สังคม Social คือ การอยู่รวมกันของมนุษย์โดยมีลักษณะความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหลายรูปแบบ เช่น อาชีพ อายุ เพศ ศาสนา ฐานะ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ สำหรับระบบสังคมที่รวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นนอกเหนือจากมนุษย์อาจใช้คำว่าระบบนิเวศ ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆกับสภาพแวดล้อม สังคมของมนุษย์เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจร่วมกันไม่ว่าจะในด้านใด เช่น ประเทศ จังหวัด และอื่นๆ และมักจะมีวัฒนธรรมหรือประเพณีรวมถึงภาษา การละเล่นและอาหารการกินของตนเองในแต่ละสังคม การที่มนุษย์รวมกันเป็นสังคมนั้น ช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างและพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งอาจเป็นไปไม่ได้ถ้าต้องทำสิ่งนั้นโดยลำพัง ขณะเดียวกันสังคมที่พัฒนาหรือกำลังพัฒนาเป็นเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงานอย่างมากนั้น ก็อาจส่งผลให้ประชากรที่ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือความรู้สึกว่าตนเองไม่มีส่วนร่วมในสังคมขึ้นมาได้
- ค่านิยม (Social Value) - บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norm)
- สถานภาพ (Status) - บทบาท (Role)
- สถาบันทางสังคม (Social Organization) - การควบคุมทางสังคม (Social Control)
กลุ่มสังคมในสถาบันการเมืองการปกครอง ประกอบด้วยกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ กลุ่มสังคมที่มีการจัดระเบียบอย่างชัดแจ้ง ที่เรียกว่า องค์การ เช่น พรรคการเมือง กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น แต่ละองค์การประกอบด้วยตำแหน่งหรือสถานภาพทางสังคม เพื่อกระทำบทบาทและหน้าที่ตามสถานภาพนั้น
ภาพแสดงสังคมในปัจจุบัน
สังคม หรือ สังคมมนุษย์ คือการอยู่รวมกันของมนุษย์โดยมีลักษณะความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหลายรูปแบบ เช่น อาชีพ อายุ เพศ ศาสนา ฐานะ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ สำหรับระบบสังคมที่รวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นนอกเหนือจากมนุษย์อาจใช้คำว่าระบบนิเวศ ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆกับสภาพแวดล้อม สังคมของมนุษย์เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจร่วมกันไม่ว่าจะในด้านใด เช่น ประเทศ จังหวัด และอื่นๆ และมักจะมีวัฒนธรรมหรือประเพณีรวมถึงภาษา การละเล่นและอาหารการกินของตนเองในแต่ละสังคม การที่มนุษย์รวมกันเป็นสังคมนั้น ช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างและพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งอาจเป็นไปไม่ได้ถ้าต้องทำสิ่งนั้นโดยลำพัง ขณะเดียวกันสังคมที่พัฒนาหรือกำลังพัฒนาเป็นเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงานอย่างมากนั้น ก็อาจส่งผลให้ประชากรที่ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือความรู้สึกว่าตนเองไม่มีส่วนร่วมในสังคมขึ้นมาได้
ชุมชนเสมือน คือสังคมรูปแบบหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน โดยการใช้เครื่องมือสื่อสารเพื่อสร้างเครือข่ายสังคมที่ไม่มีข้อจำกัดทางภูมิประเทศ เขตแดน หรือระยะทาง เพื่อสร้างกลุ่มหรือสังคมที่มีความสนใจหรือมีเป้าหมายในเรื่องเดียวกัน ชุมชนเสมือนจริงมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ซึ่งเป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต โดยส่วนมากนิยมใช้บริการเครือข่ายสังคมซึ่งให้บริการฟรี
ความสำคัญของสังคม
มนุษย์จำเป็นต้องอยู่กันเป็นกลุ่ม มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การเป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์นั้นมิได้มีมาแต่
กำเนิด แต่เกิด จากการที่มนุษย์ได้เป็นสมาชิกของสังคม ทำให้มนุษย์เรียนรู้แบบแผนต่าง ๆ โดยเฉพาะัสังคม
มนุษย์คือ ครอบครัว ความรู้จากแบบแผนมนุษย์ รุ่นก่อนจากสภาพแวดล้อมครอบครัว จากสถาบันที่ตนได้สัมผัส
สิ่งเหล่านี้ ล้วนมีอิทธิพล และมีส่วนทำให้มนุษย์ที่สมบรูณ์สามารถยังชีพอยู่สังคมได้อย่างมั่นคง
ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์
สาเหตุที่มนุษย์ต้องการร่วมกันในสังคม มีดังนี้
1. เพื่อสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ธรรมชาติของมนุษย์นั้นต้องการหลายอย่าง แต่พื้นฐานจริงๆ
ก็คือปัจจัยสี่ ได่แ่ก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค นอกจากวัตถุนั้นแล้วมนุษย์ต้องการ
ความรัก ความอบอุ่นความเข้าใจ ความปลอดภัย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่พึ่งพาอาศัยกันและกัน
2. เพื่อเป็นที่ยอมรับของสังคม การเป็นที่ยอมรับทำให้มนุษย์เกิดความมั่นใจ ความภูมิใจ ความเข้าใจที่จะ
ทำกิจกรรม ให้กับสังคมทำให้เกิดความสุข แต่ถ้าไม่ยอมรับ ธรรมชาติของมนุษย์จะหลีกเลี่ยง จากสังคมนั้น
ทำให้เกิดทุกข์ ไม่ประสบความสำเร็จ ในชีวิตและไม่มีความสุขที่จะอยู่ในสังคมนั้นๆ
3. เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับตนเองและกลุ่ม มนุษย์จะรู้สึกว่ามีความปลอดภัยมีความเอื้ออาทรต่อกัน
เมื่อมีการทำกิจกรรมร่วมกันและเกิดความเต็มใจ ก็จะช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานมื่อผลงานนั้นเกิดความสำเร็จ
จะกลายเป็นความภาคภูมิใจ สังคมก็จะเจริญกว้าหน้า
หน้าที่ของสังคม
สังคมประกอบด้วยมนุษย์ทุกเพศทุกวัย มีความรับผิดชอบ อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกันดังนั้น หน้าที่ของคน
ในสังคมที่จะตามมามีดังนี้
1. ผลิตสมาชิกใหม่ ธำรงไว้ซึ่งหน้าที่ทางชีวะ คือ การให้กำเนิดลุกหลานเพื่อทดแทนสมาชิกใหม่
หน้าที่ของสถาบันทางสังคม
1. เพิ่มจำนวนสมาชิกให้สังคม ชดเชยสมาชิกที่ขาดไป เลี้ยงดูให้มีสุขภาพพลานามัยสมบรูณ์
2. ให้การศึกษา ความรู้ทางด้านวิชาการ มีความชำนาญด้านวิชาชีพ เพื่อการดำรงชีวิตให้สังคมอย่างสงบสุข
3. สนับสนุนความเป็นระเบียบเีรียบร้อย และความมั่นคงของสังคมให้เจริญก้าวหน้า
4. ผลิตสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ให้ประชากรมีการกินดีอยู่ดี
5. ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคนในสังคม ให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมบรูณ์
6. ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสาร สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน
7. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจได้เหมาะสมกับวัยเป็นการใช้
เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์ มีผลตต่อสุขภาพอนามัยที่ดี
ขอขอบคุณ :1.http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=48567a26dc224819
2.http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1
3.http://e-learning.e-tech.ac.th/learninghtml/s1301/unit01.html