แบบฝึกที่ 1 การช่วยเหลือคนจมน้ำด้วยการลาก
1. ให้นักเรียนฝึกการใช้มือจับตัวผู้ป่วย
เพื่อช่วยเหลือให้สามารถเคลื่อนตัวไปในน้ำได้อย่างปลอดภัย ผู้ลากจะใช้ท่ากบคว่ำและกบหงาย ช่วยในการเคลื่อนที่ วิธีการใช้แขนจับ
เริ่มจาก
ขั้นตอนที่
1 ผู้ป่วยและผู้ช่วยจะนอนหงายทั้งคู่ ผู้ช่วยเป็นผู้ลากผู้ป่วย
ด้วยการใช้มือทั้งสองจับที่บริเวณแก้มด้านข้าง ใต้ใบหู แขนเหยียดตรง
ยกให้หน้าผู้ป่วยพ้นระดับน้ำ แล้วลากด้วยท่ากบหงาย
ขั้นตอนที่ 2 ผู้ป่วยจะอยู่ด้านล่างนอนหงาย ผู้ช่วยจะอยู่ด้านบนนอนคว่ำ
ผู้ป่วยใช้มือทั้งสองข้างจับที่หัวไหล่ของผู้ช่วย แขนเหยียดตรง
เงยหน้าให้พ้นระดับน้ำ ไม่เกร็งลำตัว ผู้ช่วยจะลากผู้ป่วยไปข้างหน้า
ด้วยท่ากบคว่ำจนถึงฝั่ง
ขั้นตอนที่ 3 ผู้ป่วยจะอยู่ด้านบนนอนหงาย ไม่เกร็งลำตัว ผู้ช่วยจะอยู่ด้านข้างเอียงตัว ผู้ช่วยใช้มือข้างที่ถนัดแขนเหยียดตรงจับที่คางของผู้ป่วย ใช้มือดันคางผู้ป่วยให้หน้าพ้นระดับน้ำ ผู้ช่วยจะลากผู้ป่วยไปข้างหน้า
ด้วยท่าเอียงตัวจนถึงฝั่ง
2. ให้นักเรียนฝึกจนเกิดความชำนาญและสลับกันเป็นทั้งผู้ป่วยและผู้ช่วย
โดยการลากตามความกว้างของสระเป็นหลัก
แบบฝึกที่ 2 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
การช่วยหายใจหรือการฝายปอด
การผายปอดเดิมเป็นวิธีการกดไปที่ทรวงอกของผู้ป่วยแต่พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผลนัก
ในปัจจุบันนี้ใช้วิธีเป่าลมอัดเข้าปอดโดยผ่านทางปากหรือจมูกของผู้ป่วย
ซึ่งเป็นวิธีผายปอดที่ได้ผลดีมาก
การผายปอดโดยการเป่าลมอัดที่ปาก มีวิธีการเป็นลำดับดังนี้
1.
ทำให้หายใจโล่งก่อน
โดยการควักเอาเศษสิ่งของในคอและปากของผู้ป่วยออก
2.
เชยคางขึ้นแล้วกดศีรษะของผู้ป่วยลงให้คอแหงนเต็มที่
3.
มือหนึ่งจับปากให้อ้าออก
อีกมือหนึ่งบีบจมูก
4.
ผู้ฝายปอดสูดลมหายใจเข้าเต็มที่
อ้าปากให้กว้างเพื่อคอบปากผู้ป่วยให้สนิท
แล้วเป่าลมอัดเข้าทางปากผู้ป่วยให้เต็มที่
5.
ถ้าลมเข้าปากผู้ป่วย
จะเห็นทรวงอกขยายออก
6.
การเป่าลมใช้อัตรา 12-15
ครั้งต่อนาที
การนวดหัวใจ
เป็นการช่วยหัวใจสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย มีวิธีการดังนี้
1.
ผู้ป่วยจะนอนหงายบนพื้นแข็งเสมอ
ซึ่งใช้สำหรับช่วยผายปอดด้วย
2.
ทุบลงบนอกแรงๆ 1 ครั้ง
จากระดับกำปั้นสูงกว่าหน้าอกผู้ป่วยประมาณ 1 ศอก
3.
วางสันมือข้างหนึ่งลงตรงกลางหน้าอกเหนือลิ้นปี่
5 ซ.ม. (
4.
โน้มตัวให้แขนตั้งฉากกับหน้าอกผู้ป่วย
แล้วกดกระแทกลงไปให้อกยุบลง ไปประมาณ 5 ซ.ม.
สันมือจะแนบสนิทกับทรวงอกตลอดเวลาที่กดและคลายเป็นจังหวะนิ่มนวล
ไม่กระแทกกระทั้นหรือโยกคลึง ถ้านวดหัวใจได้ผลจะคลำชีพจรที่ลำคอได้ตามจังหวะการนวด
ถ้าคลำไม่แสดงว่าแรงกดกระแทกยังไม่พอต้องเพิ่มแรงอีกหรือกดไม่ถูกวิธีให้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งกดให้ถูกต้อง
5.
กดประมาณ 60 ครั้งต่อนาที
เมื่อพบว่าผู้ป่วยหมดสติและหยุดหายใจ จะต้องรีบช่วยเหลือดังนี้
1.
การปฏิบัติโดยคนเดียว
1.1
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงายบนพื้นที่แข็ง
และให้แหงนคอให้ศีรษะไปข้างหลัง แนวคางจะตั้งฉากกับพื้น
1.2
ผายปอดอย่างแรง
โดยการเป่าอัดลมเข้าไปอย่างเร็วและแรงทำติดต่อกัน 4 ครั้ง
1.3
คลำชีพจร
ดูการหายใจ
ก.
ถ้าแรงและดีก็จะจัดท่าให้นอนคะแครง
ข.
ถ้าเบาและช้าหรือไม่ดีก็ให้ผายปอด
นวดหัวใจต่อไป
1.4 การผายปอดนวดหัวใจ
โดยคนเดียว
1) เป่าลมอัดลมผายปอด 2 ครั้งต่อกัน
2) นวดหัวใจติดต่อกัน 15
ครั้งโดยนับจังหวะทิ้งช่วงหนึ่งจังหวะคือนับ หนึ่ง และสอง
และสาม......และสิบ
สิบเอ็ด สิบสอง .... สิบห้า
3) เป่าลมอัดผายปอด 2 ครั้งติดต่อกัน
และนวดหัวใจ 15 ครั้ง สลับกันไปเป็น 1 ชุด รอบ
การนวดหัวใจคือ
4 ชุด
4) เป่าลมส่งท้ายอีก 2 ครั้ง
แล้วตรวจดูชีพจรและการหายใจ ถ้าดีขึ้น หายใจเอง หัวใจเต้นได้ก็นอนตะแคง ถ้าไม่ดีขึ้น ก็ให้ผายปอด-นวดหัวใจ
รอบใหม่ ถ้าคนมา ช่วยอีกแรงก็ให้ปฏิบัติการนวดหัวใจแบบ 2 คน
2.
การปฏิบัติด้วยคน 2 คน
2.1
ผู้ที่กดนวดหัวใจจะกด
1 จังหวะเว้นจังหวะ โดยไม่มีการหยุดรอ
2.2
ผู้ที่ผายปอดจะเป่าอักลมเข้าปอดในจังหวะที่
5 เสมอ
2.3
เมื่อจะสลับหน้าที่กัน
คนนวดหัวใจจะเป็นผู้ให้สัญญาณ ตั้งแต่นับหนึ่งใหม่ เมื่อถึงจังหวะที่ 5
คนผายปอดจะอัดลมผายปอดแล้วมาทำหน้าที่นวดหัวใจทันทีโดยนับหนึ่งใหม่
เมื่อครบจังหวะที่ห้าผู้เปลี่ยนมาผายปอดก็เป่าอัดลมเข้าผายปอดต่อไป