Verb to do ทำหน้าที่ 2 แบบคือ
1. กริยาแท้ในประโยค
2. กริยาช่วย ประกอบด้วย
2.1 ประโยคคำถาม
2.2 ประโยคปฏิเสธ
2.3 ประโยคสั่งห้าม
กรณีที่ verb to do ทำหน้าที่เป็นกริยาแท้จะหมายถึง "ทำ" ซึ่งจะเปลี่ยนรูปไปตามประธาน เช่น
ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ (he, she,it) เราจะใช้ does ที่ต้องใช้ does เพราะกริยาช่อง 1 ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ verb ต้องเติม s หรือ es ค่ะ) ตัวอย่าง
She does her homework.
ถ้าประธานเป็นพหูพจน์ (I, You, We, They) เราจะใช้ do ตัวอย่าง
They do their homework. หรือ I do my homework.
กรณีที่ verb to do ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยจะไม่สามารถแปลความหมายของตัวมันได้ค่ะ เพื่อน ๆ จำแบบเข้าใจก็คือตัวมันทำหน้าที่เป็นแค่ผู้ช่วยไม่ใช่ตัวหลัก จึงไม่มีความหมายค่ะ แต่ก็ขาดมันไม่ได้เช่นกัน ลองมาดู ในรูปประโยคคำถาม เราจะขึ้นต้นประโยคด้วย verb to do ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามประธาน เช่น
ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ (He, She,It) Does he play football ?
ถ้าประธานเป็นพหูพจน์ (I, You, We, They) Do they play football ?
กรณีที่ verb to do ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย ในรูปประโยคปฏิเสธ เราจะใช้ do not หรือ does not ระหว่างประธานและกริยา เช่น
ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ He does not play football. หรือ He doesn' t play football.
ถ้าประธานเป็นพหูพจน์ They do not play football. หรือ They don' t play football.
กรณีที่ verb to do ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย ในรูปประโยคสั่งห้าม เราจะใช้ don' t ไว้หน้าประโยค
เช่น Don't smoke here.
*** ในบางครั้งจะมีเพื่อน ๆ บางคนสับสนว่าในกรณีที่ประธานเป็นเอกพจน์ ถ้าเราใช้ does เป็นกริยาช่วยแล้ว verb แท้ต้องเติม s อีกหรือไม่ คำตอบคือไม่ต้องแล้วนะค่ะ เพราะเรามี does เป็น verb ช่วยแล้ว verb แท้ไม่ต้องเปลี่ยนรูปอีกค่ะ
ลองมาดูตัวอย่างการใช้ verb to do กับประโยคคำถามที่มี do 2 ตัวในประโยคเดียวกันนะค่ะ
What do you do? มีความหมายเดียวกับ What is your job? ซึ่งแปลว่าคุณทำงานอะไร สำหรับคำว่า what do you do? ตัว do ตัวแรกเป็น verb ช่วยซึ่งจะผันไปตามประธาน ส่วน do ตัวที่สองคือ verb แท้ค่ะ เพื่อให้เห็นชัด ๆ จะยกตัวอย่างให้เห็นซ้อนกันอีกตัวอย่างค่ะ What do you eat? ซึ่งแปลว่า คุณกินอะไร เพื่อน ๆ จะเห็นว่า เรานำ eat มาแทน do ตัวที่สองได้ค่ะ แต่ do ตัวที่หนึ่งก็ยังเหมือนเดิมค่ะ
ลองมาดูวิธีการใช้ did กันบ้างค่ะ
did นั้นทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยเหมือน do, does แต่แตกต่างตรงที่ไม่ต้องผันตามประธาน เพราะไม่ว่าประธานจะเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ เราก็ใช้ did เหมือนกันค่ะ และเราจะใช้ did เมื่อตอนที่เราต้องการพูดถึงเรื่องที่ผ่านมาแล้ว เช่นอาจเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเช้า หรือเมื่อวาน เป็นต้นค่ะ ซึ่งมีด้วยกัน 2 รูปคือ 1. ประโยคคำถาม และ 2. ประโยคปฏิเสธ และเมื่อใช้ did ในประโยคแล้ว กริยาแท้ ก็ไม่ต้องเปลี่ยนรูปค่ะ มาดูตัวอย่างกันค่ะ
ประโยคคำถาม
Present tense: Does he play football ? ---> Past tense: Did he play football ?
Present tense: Do they play football ? ---> Past tense: Did they play football ?
Present tense: what do you do? ---> Past tense: What did you do?
Present tense: what do you eat? ---> Past tense: What did you eat?
ประโยคปฏิเสธ
Present tense: He does not play football. หรือ He doesn' t play football.
Past tense: He did not play football. หรือ He didn' t play football.
เทคนิคการจำ verb ช่วย
ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ (He, She, It) ใช้ is, does, has ให้สังเกตุว่า verb ช่วยทุกตัว มี s ต่อท้าย ที่เหลือก็เป็นประธานพหูพจน์, I และ You ค่ะ
https://sites.google.com/site/noodashare/kae-rm-ma/do-laea-does
|