วนกว้างรวมทั้งชาน ๒ ข้างด้วย ก็ประมาณ ๓๖ ซม. มีเท้ารองติดลูกล้อ ๔ เท้า ตัวรางสูงจากพื้นถึงขอบบน (รวมทั้งเท้าด้วย) สูง ๒๖ ซม. เมื่อเกิดมีระนาดเหล็กขึ้น ๒ ชนิดเช่นนี้ จึงเลยเรียกระนาดเหล็กขนาดเล็กว่า ระนาดเอกเหล็ก และเรียกระนาดเหล็กขนาดเขื่องว่า ระนาดทุ้มเหล็กแต่ก็เป็นเสียงเอกเสียงทุ้มตามลูกระนาดที่ทำด้วยโลหะ มิใช่เสียงเอกเสียงทุ้มอย่างลูกระนาดไม้ แล้วกลับไปเรียกระนาดไม้ ๒ ชนิด ที่กล่าวมาข้างต้น (๔ และ ๕) ว่าระนาดเอกไม้ และระนาดทุ้มไม้ระนาดทุกชนิดใช้ไม้ตี ๒ อัน ตี ๒ มือ ถือมือละอัน ตอนมือถือ เหลาเล็ก ถ้าเป็นไม้ตีระนาดเอก ทำเป็น ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งทำแข็ง ตีดังเกรียวกราวเมื่อเข้าผสมวง เรียกว่า "ปี่พาทย์ไม้แข็ง" ไม้ตีอีกชนิดหนึ่งคิดทำกันขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๕ ทำให้ยุ่นอ่อนนุ่ม ตีเสียงนุ่ม เมื่อผสมวงเรียกว่า "ปี่พาทย์ไม้นวม" ถ้าเป็น "ไม้แข็ง" ตอนปลายที่ใช้ตีพอกด้วยผ้าชุบน้ำรักถ้าเป็น "ไม้นวม" ก็พันผ้าแล้วถักด้ายสลับจนนุ่ม ส่วนไม้ตีระนาดทุ้ม ตอนปลายทีใช้ตี ก็พันผ้าพอกให้โตและอ่อน เพื่อตีให้เกิดเสียงทุ้มแต่ไม้ตีระนาดเหล็กนั้น ตอนที่ใช้ตีทำด้วยแผ่นหนังดิบ ตัดเป็นวงกลม เจาะรูกลาง แล้วเอาไม้เป็นด้ามสำหรับมือถือ ปักลงในรูกลางแผ่นหนังนั้น ใช้สำหรับมือถือตี ถ้าเป็นไม้ตีระนาดทองเหลืองหรือระนาดเอกเหล็ก วงแผ่นหนังก็เล็ก แต่ถ้าเป็นไม้ตีระนาดทุ้มเหล็ก วงแผ่นหนังและด้ามถือก็เขื่องหน่อย ไม้ตีระนาดทุ้มเหล็กนี้ทำอย่างเดียวกับไม้ตีฆ้องวง ซึ่งจะกล่าวต่อไป

              ฉิ่ง


ฉิ่ง
ที่มาภาพ : http://www.thaigoodview.com/node/50320

             ฉิ่ง เป็นเครื่องตีทำด้วยโลหะ หล่อหนา เว้ากลาง ปากผายกลม รูปคล้ายถ้วยชาไม่มีก้น สำหรับหนึ่งมี ๒ ฝา แต่ละฝาวัดผ่านศูนย์กลางจากสุดขอบข้างหนึ่งไปสุดขอบอีกข้างหนึ่งประมาณ ๖ ซม. ถึง ๖.๕ ซม. เจาะรู ตรงกลางเว้าสำหรับร้อยเชือก เพื่อสะดวกในการถือตีการะทบกนให้เกิดเสียงเป็นจังหวะฉื่งที่กล่าวนี้ใช้สำหรับ ประกอบวงปี่พาทย์ ส่วนฉิ่งที่ใช้สำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรี มีขนาดเล็กกว่านั้น คือ วัดผ่านศูนย์กลาง เพียง ๕.๕ ซม. ที่เรียกว่า "ฉิ่ง" ก็คงจะเรียกตามเสียงที่เกิดขึ้นจาการเอาขอบของฝาหนึ่งกระทบเข้ากับฝาหนึ่งแล้งยกขึ้น จะได้ยินเสียงกังวานยาวคล้าย "ฉิ่ง - " แต่ถ้าเอา ๒ ฝานั้น กลับกระทบประกบกันไว้ จะได้ยินเสียงสั้นคล้าย "ฉับ" เครื่องตีชนิดนี้ สำหรับใช้ในวงดนตรีประกอบการขับร้องฟ้อนรำและการแสดงนาฏกรรม โขน ละคอน

              ฉาบ


ฉาบ
ที่มาภาพ : http://www.thaigoodview.com/node/46473?page=0,1
              ฉาบเป็นเครื่องตีอีกชนิดหนึ่งทำด้ยโลหะเหมือนกัน รูปร่างคล้ายฉิ่งแต่หล่อบางกว่าฉิ่ง มี ขนาดใหญ่กว่าและกว้างกว่าตอนกลางมีปุ่มกลม ทำเป็กระพุ้งขนาดวางลงในอุ้งมือ ๕นิ้ว ขอบนอกแบ ออกราบโดยรอบและเจาะรูตรงกลางกระพุ้งเพื่อไว้ร้อยเส้นเชือกหรือเนหนังสำหรับถือ ต่อมาคิดทำเป็น ๒ ขนาด ขนาดเล็ก เรียกว่า " ฉาบเล็ก " ขนาดใหญ่เรียกว่า " ฉาบใหญ่ " ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว ๑๒ ถึง ๑๔ ซ.ม. ขนาดใหญ่เส้นผ่นศูนย์กลางราว ๒๓ ถึง ๒๖ ซ.ม. ใช้ขนาดละ ๒ อัน หรือขนาดละคู่ ตีกระทบกันให้เกิดจังหวะต้องการ ที่เรียกว่า" ฉาบ" เข้าจว่าเรียกตามเสียงที่กระทบกันขณะตีกระกบ แต่ถ้าตีเปิดจะได้เป็เสียงคล้าย แฉ่งๆ

              ฆ้องวงใหญ่
              ฆ้องวง เป็นเครื่องตีที่คิดประดิษฐ์สร้างให้วิวัฒนาการมาโดยลำดับ จากฆ้องเดี่ยว และฆ้องคู่ แล้วฆ้องราง วงฆ้องใช้ต้นหวายโป่งทำเป็นร้าน สูงประมาณ ๒๔ ซม. หวายเส้นนอกกับเส้นในห่างกันประมาณ ๑๔-๑๗ ซม. ดัดโค้งเป็นวงล้อมไปเกือบรอบตัวคนนั่งตี เปิดช่องไว้สำหรับทางเข้าด้านหลังคนตี ห่างกันราว ๒๐-๓๐ ซม. ขนาดของวงกว้างจากขอบวงในทางซ้ายไปถึงขอบวงในทางขวา กว้างประมาณ ๘๒ ซม. จากด้านหน้าไปด้านหลัง กว้างประมาณ ๖๖ ซม. พอให้คนตีนั่งขัดสมาธินั่งตีได้สบาย แล้วเจาะรูลูกฆ้องทางขอบฉัตร ลูกละ ๔ รู ใช้เชือกหนังร้อยผูกกับเรือนฆ้อง ให้ปุ่มลูกฆ้องหงายขึ้นผูกเรียงลำดับขนาดลูกต้นไปหาลูกยอด ตั้งแต่ใหญ่ไปหาเล็ก เรียงลำดับเสียงตั้งแต่ต่ำไปหาสูง ฆ้องวงหนึ่งมีจำนวน ๑๖ ลูก ลูกต้นวัดผ่านศูนย์กลางประมาณ๑๗ ซม. อยู่ทางซ้ายมือด้านหลังผู้ตี และใช้ตีด้วยไม้ตีทำด้วยแผ่นหนังดิบตัดเป็นวงกลมเจาะกลางสอดด้ามไม้สำหรับมือถือ วงหนึ่งใช้ไม้ตี ๒ อัน ถือตีข้างละมือ การประดิษฐ์ฆ้องวงคงเกิดขึ้นก่อนระนาด เพราะมีภาพแกะสลักวงปี่พาทย์แต่โบราณ มีฆ้องวงแต่ไม่มีระนาด และในสมัยโบราณ เช่น ในครั้งกรุงศรีอยุธยาฆ้องวงคงมีขนาดเดียว ใช้บรรเลงผสมวงปี่พาทย์ ต่อมาเมื่อมีผู้สร้างฆ้องวงขึ้นอีกขนาดหนึ่งวงย่อมกว่าที่กล่าวนี้ จึงเรียกฆ้องวงขนาดเก่าว่า "ฆ้องวงใหญ่"

              ฆ้องวงเล็ก


ฆ้องวงเล็ก
ที่มาภาพ : http://dusithost.dusit.ac.th/~u52116940207/dontreethai/teeloha3.html
              ฆ้องวงเล็ก ปรากฏว่าสร้างกันขึ้นเมื่อรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีคณาจารย์ทางดุริยางคศิลป คิดประดิษฐ์ฆ้องขึ้นอีกขนาดหนึ่งเหมือนกับฆ้องวงก่อน(๑๕)ทุกอย่าง แต่ขนาดย่อมกว่าเล็กน้อย วัดจากขอบวงด้านซ้ายมือถึงขอบวงในด้านขวา กว้างประมาณ ๘๐ ซม. จากด้านหน้าไปด้านหลัง๖๐ ซม. เรือนฆ้องสูง ๒๐ ซม. วงหนึ่งมีจำนวน ๑๘ ลูก ลูกต้นวัดผ่านศูนย์กลางประมาณ ๙.๕ ซม. ใช้บรรเลงร่วมในวงปี่พาทย์ แต่นั้นมาปี่วงพาทย์ วงหนึ่งๆ จะใช้ฆ้อง ๒ วง ก็ได้เรียกฆ้องวงใหญ่แต่เดิมว่า " ฆ้องวงใหญ่ " และฆ้องวงขนาดเล็กที่ประดิษญ์สร้างขึ้นใหม่นี้เรียกว่า"ฆ้องวงเล็ก" และฆ้องวงทั้ง ๒ วงนี้ นอกจากจะใช้บรรเลงร่วมในวงปี่พาทย์แล้ว ต่อมาได้ย่อขนาดสร้างขึ้นให้ย่อมลงอีกและใช้บรรเลงในวงมโหรีด้วย

              ตะโพน


ตะโพน
ที่มาภาพ : http://www.shoppingmall.co.th/aphisit?page=product&rp=info&pl=14037
               ตะโพนในหนังสือเก่าเรียก" สะโพน " ก็มี รูปร่างคล้ายมุทึงค์ หรือ มฤทังค์ หรือ มัททละของอินเดีย กล่าวคือ หน้าที่ขึงหนัง ๒ ข้างเรียวเล็กตรงกลางป่อง ของอินเดียใช้วางบนตักตีหรือมีสายสะพายเมื่อยืนตี ส่วนตะโพนหรือสะโพนของเรา มีเท้ารองให้ตะโพนวางนอนอยู่บนเท้าใต้ฝ่ามือซ้ายขวาตีได้ทั้งสองหน้า มฤทังค์ หรือ มัททละ เป็นเครื่องหนังที่ใชแพร่หลายในอินเดียในแต่โบราณมีนิยายว่า พระพรหมาได้ทรงสร้างขึ้นเพื่อประกอบ วงหวะรำฟ้อนของพระศิวะเมื่อทรงมีชัยเหนือนครตรีปุระและกล่าวว่า พระคเณศ ผู้เทพโอรส เป็นผู้ตีคนแรกที่เรียกชื่อว่า มฤทังค์ หรือ มัททมะนั้น เพราะแต่เดิมตัวหุ่นทำด้วยดิน แต่เดี๋ยวนี้ทำด้วยไม้ส่วนตะโพนของไทยทำด้วยไม้สักหรือไม้ขนุน เรียกว่า "หุ่น" ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายในขึ้นหนังสองหน้า ดึงด้วยสายหนังโยงเร่งเสียงที่เรียกว่า"หนังเรียด" หน้าหนึ่งใหญ่ กว้างประมาณ ๒๕ ซม. เรียก" หน้าเท่ง " ต้องติดข้าวสุกบดผสมขี้เถ้าถ่วงเสียง อีกหน้าหนึ่งเล็กกว้างประมาณ ๒๒ ซม.เรียก " หน้ามัด " ตัวกลองยาวประมาณ ๔๘ ซม. ตรงรอบขอบหนังขึ้นหน้าถักด้วยหนังตีเกลียวเส้นเล็กๆเรียกว่า " ไส้ละมาน " แล้วจึงเอาหนังเรียดร้อยในช่องของไส้ละมานทั้ง ๒ หน้า โยงเรียงไปโดยรอบจนไม่แลเห็นไม้ " หุ่น " แล้วมีหนังพันตอนกลางเรียกว่า" รัดอก " ตรงรัดอกข้างบนทำเป็หูหิ้ว ตะโพนใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงปี่พาทย์ มีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับต่างๆ

              กลองตะโพน
              กลองตะโพน คือ ตะโพนที่กล่าวมาในรายการ ๒๑ นั่นเอง แต่นำมาตีอย่างกลองทัด โดยใช้ไม้นวมที่ตีระนาด เป็นไม้ตี มิได้ใช้ฝ่ามือตีอย่างตะโพน จึงเรียกกันว่า "กลองตะโพน" ตะโพนตีอย่างกลองทัดนี้ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนำมาใช้คราวทรงปรับปรุงวงปี่พาทย์ สำหรับประกอบการแสดงละคร ดึกดำบรรพ์ขึ้น เมื่อปลายรัชการที่ ๕ โดยทรงประดิษฐ์เท้าหรือที่ตั้งสำหรับวางรองตั้งตะโพนได้ ๒ลูก ให้หน้าตะโพนข้างหนึ่ง ตั้งตะแคงลาดมาทางผู้ตีอย่างกลองทัดตั้งขาหยั่งสำหรับใช้ในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ และยังนำมาใช้ในวงปี่พาทย์ไม้นวมแทนกลองทัด เมื่อบรรเลงภายในอาคาร เพื่อมิให้เสียงดังกึกก้องเกินไป

              โทนมโหรี
               โทนมโหรี ตัวโทนทำด้วยดินเผา ด้านที่ขึ้นหนังโตกว่าโทนชาตรี ขนาดหน้ากว้างประมาณ ๒๒ ซม. ยาวประมาณ ๓๘ ซม. สายโยงเร่งเสียงใช้ต้นหวายผ่าเหลาเป็นเส้นเล็ก หรือใช้ไหมฟั่นเป็นเกลียว หนังที่ขึ้นหน้าใช้หนังลูกวัว หนังแพะ หนังงูเหลือม หรือหนังงูงวงช้าง ตีด้วยมือหนึ่ง และอีกมือหนึ่ง ทำหน้าที่ปิดเปิดทางลำโพงเช่นเดียวกับโทนชาตรี โดยเหตุที่โทยชนิดนี้ใชั้บรรเลงในวงเครื่องสายและวง มโหรี จึงเรียกกันว่า โทนมโหรี โทนมโหรีใช้ลูกเดียว แต่ตีขัดสอดสลับคู่กับรำมะนา โทนมโหรันี้ดูเหมือน จะตั้งใจทำกันด้วยความประณีตสวยงาม โดยสั่งทำมาจกาประเทศจีนก็มี และ ตอนหางโทนนั้น บางลูกก็ ประดับมุก บางลูกก็เคลือบเงินลงยา และบางลูกก็ประดับด้วยฝีมือประณีตบรรจง

              รำมะนา
              รำมะนาเป็นกลองขึงหนังหน้าเดียวชนิด Tambourine ขนาดไล่เลี่ยกันเว้นแต่ไม่มี Jingles หรือฉาบคู่ติดตาม ขอบ หน้ากล่องที่ขึ้นหนังบานผายออก ตัวกลองสั้น รูปร่างคล้ายชามกะละมัง เข้าใจว่าเราจะได้ทั้งแบบอย่าง และรวมทั้งชื่อของเครื่องดนตรีชนิดนี้มาจากมลายูก็มีกลองชนิดหนึ่ง เขาเรียกว่าระบานา (Rebana) สำเนียง ก็คล้ายกัน แต่ปรากฏว่าคำ " Rebana " นี้เป็นภาษาปอร์ตุเกศ ถ้าอย่างนั้น มลายูอาจได้มาจากปอร์ตุเกศอีก ต่อหนึ่งก็ได้ รำมะนาของเรามี ๒ ชนิด คือ รำมะนาโหรี กับ รำมะนาลำตัด

              รำมะนามโหรี


รำมะนามโหรี
ที่มาภาพ : http://livethaimusic.blogspot.com/2011/01/blog-post_11.html
              รำมะนาขนาดเล็ก หน้ากว้างประมาณ ๒๖ ซม. ตัวรำมะนายาวประมาณ ๗ ซม. หนังที่ขึ้นตรึงด้วยหมุดโดยรอบ จะเร่งหรือลดเสียงให้สูงต่ำไม่ได้ แต่มีเชือกเส้นหนึ่งเรียกกันว่า " สนับ " สำหรับหนุนข้างในโดยรอบของหน้า ช่วยให้เสียงสูงและไพเราะได้ ตีด้วยฝ่ามือใช้บรรเลงร่วมในวงมโหรี และเครื่องสาย เป็นเครื่องตีคู่กันกับโทน มโหรี ตัวรำมะนามโหรี มักจะประดิษฐ์ ทำกันอย่างสวยงามเช่นทำด้วยงา หรือตัวรำมะนาทำด้วยงาแต่ฝังไม้เป็น การสลับสี หรือรำมะนาเป็นไม้ฝังงาสลับสี โทนและรำมะนาคู่ของเรานี้ อาจใช้บรรเลงในลักษณะเดียวกับกลอง คู่ของอินเดียที่เรียกว่า " ตับลา " กระมัง

              กลองแขก
              กลองแขก กลองแขกรูปร่างยาวเป็นกระบอกแต่หน้าหนึ่งใหญ่เรียกว่า"หน้ารุ่ย"กว้างประมาณ ๒๐ ซ.ม. อีกหน้าหนึ่งเรียกว่า"หน้าต่าน" กว้างประมาณ ๑๗ ซ.ม. หุ่นกลองยาวประมาณ ๕๗ ซ.ม. ทำด้วยไม้จริง หรือไม้แก่น เช่นไม้ชิงชันหรือไม้มะริดขึ้นหนัง ๒ หน้าด้วยหนังลูกวัวหรือหนังแพะ ใช้เส้นหวายผ่าซีกเป็น สายโยงเร่งเสียง โยงเส้นห่างๆแต่ต่อมาในระยะหลังคงเป็นเพราะหาหวายไม่สะดวก ในบางคราวจึงใช้ สายหวายโยงก็มี สำรับหนึ่งมี ๒ ลูก ลูกเสียงสูงเรียกว่า"ตัวผู้ " ลูกเสียงตำเรียกว่า"ตัวเมีย" ตีด้วยฝ่า มือทั้ง ๒ หน้าให้เสียงสอดสลับกันทั้งสองลูก กลองแบบนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " กลองชวา " เพราะ เข้าใจว่าเราได้แบบอย่างมาจากชวา ในวงปี่พาทย์ของชวาก็มีกลอง ๒ ชนิดคล้ายกันนี้เป็นแต่ของเขารูป กลองตรงกลางไม่ป่องโตมากกว่าไทยเราคงจะนำกลองชนิดนี้มาใช้ในวงดนตรีไทยมาแต่โบราณ ในกฏ หมายศักดินามีกล่าวถึง "หมื่นราชาราช " พนักงานกลองแขก นา ๒๐๐ และมีลูกน้อง เรียกว่า ชาวกลอง เลวนา ๕๐ บางทีแต่เดิมคงจะนำเข้ามาใช้ในขบวนแห่นำเสด็จพระราชดำเนิน เช่นกระบวนช้างและกระบวน เรือ และใช้บรรเลงร่วมกับปี่ชวาประกอบการเล่นกระบี่กระบองเป็นต้นแต่แล้วภายหลังจึงนำมาใช้บรรเลง ในวงปี่พาทย์ไทย เมื่อครั้งเอาละคอนอิเหนาของชวามาเล่นเป็นละคอนไทยในตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่นใช้ในเมื่อละคอนรำเพลงกริชเป็นต้น ต่อมาก็เลยนำมาใช้กำกับจังหวะแทนตะโพน ในวงปี่พาทย์และ ใช้แทนโทนกับรำมะนา ในวงเครื่องสายด้วย

      ขอบคุณที่มา
http://writer.dek-d.com/title30016/story/view.php?id=208603
http://student.nu.ac.th/thaimusic_akez/tee.htm