<< Go Back

เฉลยแบบทดสอบปลายภาค

1. การแบ่งยุคสมัยทางดนตรีไทยนิยมแบ่งออกเป็นกี่สมัย ?

  1. ๒ สมัย
2. ๓ สมัย
  3. ๔ สมัย 4. ๕ สมัย
 

2. เครื่องดนตรีไทยชนิดใดปรากฏอยู่ในสมัยอยุธยาทั้งหมด ?

  1. สังข์ บัณเฑาะว์ ซอสามสาย 2. ระนาดทุ้ม อังกะลุง ฆ้องวงเล็ก
  3. กลองแขก จะเข้ แตรวิลันดา 4. กลองสองหน้า มโหระทึก กระจับปี่
   

3. เพลงใดที่ปรากฏในสมัยรัตนโกสินทร์ ?

  1. เพลงเถา 2. เพลงนางนาค
  3. เพลงสมิงทอง
4. เพลงยิกินแปดบท
   

4. ดอกเข็มเป็นดอกไม้ที่ใช้ในการไหว้ครู มีความหมายตรงกับข้อใด ?

  1. มีชื่อเสียงโด่งดัง 2. มีสติปัญญาเฉียบแหลม
  3. มีชื่อเสียงมั่นคงไม่โรยรา 4. มีความรู้งอกงามแตกฉาน
   

5. การไหว้ครูดนตรีไทยจะจัดขึ้นในวันใด ?

  1. วันจันทร์ 2. วันอังคาร
  3. วันพุธ 4. วันพฤหัสบดี
   

6. ระบบเสียงดนตรีไทยนิยมใช้เครื่องดนตรีชนิดใดในการกำหนดชื่อเรียก ?

  1. ซอสามสาย
2. ฆ้องวงใหญ่
  3. ระนาดเอก
4. ขลุ่ยเพียงออ
 
7. สัญลักษณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบันทึกแทนเสียงดนตรี คือข้อใด ?
  1. ตัวโน้ต 2. ทำนอง
  3. จังหวะ
4. ทางเพลง
   

8. เครื่องดนตรีชนิดใดได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย ?

  1. สังข์ บัณเฑาะว์ 2. กลองแขก ปี่ชวา
  3. ปี่มอญ แตรวิลันดา 4. ซออู้ ซอสามสาย
 

9. ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการประสมวงดนตรีประเภทใดขึ้นเป็นครั้งแรก ?

  1. วงเครื่องสายไทย 2. วงมโหรีเครื่องเดี่ยว
  3. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ 4. วงเครื่องสายเครื่องคู่
     

10. วงปี่พาทย์ชาตรี เป็นวงดนตรีพื้นบ้านของภาคใด ?

  1. ภาคเหนือ 2. ภาคใต้
  3. ภาคกลาง 4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

11. คุณภาพด้านองค์ประกอบดนตรีประกอบด้วยอะไรบ้าง 

  1. จังหวะ, ทำนอง, เสียงประสาน, รูปแบบ
 
  2. จังหวะ, ทำนอง, รูปแบบ, คุณภาพลักษณะของเสียง  
  3. จังหวะ, ทำนอง, เสียงประสาน, รูปแบบ, สีสัน  
  4. จังหวะ, ทำนอง, เสียงประสาน, รูปแบบ, คุณภาพลักษณะของเสียง  
 

12. คุณค่าและประโยชน์ของดนตรีที่นำมาใช้ด้านใด

  1. ด้านการศึกษา , ด้านจิตวิทยา 2. ด้านการแพทย์ , ด้านกีฬา
  3. ด้านสังคม , ด้านการศึกษา 4. ถูกทุกข้อ
   

13. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์สำคัญของดนตรี

  1. ฝึกสมาธิ กระตุ้นความทรงจำ  
  2. สร้างรายได้เพื่อเลี้ยงครอบครัว  
  3. เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร
 
  4. เป็นส่วนประกอบในการจัดการเรียนการสอนของครู
   

14. การฟังดนตรีแบบใดที่เมื่อฟังแล้วจะสามารถประเมินคุณภาพผลงานดนตรีได้

  1. ฟังแบบผ่านหู 2. ฟังด้วยความรู้สึก
  3. ฟังด้วยความซาบซึ้ง 4. ฟังด้วยอารมณ์สุนทรีย์
   

15. “ดนตรีมีอำนาจในการที่จะเปลี่ยนนิสัยของมนุษย์ จนกระทั่งในบางกรณีสามารถรักษาโรคให้หายได้”

  1. ด้านการศึกษา 2. ด้านสังคม
  3. ด้านการแพทย์ 4. ด้านจิตวิทยา
   

16. จังหวะ (Rhythm)มีลักษณะอย่างไร

  1. การจัดเรียงระดับเสียง มีความสั้นยาวกำหนดโดยจังหวะ
 
  2. การเรียงของเสียง หรือความเงียบ มีความสั้นยาวต่างๆกัน  
  3. ระดับเสียงตั้งแต่สองเสียงขึ้นไปที่ร้องหรือบรรเลง  
  4. โครงสร้างที่ทำให้ดนตรีมีความหมาย
 
 
17. เราสามารถนำดนตรีไปใช้ทำกิจกรรมใด
  1. การเต้นแอโรบิก 2. การโฆษณา
  3. การเรียน การสอน
4. ถูกทุกข้อ
   

18. ข้อใดคือการประเมินคุณค่าที่มีต่อสังคม

  1. เนื้อหาของบทเพลงต้องมีความถูกต้องและไม่ผิดศีลธรรม  
  2. สามารถสื่อหรือสะท้อนถึงชีวิตประจำวัน  
  3. สามารถช่วยขับกล่อมเกลาจิตใจได้  
  4. สามารถนำไปใช้ในการช่วยเหลือคนอื่นได้  
 

19. “ ผู้ฟังสามารถรับรู้ได้ง่ายที่สุดและสามารถถ่ายทอดอารมณ์ต่างๆแก่ผู้ฟังได้” คือข้อใด

  1. จังหวะ 2. ทำนอง
  3. เสียงประสาน 4. รูปแบบ
     

20. ข้อใดเป็นส่วนสำคัญในการสร้างงานดนตรี

  1. ทักษะและความสามารถ 2. องค์ประกอบของดนตรี
  3. พื้นฐานความรู้ 4. การวิเคราะห์
   

21. การแสดงนาฏศิลป์ที่เป็นชุดเป็นตอนไม่เป็นเรื่องราว คือการแสดงนาฏศิลป์ประเภทใด 

  1. โขน
2. ละคร
  3. ระบำรำฟ้อน 4. การแสดงพื้นเมือง
 

22. การแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นด้านการแต่งการ คนตรีประกอบการแสดง และท่าทางร่ายรำ คือการแสดงนาฏศิลป์ประเภทใด

  1. โขน 2. ละคร
  3. ระบำรำฟ้อน 4. การแสดงพื้นเมือง
   

23. ข้อใดคือการแสดงนากศิลป์ประเภทระบำ

  1. ฉุยฉาย 2. รองเง็ง
  3. สาวไหม 4. เทพบันเทิง
   

24. ข้อใดคือการแสดงนาฏศิลป์ประเภทรำ

  1. ฉุยฉาย 2. รองเง็ง
  3. สาวไหม 4. เทพบันเทิง
   

25. ข้อใดคือการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือ

  1. ฟ้อนแพน 2. ฟ้อนภูไท
  3. ฟ้อนเจิง 4. ฟ้อนรัก
   

26. การแสดงโขนที่ใช้ในพระราชพิธีเรียกว่าอะไร

  1. โขนโรงใน
2. โขนหลวง
  3. โขนพิธี
4. โขนโรงนอก
 
27. ข้อใดไม่นิยมนำมาแสดงในงานขึ้นบ้านใหม่
  1. รำพระรามตามกวาง 2. ระบำเทพบันเทิง
  3. ระบำกฤดาภินิหาร
4. ฟ้อนมาลัย
   

28. การแสดงโขนหน้าไฟ นิยมแสดงในโอกาสใด

  1. งานมงคล 2. งานอวมงคล
  3. งานพระราชพิธี 4. งานเทศกาลต่างๆ
 

29. การแสดงนาฏศิลป์ชุดระบำสี่ภาค นิยมใช้แสดงในโอกาสใด

  1. งานมงคล 2. งานอวมงคล
  3.งานพระราชพิธี 4. งานเทศกาลต่างๆ
     

30. ข้อใดนิยมแสดงในงานอวมงคลมากที่สุด

  1. ระบำศรีวิชัย 2. ระบำสุโขทัย
  3. ระบำอัศวลีลา 4. ระบำนกเขา
   

31. การละครสามารถบอกเรื่องราวสำคัญของมนุษยชาติได้อย่างไร

  1. ความมีอารยะธรรม
2. ขนบธรรมเนียมประเพณี
  3. สภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ 4. ถูกทุกข้อ
 

32. นิทานไทยเรื่องใดต่อไปนี้เก่าแก่ที่สุด ในการนำมาแสดงเป็นละครไทย

  1. มโนราห์ 2. อิเหนา
  3. ไกรทอง 4. สังข์ศิลป์ชัย
   

33. ศิลปะการละครของไทยได้รับอิทธิพลมาจากชนชาติใด

  1. ขอม 2. พม่า
  3. มอญ 4. อินเดีย
   

34. การละครไทยสมัยรัตนโกสินทร์ รุ่งเรื่องมากในรัชกาลใด

  1. รัชกาลที่ 1 2. รัชกาลที่ 2
  3. รัชกาลที่ 5 4. รัชกาลที่ 6
   

35. ข้อใดมีความสำคัญที่สุดในด้านการละครในสมัยรัชกาลที่ 6

  1. เกิดละครดึกดำบรรพ์ 2. ตั้งกรมศิลปากร
  3. ตั้งกรมมหรสพ เพื่อดูแลโขนละคร 4. ตั้งโรงละครปรีดาลัย
   

36. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับเทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นพืชพันธุ์ธัญญาหาร

  1. ไดโอไนซุส
2. ไดโอไนซิส
  3. เดือนมีนาคม
4. ถูกทุกข้อ
 
37. ข้อใดไม่ใช่รูปแบบของละครกรีก
  1. ต้องมีการชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ 2. ตัวเอกต้องมีสถานะทางสังคมสูง
  3. ตัวละครใช้ผู้ชายแสดง 4. ดำเนินเรื่องจบภายใน 24 ชม.
   

38. ละครสมัยกลางเริ่มในปี ค.ศ. ใด

  1. ค.ศ. 900 2. ค.ศ. 1,000
  3. ค.ศ. 1,100 4. ค.ศ. 1,200
 

39. ผู้ใดได้รับสมญานามว่าเป็นบิดาแห่งการเขียนบทละครตามแนวสัจนิยม

  1. คอมมีเดีย  เดลลาร์เต 2. เฮมริค  อิบเซม
  3. เชกเปีย 4. ฟราน์  โมเซฟ ไฮเดิน
     

40. ละครที่เรียกว่า ลิเทอร์จิคัล ดรามา เป็นละครสั้นใช้ภาษาละติน เป็นละครประเภทใด

  1. ละครสอนศีลธรรม 2. ละครแนวอภินิหาร
  3. ละครแนวมหัศจรรย์ 4. ละครสร้างสรรค์
   

<< Go Back