<< Go Back

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้
รายวิชา ศิลปะ (ดนตรี-นาฏศิลป์)       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2
รหัสวิชา ศ 31102       เวลา 20 ชั่วโมง

สาระที่ 2 ดนตรี

มาตรฐาน ศ 3.1  เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ลำดับที่ ตัวชี้วัด สาระสำคัญ
1 ศ 2.1 ม.4/1 เปรียบเทียบรูปแบบของบทเพลงและ วงดนตรีแต่ละประเภท
2 ศ 2.1 ม.4/2 จำแนกประเภทและรูปแบบของวงดนตรีทั้งไทยและสากล
3 ศ 2.1 ม.4/3 อธิบายเหตุผลที่คนต่างวัฒนธรรมสร้างสรรค์งานดนตรีแตกต่างกัน
4 ศ 2.1 ม.4/4 อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทยและสากลในอัตราจังหวะต่าง ๆ
5 ศ 2.1 ม.4/5 ร้องเพลง หรือเล่นดนตรีเดี่ยวและรวมวงโดยเน้นเทคนิคการแสดงออกและคุณภาพของการแสดง
6 ศ 2.1 ม.4/6 สร้างเกณฑ์สำหรับประเมินคุณภาพการประพันธ์และการเล่นดนตรีของตนเองและผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
7 ศ 2.1 ม.4/7 เปรียบเทียบอารมณ์ และความรู้สึกที่ได้รับจากงานดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่างกัน
8 ศ 2.1 ม.4/8 นำดนตรีไปประยุกต์ใช้ในงานอื่น ๆ

มาตรฐาน ศ 2.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

ลำดับที่ ตัวชี้วัด สาระสำคัญ
1 ศ 2.2 ม.4/2 วิเคราะห์สถานะทางสังคมของนักดนตรีในวัฒนธรรมต่าง ๆ
2 ศ 2.2 ม.4/5 นำเสนอแนวทางในการส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีในฐานะมรดกของชาติ

สาระที่ 3  นาฏศิลป์

มาตรฐาน ศ 3.1          เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ลำดับที่ ตัวชี้วัด สาระสำคัญ
1 ศ 3.1 ม.4/1 มีทักษะในการแสดงหลากหลายรูปแบบ
2 ศ 3.1 ม.4/2 สร้างสรรค์ละครสั้นในรูปแบบที่ชื่นชอบ
3 ศ 3.1 ม.4/3 ใช้ความคิดริเริ่มในการแสดงนาฏศิลป์เป็นคู่ และหมู่
4 ศ 3.1 ม.4/4 วิจารณ์การแสดงตามหลักนาฏศิลป์ และการละคร
5 ศ 3.1 ม.4/5 วิเคราะห์แก่นของการแสดงนาฏศิลป์และการละครที่ต้องการสื่อความหมาย ในการแสดง
6 ศ 3.1 ม.4/6 บรรยาย และวิเคราะห์ อิทธิพลของเครื่องแต่งกาย แสง สี เสียง ฉากอุปกรณ์ และสถานที่ที่มีผลต่อการแสดง
7 ศ 3.1 ม.4/7 พัฒนาและใช้เกณฑ์การประเมินในการประเมินการแสดง
8 ศ 3.1 ม.4/8 วิเคราะห์ท่าทาง และการเคลื่อนไหวของผู้คนในชีวิตประจำวันและนำมาประยุกต์ใช้ในการแสดง

สาระที่ 3  นาฏศิลป์

มาตรฐาน ศ 3.2            เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทยและสากล

ลำดับที่ ตัวชี้วัด สาระสำคัญ
1 ศ 3.2 ม.4/1 มีทักษะในการแสดงหลากหลายรูปแบบ
2 ศ 3.2 ม.4/2 สร้างสรรค์ละครสั้นในรูปแบบที่ชื่นชอบ
3 ศ 3.2 ม.4/3 ใช้ความคิดริเริ่มในการแสดงนาฏศิลป์เป็นคู่ และหมู่
4 ศ 3.2 ม.4/4 วิจารณ์การแสดงตามหลักนาฏศิลป์ และการละคร

 

 

<< Go Back