<< Go Back

งานอวมงคล - ทำบุญอวมงคล

          การทำบุญงานอวมงคล หมายถึง การทำบุญเกี่ยวกับเรื่องการตายดังกล่าวแล้ว นิยมทำกันอยู่ ๒ อย่างคือ ทำบุญหน้าศพ ที่เรียกกันว่าทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าววันปลงศพ อย่างหนึ่ง ทำบุญอัฐิหรือทำบุญปรารภการตายของบรรพบุรุษ หรือผู้ใดผู้หนึ่ง ในวันคล้ายกับวันตายของท่านผู้ล่วงลับไปแล้วอย่างหนึ่ง ทั้งสองอย่างนี้ มีระเบียบที่จะพึงปฏิบัติ ดังนี้ งานทำบุญหน้าศพ พิธีฝ่ายเจ้าภาพ ในงานทำบุญหน้าศพ มีกิจกรรมที่ควรตระเตียมไว้เป็นเบื้องต้น
ส่วนใหญ่คล้ายกับงานทำบุญมงคล แต่มีข้อแตกต่างอยู่บางประการ คือ
          ๑. อาราธนาพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ มีจำนวนนิยม ๘ รูป หรือ ๑๐ หรือกว่านั้นขึ้นไปแล้วแต่กรณี ใน เรื่องอาราธนาพระสงฆ์สำหรับทำบุญงานอวมงคล ไม่ใช้คำอาราธนาว่า "ขออาราธนาเจริญพระพุทธมนต์" เหมือนอย่างทำบุญงานมงคล แต่ใช้คำอราธนาว่า "ขออราธนา สวดพระพุทธมนต์"
          ๒. ไม่ตั้งน้ำวงด้าย หมายความว่า ไม่ต้องตั้งภาชนะน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ และไม่มีการวงด้ายสายสิญจน์
          ๓. เตียมสายโยงหรือภูษาโยงต่อจากศพไว้ เพื่อใช้บังสุกุลสายโยงนั้นก็ใช้สายสิญจน์ แต่ไม่เรียกว่าสายสิญจน์เหมือนงานมงคล เรียกว่า สายโยง ถ้าไม่ใช้สายสิญจน์โยง มีหลักที่ต้องระวังอย่างหนึ่ง คือ จะโยงในที่สูงกว่าพระพุทธรูปที่ตั้งในพิธีไม่ได้ และจะปล่อย ให้ลาดมากับพื้นที่เดินหรือนั่งก็ไม่เหมาะเพราะสายโยงนี้เป็นสายที่ล่ามโยงออกมาจากกระหม่อมของศพ เป็นสิ่งเนื่องด้วยศพ จึงต้องล่ามหรือโยงให้สมควร
          ส่วนการปฏิบัติกรณียกิจ ในเมื่อพระสงฆ์มาถึงตามกำหนดแล้วก็คล้ายกับงานมงคล สำหรับข้อปฏิบัติในวันเลี้ยงพระ ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในงานมงคล มีแต่เพียงว่าในงานมงคลหลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว นิยมให้มีบังสุกุลแล้วจึงถวายไทยธรรม เมื่อพระสงฆ์ อนุโมทนาพึงกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลต่อไป
          พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์ต้องใช้พัดที่เกี่ยวกับงานศพเป็นเหมาะสม เพราะงานอวมงคลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการตายทั้งสิ้น ถ้าไม่มีจะใช้พัดงานอื่นก็ได้ เช่น พัดงานฉลองต่าง ๆ การสวดมนต์ ในงานอวมงคลนี้ (สวดมนต์เย็นและฉันวันรุ่งขึ้น) มีระเบียบนิยมเหมือนกัน ในตอนต้นและตอนท้ายทุกงาน ต่างกันแต่ตอนกลาง ซึ่งมีนิยมเฉพาะงาน ๆ ดังนี้
          ๑. ทำบุญศพ ๗ วัน สวดอนัตตลักขณสูตร
          ๒. ทำบุญศพ ๕๐ วัน สวดอาทิตตปริยายสูตร
          ๓. ทำบุญศพ ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าวันปลงศพสวดธรรมนิยามสูตร
          ๔. ทำบุญศพในวาระอื่นจากที่กล่าวนี้จะสวดสูตาอื่นใดนอกจากที่กล่าวนี้ก็ได้ แล้วแต่เจ้าภาพประสงค์หรือหัวหน้านำสวด แต่มีธรรมเนียมอยู่ว่า ไม่สวดเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ธรรมจักร มหาสมัย

          ในการสวดนี้มีระเบียบปฏิบัติ คือ เมื่อพระหัวหน้าให้ศีลและเจ้าภาพอาราธนาสวดพระปริตรจบแล้ว ไม่ต้องขัด สคฺเค พระทุกรูปประนมมือพร้อมกันแล้ว หัวหน้านำสวด
          ก. นมการปาฐะ (นโม......)
          ข. สรณคมนปาฐะ (พุทฺธํ สรณํ.....)
          ค. ปัพพโตปมคาถาและอริยธนคาถา (ยถาปิ เสลา....)

          พอจบตอนนี้ทั้งหมดลดมือลง แล้วรูปที่นั่งอันดับ ๓ ตั้งพัดขัดบทขัดของสูตรที่กำหนดสวดตามงานสูตรใดสูตรหนึ่ง เมื่อขัดจบวางพัด ทุกรูปประนมมือพร้อมกันอีก หัวหน้านำสวดสูตรที่ขัดนำนั้น จบสูตรแล้วนำสวดบทท้ายสวดมนต์ของงานอวมงคลต่อ คือ
          ก. ปฏิจจปมุปบาท (อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา....)
          ข. พุทธอุทานคาถา (ยทา หเว....)
          ค. พุทเทกรัตตคาถา (อตีตํ นานฺวาคเมยฺย....)
          ฆ. ภวตุ สพฺพมงฺคลํ....

          ถ้าสวดธรรมนิยามสูตร ใช้สวดติลักขณาทิคาถา (สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ฯเปฯ เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ) ก่อนสวดปฏิจจสมุปบาท เมื่อพระสวดมนต์จบแล้ว ถ้ามีการชักผ้าบังสุกุลต่อท้ายเจ้าจะลากสายโยงหรือภูษาโยงแล้วทอดผ้า พอทอดถึงรูปสุดท้ายพระสงฆ์ก็ตั้งพัดพร้อมกัน (อย่าข้าสายโยง หรือภูษาโยง เพราะ จะถือว่าเป็นการข้ามศพ) การตั้งพัดในพิธีชักบังสุกุลของพระให้ใช้มือซ้ายจับพัดแล้วใช้มือ ขวาจับผ้าบังสุกุล ในกรณีที่เจ้าภาพบำเพ็ญกุศลเพียงสดมนต์ ไม่มีการเลี้ยงพระ ไม่ต้องสวดบทถวายพรพระ เมื่อพระสงฆ์รับไทยธรรมแล้ว หากไม่มีการรีบด่วน ในการอนุโมทนาด้วยบทวิเสส อนุโมทนา พึงใช้บท "อทาสิ เม" เพราะศพยังปรากฏอยู่

 

 

 

ขอบคุณเว็บไซต์ : http://www.buddhismth.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538962603&Ntype=8

    << Go Back