<< Go Back

           พลังงานก่อกัมมันต์ (พลังงานกระตุ้น = Activation energy) ย่อว่า Ea คือ พลังงานจำนวนน้อยที่สุดที่เกิดจากการชนของอนุภาคของสารตั้งต้น แล้วทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี ใช้หน่วยเป็น kJ/mol หรือ kcal/mol

ลักษณะสำคัญของพลังงานก่อกัมมันต์
           1. ปฏิกิริยาเคมีที่ต่างชนิดกัน พลังงานก่อกัมมันต์ต่างกัน
           2. ปฏิกิริยาที่มีพลังงานก่อกัมมันต์ต่ำ ปฏิกิริยาจะเกิดง่ายหรือเร็วกว่าปฏิกิริยาที่มีพลังงานก่อกัมมันต์สูง
           3. พลังงานก่อกัมมันต์ไม่เกี่ยวข้องกับอัตราการเกิดปฏิกิริยา คือ ปฏิกิริยาที่มีพลังงานก่อกัมมันต์ต่ำ ปฏิกิริยานั้นอาจ จะมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเร็วหรือสูงก็ได้
           4. พลังงานก่อกัมมันต์ไม่เกี่ยวข้องกับพลังงานของปฏิกิริยา
           พลังงานก่อกัมมันต์ (Ea) พลังงานก่อกัมมันต์เป็นค่าที่ ได้จากการทดลอง หมายถึงค่าพลังงานจานวนน้อยที่สุดที่ได้จาก การชนกันแล้วทำให้เกิดปฏิกิริยา เปรียบเทียบกับกบข้ามกาแพง เมื่อความสูงของกาแพงคือพลังงานก่อกัมมันต์แล้ว กบที่มี พลังงานในการกระโดดอย่างน้อยที่สุดเท่ากับความสูงของกำแพง (พลังงานก่อกัมมันต์) จึงจะสามารถข้ามกำแพงนัน้ ไปได้

http://kruwee.files.wordpress.com/2011/01/

          ในการพิจารณาการเกิดปฏิกิริยาจะ เกิดขึน้ มากหรือน้อยขึน้ อยู่กับจำนวนอนุภาค ที่มีพลังงานสูงพอและค่าพลังงานก่อกัมมันต์ กล่าวคือ เมื่อจำ นวนอนุภาคที่มีพลังงานสูง กว่าพลังงานก่อกัมมันต์มีมาก(จำนวนกบที่ มีพลังงานมาก)โอกาสในการเกิดปฏิกิริยาก็จะ มีมากขึน้ ด้วย(ข้ามกำแพงได้มาก) และเมื่อพลังงานก่อกัมมันต์ต่า (กาแพงเตยี้ๆ) ก็จะทำให้มีจำนวนอนุภาคที่มีพลังงานสูงกว่าพลังงานก่อกัมมันต์มีจำนวนเพิ่มขึ้น จึงมีโอกาสเกิดปฏิกิริยาได้มากขึ้นด้วย ดังนั้นการชนที่จะเกิดปฏิกิริยาได้นั้น ต้องเป็นการชนที่มีทิศทางเหมาะสมและมีพลังงานมากพอ (อย่างน้อยเท่ากับพลังงานก่อกัมมันต์)

http://kruwee.files.wordpress.com/2011/01/

 

 

         http://kruwee.files.wordpress.com/2011/01/

<< Go Back