<< Go Back

เกลือแกง หรือ โซเดียมคลอไรด์ (Sodium Chloride) เป็นสารเคมีธรรมชาติตัวหนึ่งที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมานานนับพันปี บางท่านอาจจะไม่คุ้นกับชื่อเกลือแกง แต่ถ้าบอกว่ามันก็คือเกลือที่เราใช้ประกอบอาหารกันทุกวัน ก็คงร้องอ๋อกันทุกคน เกลือแกงถูกนำมาใช้กันในหลายด้าน ทั้งด้านประกอบอาหาร ถนอมอาหาร รวมถึงใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมหลายประเภท

การผลิตโซเดียมคลอไรด์

การผลิตโซเดียมคลอไรด์ โซเดียมคลอไรด์ หรือเกลือแกงมีสูตรเป็น NaCl เป็นสารประกอบที่ประกอบด้วยธาตุ Na และ Cl ลักษณะเป็นผลึกสีขาว รสเค็ม รูปผลึกเป็นแบบทรงลูกบาศก์ จุดหลอมเหลว 801 องศาเซลเซียส ละลายน้ำได้ดี โดยมากใช้ ทะเล และจากดิน ประเทศที่ผลิตเกลือแกงได้มาก คือ ประเทศออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดียและสหรัฐอเมริกา เกลือแกงแบ่งตามวิธีการผลิตมี 2 ประเภทคือ เกลือสมุทร และเกลือสินเธาว์

เกลือแกงแบ่งตามวิธีในการผลิตมี  2  ประเภทคือ
เกลือสมุทร  คือ   โซเดียมคลอไรด์  หรือเกลือแกงที่ผลิตได้จากน้ำทะเล

การผลิตเกลือสมุทร
เกลือสมุทรทำกันมากในบริเวณใกล้ทะเล  เช่น  ที่จังหวัดสมุทรสาคร  เพชรบุรี  ฉะเชิงเทรา  และชลบุรี    สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์  โดยมากจะทำนาเกลือปีละ  2  ครั้ง  ในประเทศไทยมีอากาศแห้งแล้งติดต่อกันเป็นเวลาประมาณครึ่งปี  ดังนั้นการทำนาเกลือจึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม

การทำนาเกลือใช้วิธีการแยกโซเดียมคลอไรด์ออกจากน้ำทะเล  ดังนั้นจึงต้องใช้หลัก  “การระเหยและการตกผลึก”  โดยการให้น้ำทะเลระเหยไปจนเหลือน้ำปริมาณน้อยที่สุด ซึ่งเมื่อถึงจุดอิ่มตัวของเกลือ จะทำให้เกลือเกิดการตกผลึกออกมา
1.  การเตรียมพื้นที่นา  โดยทั่วไปใช้พื้นที่ประมาณ  40  ไร่  จากนั้นก็ขุดตอไม้รากไม้เพื่อปรับพื้นที่ให้เรียบแน่น  แบ่งที่นาออกเป็นแปลง ๆ แปลงละ  1  ไร่  ยกขอบแปลงให้สูง  แล้วทำร่องระบายน้ำระหว่างแปลง\
2.   การทำนาเกลือ
2.1 แบ่งพื้นที่ทำนาเป็น  3  ตอน  ได้แก่  นาตาก  นาเชื้อ และนาปลง  ซึ่งระดับพื้นที่จะลดหลั่นลงตามลำดับ  เพื่อความสะดวกในการระบายน้ำและขังน้ำ
2.2 ก่อนถึงฤดูการทำนาเกลือ  ให้ระบายน้ำเข้าเก็บขังไว้เพื่อให้น้ำสะอาด  ผงโคลนตม แร่ธาตุ จะได้ตกตะกอน พื้นที่ที่ขังน้ำไว้ตอนนี้ เรียกว่า  นาวัง
2.3 จากนั้นระบายน้ำเข้าสู่นาตาก  ให้ระดับน้ำสูงกว่าพื้นนาประมาณ  5 cm  เมื่อน้ำระเหยไปจนวัดความถ่วง จำเพาะของน้ำทะเลได้  1.08 จึงถ่ายน้ำเข้าสู่นาเชื้อ เพื่อให้แคลเซียมซัลเฟต (CaSO4)  ตกผลึกออกมาเป็นผลพลอยได้   ส่วนน้ำทะเลที่เหลือปล่อยให้ระเหยไป จนมีความถ่วงจำเพาะ  1.2 แล้วจึงระบายน้ำทะเลนั้นเข้าสู่นาปลง  2  วัน   NaCl  เริ่มตกตะกอน  และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันน้ำทะเลที่เหลือ จะมีความเข้มข้นของ  Mg2+  Cl- และ  SO42-  ไอออนเพิ่มขึ้นจึงต้องระบายน้ำจากนาเชื้อเพิ่มอีก  เพื่อป้องกันมิให้  MgCl2  และ  MgSO4  ตกผลึกปนกับ  NaCl  ออกมาด้วย ซึ่งจะทำให้เกลือที่ได้มีสิ่งเจือปน คุณภาพไม่ดี
 โดยปกติจะปล่อยให้ NaCl ตกผลึกประมาณ  9  - 10 วัน  จึงขูดเกลือออกขณะที่มีน้ำทะเลขังอยู่  เกลือที่ได้นำไปตากแดด  1 -2 วัน  แล้วจึงเก็บเข้าฉางผลพลอยได้จากการทำนาเกลือ  คือ  กุ้ง  ปลา  และ  CaSO4

คุณภาพของเกลือโซเดียมคลอไรด์

 คุณภาพของเกลือ NaCl นี้ขึ้นอยู่กับสิ่งเจือปนที่มีอยู่ในเกลือนั้น ถ้าเกลือ NaCl มีเกลือแมกนีเซียมปนอยู่มาก เกลือจะชื้นง่าย ราคาตก ดังนั้น ถ้าต้องการเกลือที่มีคุณภาพดีควรเติมปูนขาว 0.4 - 0.5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ลงในนาเชื้อ เพื่อทำให้น้ำทะเลมีสมบัติเป็นเบส (pH ประมาณ 7.4 - 7.5 ) Mg2+ ไอออนจะตกตะกอนออกมาในรูปของ Mg(OH)2 ทิ้งไว้จนน้ำทะเลใสแล้วจึงไขน้ำนี้เข้าสู่นาปลง NaCl จะตกผลึกออกมาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งผลึกของเกลือโซเดียมคลอไรด์นี้จะค่อนข้างบริสุทธิ์ มีคุณภาพดี

การผลิตเกลือสินเธาว์
เกลือสินเธาว์ผลิตได้จากแหล่งแร่ เกลือหิน (Rock Salt) พบอยู่ตามพื้นดินแถบภาคอีสาน เช่น จังหวัดชัยภูมิ มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี และอุดรธานี
การผลิตเกลือสินเธาว์จากเกลือหินโดยทั่วไปใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ ใช้การละลาย การกรอง การระเหย และการตกผลึก หรือการละลายและการตกผลึก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของเกลือที่เกิดขึ้นในแหล่งนั้น ๆ
การผลิตเกลือสินเธาว์จะแตกต่างกันออกไปตามแหล่งที่มา และลักษณะการเกิดของเกลือ  ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้
1.  เกลือจากผิวดิน 
จะใช้วิธีขุดคราบเกลือตามผิวดินมาละลายน้ำ  กรองเศษตะกอนออก  แล้วนำน้ำเกลือไปเคี้ยวให้แห้ง  จะได้ตะกอนเกลือตกผลึกออกมา  นิยมทำเกลือชนิดนี้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ได้แก่  จังหวัดนคราชสีมา  ชัยภูมิ  มหาสารคาม  อุดรธานี  สกลนคร  และร้อยเอ็ด
2.  เกลือจากน้ำเกลือบาดาล 
เกลือที่ได้จากแหล่งนี้จะทำกันมากที่จังหวัดมหาสารคาม  นครราชสีมา  อุดรธานี  อุบลราชธานี  ร้อยเอ็ด  สกลนคร  ชัยภูมิ  และหนองคาย  เกลือบาดาลมีอยู่ในระดับตื้น  5 - 10 เมตร  หรือระดับลึก  30 เมตร

วิธีการผลิตเกลือ ใช้วิธีการขุดหรือเจาะลงไปใต้ดินและสูบน้ำเกลือขึ้นมา ต้มน้ำเกลือในกระทะเหล็กใบใหญ่ โดยใช้ฟืนหรือลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง จนน้ำเกลือแห้ง จะได้เกลือตกผลึกออกมา การผลิตเกลือนี้นอกจากจะต้มแล้ว อาจจะใช้วิธีการตาก ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในด้านเชื้อเพลิง เพราะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยการสูบเกลือจากบ่อน้ำบาดาลมาใส่ไว้ในนาตาก ซึ่งทำเป็นลานดินหรือลานซีเมนต์ แล้วทำให้น้ำระเหยออกไป จะได้เกลือตกผลึกออกมา เรียกวิธีนี้ว่า การทำนาตาก
3. เกลือจากชั้นเกลือหิน

http://vnomdeskflookger.wixsite.com/forfunchemistrybyskt/single-post/2015/08/03/เกลือแกงหรือโซเดียมคลอไรด์