<< Go Back

คำอธิบาย: C:\Users\NB\Desktop\asas.jpg

      Lipid ไขมัน ไขมันเป็นสารที่ให้พลังงานสูง เมื่อเทียบกับสารอาหารประเภทอื่น ที่มีปริมาณเท่า ๆ กัน ร่างกายสามารถสะสมไขมัน โดยไม่จำกัดปริมาณ นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรต หรือโปรตีนให้เป็นไขมันได้ด้วย  ดังนั้น  ถ้าเรากินอาหาร ที่ให้พลังงานเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ร่างกายจะสะสมอาหารส่วนเกินไว้ในรูปของไขมัน  เป็นเนื้อเยื่อไขมันอยู่ใต้ผิวหนัง และตามอวัยวะต่าง     ไขมัน หมายถึง สารประกอบหลายชนิด ซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ แต่ไม่ละลายน้ำ ไขมันในทางเคมี คือ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไตรเอสเทอร์ของกลีเซอรอลกับกรดไขมัน สถานะของไขมันที่อุณหภูมิห้อง มีทั้งของแข็ง และของเหลว ขึ้นอยู่กับโครงสร้าง และองค์ประกอบของไขมันนั้น แม้คำว่า "น้ำมัน", "ไขมัน" และ "ลิพิด" ล้วนถูกใช้หมายถึงไขมัน แต่โดยทั่วไป "น้ำมัน" ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง "ไขมัน" หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง "ลิพิด" หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลว และของแข็ง ตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์ หรือชีวเคมี
     ไขมันเป็นลิพิดชนิดหนึ่ง ซึ่งแยกแยะได้จากโครงสร้างทางเคมี และคุณสมบัติทางกายภาพ โมเลกุลไขมันสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตหลายชนิด โดยทำหน้าที่ทั้งเชิงโครงสร้าง และเมแทบอลิซึม ไขมัน เป็นส่วนสำคัญในอาหารของเฮเทอโรโทรปส่วนมาก (รวมทั้งมนุษย์) ในร่างกาย ไขมันหรือลิพิดถูกย่อยโดยเอนไซม์ชื่อ ไลเปส ซึ่งสร้างจากตับอ่อน
  กรดไขมัน 
      เป็นส่วนประกอบของไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย  มี  2  ประเภท  กรดไขมันอิ่มตัว และกรดไขมันไม่อิ่มตัว  กรดไขมันอิ่มตัวพบมากในไขมันสัตย์  ส่วนกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากในน้ำมันพืช  เช่น  น้ำมันถั่วเหลือง  น้ำมะพร้าว  น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย  เป็นต้นกรดไขมันบางชนิดจำเป็น สำหรับร่างกาย  เช่น  กรดไลโนเลอิก  ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้  และถ้าร่างกายไม่ได้รับกรดนี้อย่างเพียงพอ  จะทำให้ร่างกายไม่เจริญเทาที่ควร และมีอาการผิวหนังอักเสบ เกิดการหลุดออกของผิวหนังอย่างรุนแรง ติดเชื้อได้ง่าย และบาดแผลหายช้า ซึ่งจะเห็นผลอย่างรวดเร็วในเด็ก โดยปกติแล้วร่างกาย ควรจะได้รับกรดไขมันที่จำเป็นทุกๆ วัน วันละประมาณ 2 - 4 กรัม
หน้าที่ของไขมัน  
     หน้าที่ของไขมันในร่างกาย ไขมันทำหน้าที่สำคัญในร่างกายหลายอย่าง เช่น เป็นตัวพาวิตามินพวกที่ละลายในไขมันเช่น วิตามิน เอ ดี อี เค เข้าสู่ร่างกาย และยังเป็นแหล่งของกรดไขมัน จำเป็นที่สำคัญในการนำไปสร้างฮอร์โมน และสารประกอบสำคัญในร่างกาย นอกจากนั้นไขมันยังทำให้ผิวหนัง และเส้นผมแข็งแรง ช่วยรักษาอุณหภูมิในร่างกาย และช่วยส่งเสริมการทำงานของเซลล์ ให้ทำงานเป็นปกติ
ประโยชน์ของไขมัน

      * ให้พลังงานแก่ร่างกาย 
      * ช่วยการดูดซึม วิตามิน A,D,E,K
      * เป็นส่วนประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย
      * ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อน ทำให้ผิวชุ่มชื่น ไม่แตกแห้ง
      * ให้กรดไขมันจำเป็นแก่ร่างกาย

       ไขมันในอาหาร และในร่างกายแบ่งเป็นหลายกลุ่ม ได้แก่ ไตรกลีเซอไรด์ (ไตรเอซิลกลีเซอรอล)ฟอสโฟไลพิด โคเลสเตอรอล กรดไขมัน วิตามินชนิดละลายในไขมัน และไอโคสะนอยด์ เป็นต้น ไขมันกลุ่มใหญ่ที่สุดที่พบในอาหารคือไตรกลีเซอไรด์โดยมีไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ในอาหารไขมัน องค์ประกอบหลักของไตรกลีเซอไรด์คือกรดไขมันซึ่งแบ่งได้เป็นสองชนิด ได้แก่ กรดไขมันอิ่มตัว และกรดไขมันไม่อิ่มตัว กรดไขมันไม่อิ่มตัวยังแบ่งออกเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง และกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง หรือกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ไขมันส่วนใหญ่ในร่างกายมีทั้งไตรกลีเซอไรด์ ฟอสโฟไลพิด และโคเลสเตอรอลในสัดส่วนต่าง ๆ กันขึ้นกับอวัยวะและเนื้อเยื่อ
หน้าที่ของไขมันมีดังต่อไปนี้

1. เป็นแหล่งของกรดไขมันจำเป็น ซึ่งร่างกายไม่สามารถสังเคราะหด้ได้แก่ กรดไลโนเลอิก  และกรดอัลฟ่าไลโนเลนิก  นอกจากนี้ในบางภาวะกรดไขมันไม่อิ่มตัว หลายตำแหน่งในกลมโอเมก้า 6 และโอเมก้า 3 หลายตัวเป็นกรดไขมันจำเป็นด้วย โดยทำหน้าที่สำคัญในการเป็นโครงสร้างของผนังเซลล์ และเป็น๒๊มเลกุลทำงาน
2. ไขมันบางชนิดทำหน้าที่สร้างสารสำคัญต่าง า เช่น กรดไขมันบางชนิดจากอาหาร เมื่อผ่านเข้าสูร่างกาย จะเป็นสารตั้งต้นสร้างสารสำคัญหลายชนิดในร่างกาย เซ่นโพรสตาแกลนดินโคเลสเตอรอล สเตอรอยด์ฮอร์โมน เป็นต้น
3. เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูง ดังนั้นจึงเป็นแหล่งสะสมพลังงานของร่างกาย ซึ่งอยู่ในรูปไตรกลีเชอไรด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อเยื่อไขมันบริเวณหน้าท้อง ไขมันมีความจุพลังงานสูงกว่าคาร์โบไฮเดรต และโปรตีนถึง 2 เท่า ไขมัน 1 กรัมให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี ในขณะทีคาร์โบไฮเดรต และโปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี เมื่อร่างกายต้องการพลังงาน ไขมันสวนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันกลุ่มไตรกลีเซอไรด์ จะถูกไฮโดรไลส์ให้กรดไขมันอิสระ และกรดไขมันอิสระนี้จะเข้าสู่กระบวนการเบต้าออกซิเดชันเพื่อเข้าส่กระบวนการสร้างพลังงานให้แกร่างกาย ต่อไป
4. เป็นแหล่งพลังงานให้กับกล้ามเนื้อ สำหรับการใช้กำลังงานเป็นระยะเวลานานๆ เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิก
5.เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ โดยไขมันกลุ่มฟอสโฟไลพิด เป็นส่วนประกอบหลักที่เป็นโครงสร้างของผนังเซลล์ นอกจากนี้ยังมีโคเลสเตอรอล ไกลโคโปรตีน และโปรตีนอื่น ๆ
6. ช่วยส่งผ่านกระแสประสาท ไขมันบางชนิดทำหน้าที่ช่วยส่งผ่านกระแสประสาท ตัวอย่างเช่น สฟิงโกซีน เซอราไมด์ ฯลฯ ที่ผิวเซลล์ประสาท ทำหน้าที่สำคัญในการส่งผ่านกระแสประสาท
7. เป็นฉนวนปกป้องอวัยวะต่าง ๆ ไขมันที่สะสมอยู่รอบอวัยวะ ทำหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือเป็นฉนวนป้องกันอวัยวะนั้น ๆ
8. เป็นฉนวนห่อหุ้มร่างกาย ไขมันช่วยเก็บรักษาความร้อน สร้างความอบอุนให้แก่ร่างกาย เชื่อกันว่าคนอ้วนมีไขมันมาก จะทนความหนาวได้ดีกว่าคนผอมซึ่งมีไขมันน้อย
9. เป็นสารหล่อลื่น ไขมันบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ทำหน้าที่คล้ายสารหล่อลื่นช่วยป้องกันการเสียดสี ตลอดจนลดแรงกระเเทกที่อาจเกิดขึ้นระหว่างข้อต่อ
10. การบริโภคไขมันทำให้อิ่มนาน เนื่องจากไขมันใซ้เวลาในการย่อย และดูดซึมมากกว่าอาหารกลุ่มอื่น จึงทำให้รู้สึกอิ่มนาน

 

 

1. http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/12/mainlip.html
2.http://www.vitamin.co.th/ShowVitaminArticle.asp?id=246&topic

<< Go Back