<< Go Back
กติกาการแข่งขันกีฬาตะกร้อลอดห่วงสากล
(ฉบับแปล-เรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ)
1. สนามแข่งขัน (THE  COURT)
1.1 สนามเป็นพื้นราบ จะอยู่ในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ มีวงกลมรัศมี  4  เมตร ความกว้างของเส้นวงกลมมีขนาด  เซนติเมตร
1.2 สนามต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ วัดจากพื้นสนามขึ้นไปอย่างน้อยประมาณ  8  เมตร
1.3 มีห่วงชัยแขวนอยู่  ณ  จุดศูนย์กลางของวงกลมกลางสนาม โดยเชือกที่แขวนห่วงมีความยาวจากรอกอย่างน้อย 50  เซนติเมตร

2. ห่วงชัย (THE  OFFICIAL  HOOP)
                ห่วงชัย ประกอบด้วยวงกลม วง ขนาดเท่ากัน โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบภายใน 50  เซนติเมตร ห่วงดังกล่าวทำด้วยโลหะ ต้องผูกหรือบัดกรีเชื่อมต่อกันให้แน่นเป็นรูป เส้า (สามเหลี่ยม วงห่วงแต่ละห่วงตั้งตรงและหุ้มด้วยวัสดุที่มีความนุ่ม ซึ่งวัดโดยรอบไม่เกิน  10  เซนติเมตร โดยมีถุงตาข่ายทำหรือถักด้วยด้ายสีขาวผูกรอบห่วงทุกห่วง ขอบล่างของห่วงต้องสูงจากพื้นสนาม  4.75  เมตร สำหรับผู้ชาย และ  4.50  เมตร สำหรับผู้หญิง

3. ลูกตะกร้อ (THE  SEPAKTAKRAW  BALL)
 3.1 ลูกตะกร้อ ต้องมีลักษณะเป็นทรงกลม ทำด้วยหวายหรือใยสังเคราะห์ชั้นเดียว
          3.2 ลูกตะกร้อ ที่มิได้หุ้มด้วยยางสังเคราะห์ ต้องมีลักษณะดังนี้
                 3.2.1 มี 12 รู 
                 3.2.2 มี 20 จุดตัดไขว้
                3.2.3 มีเส้นรอบวงวัดได้ไม่น้อยกว่า 41-43 เซนติเมตร สำหรับผู้ชาย และ 42-44 เซนติเมตร สำหรับผู้หญิง
                3.2.4 มีน้ำหนักระหว่าง 170-180 กรัม สำหรับผู้ชาย และ 150-160 กรัม สำหรับผู้หญิง
          3.3 ลูกตะกร้อจะมีสีเดียวหรือหลายสีหรือสีสะท้อนแสงก็ได้ แต่ไม่เป็นสีที่กระทบต่อผลการเล่นของนักกีฬา
          3.4 ลูกตะกร้ออาจหุ้มด้วยยางสังเคราะห์หรือวัสดุผิวนุ่มที่มีความทนทาน เพื่อลดแรงกระทบต่อผู้เล่น ลักษณะของวัสดุและวิธีทำลูกตะกร้อหรือการเคลือบลูกตะกร้อด้วยยางดังกล่าว ต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์เซปักตะกร้อนานาชาติ ก่อนใช้ในการแข่งขัน
          3.5 การแข่งขันระดับโลก, ระดับนานาชาติ, ระดับภูมิภาคที่รับรองโดย สหพันธ์เซปักตะกร้อนานาชาติ  (ISTAF) รวมทั้งการแข่งขันที่มิได้ถูกจำกัดในกีฬา โอลิมปิคเกมส์, กีฬาเครือจักรภพ, เอเชี่ยนเกมส์ และซีเกมส์ ต้องใช้ลูกตะกร้อที่ได้รับการรับรองจาก สหพันเซปักตะกร้อนานาชาติ (ISTAF)

4. นักกีฬาหรือผู้เล่น (THE  PLAYERS)
  4.1 แต่ละทีมมีผู้เล่น 5 คน และผู้เล่นสำรอง 1 คน บัญชีรายชื่อผู้เล่นอย่างน้อย 5 คน ซึ่งต้องส่งรายชื่อให้คณะกรรมการจัดการแข่งขันก่อนกำหนดการแข่งขัน 30 นาที
  4.2 ในระหว่างการแข่งขัน สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้เพียง 1 คน  ในกรณีที่นักกีฬาบาดเจ็บหรือการเปลี่ยนตัวทางเทคนิค โดยผู้ที่เปลี่ยนตัวเข้าใหม่ จะถูกนับคะแนนต่อจากผู้ที่ถูกเปลี่ยนตัวออกไป
5. เครื่องแต่งกายผู้เล่น (THE  PLAYERS  ATTIRES)  
5.1 อุปกรณ์ที่ใช้ต้องเหมาะกับการเล่นกีฬาตะกร้อ อุปกรณ์ใดที่ออกแบบเพื่อเพิ่มหรือลดความเร็วของลูกตะกร้อ,  เพื่อเพิ่มความสูงหรือเพิ่มการเคลื่อนไหว  หรือด้วยวิธีที่เป็นการได้เปรียบหรืออาจเป็นอันตรายต่อตัวผู้เล่นเอง หรือผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม จะไม่อนุญาตให้ใช้
5.2 เพื่อป้องกันข้อโต้แย้งและความสับสน ทั้งสองทีมที่ทำการแข่งขันต้องสวมเสื้อสีต่างกัน
5.3 ทุกทีมต้องมีเสื้อสำหรับการแข่งขันอย่างน้อย  2  ชุด  และมีสีต่างกัน   โดยชุดหนึ่งเป็นสีอ่อนและอีกชุดหนึ่งเป็นสีเข้ม หากทั้งสองทีมสวมเสื้อสีเดียวกัน  ทีมเจ้าบ้านต้องเปลี่ยนสีเสื้อในการแข่งขัน  ในสนามกลางทีมที่มีชื่อแรกในโปรแกรมต้องเปลี่ยนสีเสื้อ
5.4 อุปกรณ์ของผู้เล่นประกอบด้วย เสื้อยืดคอปกหรือคอกลม กางเกงขาสั้น ถุงเท้าและรองเท้ากีฬาพื้นยางและไม่มีส้น อุปกรณ์และชุดแต่งกายถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายนักกีฬา  เสื้อต้องสวมอยู่ในกางเกงตลอดเวลา  ในกรณีอากาศหนาวอนุญาตให้ผู้เล่นสวมชุดวอร์ม
5.5 เสื้อที่สวมต้องมีหมายเลขกำกับทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  ผู้เล่นแต่ละคนต้องใช้หมายเลขประจำตลอดรายการแข่งขัน แต่ละทีมอนุญาตให้ใช้หมายเลข 1-15 ขนาดเบอร์ต้องสูงไม่น้อยกว่า 19 เซนติเมตร  สำหรับด้านหลัง  และสูงไม่น้อยกว่า10 เซนติเมตร สำหรับด้านหน้า (ตรงกลางหน้าอก)
5.6 หัวหน้าทีมของแต่ละทีมต้องสวมปลอกแขนที่มีสีต่างจากสีเสื้อไว้ที่แขนด้านซ้าย
 5.7 อุปกรณ์อื่นใดที่มิได้ระบุในกติกาการแข่งขันต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการเทคนิคของสหพันธ์เซปักตะกร้อนานาชาติ  ก่อน
6. การอบอุ่นร่างกาย (WARMING  UP)

6.1 อนุญาตให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ทีม และผู้เล่น  6  คนของทีมทำการอบอุ่นร่างกายเป็นเวลา  2  นาทีในสนามแข่งขัน
7. การแข่งขัน (PLAYING  THE  GAME)
     
7.1 พื้นที่สนามแข่งขัน คือพื้นที่ที่อยู่ภายในบริเวณป้ายโฆษณา (A – Boards)
     7.2 ห่วงชัยมีเจ้าหน้าที่ประจำทีมของแต่ละทีมเป็นผู้หย่อนลงและดึงขึ้น
    7.3 ผู้เล่นจะยืนกระจายอยู่โดยรอบนอกเส้นวงกลม ระหว่างการแข่งขันอนุญาตให้เปลี่ยนตำแหน่งยืนได้
    7.4 แต่ละทีมมีเวลาเล่น 30 นาที
    
7.5 เมื่อผู้ตัดสินให้สัญญาณเริ่มการแข่งขัน   ผู้เล่นต้องโยนลูกตะกร้อให้ผู้เล่นตรงกันข้าม  ในการรับลูกตะกร้อดังกล่าว ต้องส่งให้ผู้เล่นคนหนึ่งคนใด หลังจากนั้นจึงสามารถส่งลูกเข้าห่วงชัยด้วยท่าที่กำหนดในข้อ 9.2 เป็นลูกได้แต้ม
    
7.6 ขณะโยนลูกตะกร้อ ผู้เล่นทุกคนต้องยืนอยู่นอกวงกลม หลังจากนั้นจึงจะสามารถเคลื่อนไหวได้อิสระ
    7.7 ลูกที่ตกลงพื้นหรือเข้าห่วงถือเป็นลูกตาย
    7.8 ผู้เล่นที่ทำลูกตาย จะเป็นผู้โยนลูกเพื่อการเริ่มเล่นใหม่
    7.9 สามารถเปลี่ยนลูกตะกร้อใหม่ได้ กรณีที่ลูกตะกร้อไม่ได้อยู่ระหว่างการเล่น
    7.10 ระหว่างที่ลูกตะกร้ออยู่ในการเล่น  ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นใช้มือจับลูกตะกร้อ  จะอนุญาตให้ผู้เล่นใช้มือจับลูกตะกร้อเฉพาะกรณีที่ลูกตาย และต้องโยนลูกตะกร้อ
    7.11 การโยนลูกตะกร้อเพื่อการเริ่มเล่นใหม่ จะกระทำได้แต่การส่งผ่านลูกให้ได้คะแนนจะเกิดได้เมื่อห่วงชัยถูกชักขึ้นอยู่ในความสูงที่กำหนด
    7.12 กรณีที่ลูกตะกร้อกระดอนออกนอกสนามแข่งขันผู้เล่นในทีมอาจขอลูกใหม่จากกรรมการผู้ตัดสินประจำสนาม
    7.13 กรณีต่อไปนี้ถือเป็นลูกตาย และให้โยนใหม่
8. ผิดกติกา (FAULT)
       8.1 ลูกตะกร้อถูกมือของผู้เล่น
       8.2 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดเล่นลูกเกิน 3 ครั้งติดต่อกัน
       8.3 ผู้เล่นเจตนาใช้มือจับลูกตะกร้อในระหว่างการแข่งขัน
9. การให้คะแนน (SCORING)
    
9.1 ผู้เล่นจะได้คะแนน 10 คะแนน  ที่สามารถทำให้ลูกตะกร้อเข้าห่วงชัยไม่ว่าจะเป็นท่าใดก็ตาม ที่กำหนดไว้โดยไม่คำนึงถึงความยากของแต่ละท่า ยกเว้น
           9.1.1 ใช้ท่าเดิมซ้ำกันเกิน 3 ครั้ง
          
9.1.2 ใช้ท่าต่างจากที่กำหนดไว้ในข้อ 9.2
           9.1.3 ทำได้จากการส่งผ่านครั้งแรก หลังจากรับลูกโยน
           9.1.4 ลูกตะกร้อกระดอนออกจากห่วง
           9.1.5 ทำลูกตะกร้อเข้าห่วงภายหลังสัญญาณหมดเวลา
     9.2 ลำดับความยากของท่าต่าง ๆ ในการแข่งขัน
           9.2.1 ลูกศีรษะ (ลูกโหม่ง)
           9.2.2 ลูกข้างเท้าด้านใน (ลูกแป)
           9.2.3 ลูกไหล่
           9.2.4 ลูกเข่า
           9.2.5 ลูกข้างเท้าด้านนอก (ลูกข้าง)
           9.2.6 ลูกกระโดดไขว้
           9.2.7 ลูกเตะด้านหลัง (โค้งหลัง)
           9.2.8 ลูกเตะด้านหน้า (หลังเท้า)
     9.3 ทีมที่ทำคะแนนรวมได้สูงสุดเป็นผู้ชนะ
    9.4 กรณีที่คะแนนรวมเท่ากัน ตัดสินแพ้ชนะโดยการเล่นไทเบรก กรรมการผู้ตัดสินจะเป็นผู้เสี่ยงโยนเหรียญ หรือแผ่นกลม ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะเป็นผู้เริ่มเล่นก่อน แต่ละทีมจะได้เวลาเล่นทีมละ 5 นาที โดยใช้กติกาเดิมที่กำหนดไว้ และต้องทำแต้มให้ได้สูงสุด หากยังได้คะแนนเท่ากันอีกก็ให้เล่นไทเบรกต่อไปจนกว่าจะได้ผู้ชน
10. เจ้าหน้าที่จัดการแข่งขัน (OFFICIALS)
10.1 .ในการแข่งขันระดับนานาชาติ ต้องมีเจ้าหน้าที่ดังนี้
             I) กรรมการผู้ชี้ขาด 1 คน
             II) ผู้ตัดสิน 4 คน
              -  ผู้ตัดสิน
              -  ผู้ควบคุมคะแนน
             -  ผู้กำกับคะแนน
             -  ผู้รักษาเวลา
11. กรรมการผู้ตัดสิน (REFEREE)
          11.1 กรรมการตัดสินต้องอยู่ในสนามทั้งระหว่างการอบอุ่นร่างกายและระหว่างการแข่งขัน  
 ซึ่งจะต้องทำหน้าที่กำกับการแข่งขันให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่นและต้องรับผิดชอบดังนี้    
          11.2 ต้องตรวจดูผู้เล่นมิให้สวมใส่หรือใช้อุปกรณ์ที่จะเป็นอันตรายต่อการแข่งขัน
          11.3 จะต้องให้สัญญาณในการเริ่มอบอุ่นร่างกายและเวลาการอบอุ่นร่างกายตลอดจนเวลาเริ่มและสิ้นสุดการแข่งขัน
          11.4 ขานหรือแจ้งเมื่อมีการทำผิดกติกาในระหว่างการแข่งขัน
          11.5 ตรวจสอบว่าผู้ที่ทำลูกเสียจะต้องเป็นผู้เริ่มส่งลูกเริ่มเล่น
          11.6 เป็นผู้อนุญาตให้มีการพักทางเทคนิคกรณีที่มีการบาดเจ็บหรือเหตุอื่นใดในระหว่างการแข่งขัน
          11.7 เป็นผู้ให้บัตรเหลืองหรือแดงกรณีที่มีผู้เล่นกระทำผิดตามกติกาที่กำหนดในข้อ 16
          11.8 เมื่อเสร็จการแข่งขัน    กรรมการตัดสินจะยืนแถวตรงหน้าโต๊ะกรรมการเพื่อรับทราบคะแนนรวมจากกรรมการควบคุมคะแนน
          11.9 เพื่อตรวจสอบว่าการได้คะแนนนั้น ทำได้ขณะที่ห่วงอยู่ในระดับที่กำหนด
12. กรรมการคะแนน (SCOREKEEPER)
          12.1 กรรมการคะแนนจะต้องนั่งอยู่ข้างผู้ควบคุมคะแนนที่โต๊ะกรรมการผู้ตัดสิน
          12.2 ต้องทำหน้าที่บันทึกคะแนนในใบบันทึก และจำนวนครั้งในแต่ละท่าของผู้เล่นแต่ละคน
          12.3 ต้องคอยแจ้งผู้ควบคุมคะแนน ถึงจำนวนครั้งที่ผู้เล่นแต่ละคนสามารถเล่นได้คะแนนในแต่ละท่า
13. กรรมการรักษาเวลา (TIMEKEEPER)
          13.1 กรรมการรักษาเวลาต้องนั่งอยู่ข้างกรรมการกำกับคะแนนที่โต๊ะกรรมการ
          13.2 เป็นผู้ให้สัญญาณนกหวีดเวลาเริ่มและสิ้นสุดการอบอุ่นร่างกายและการแข่งขัน
          13.3 หยุดเวลาเมื่อกรรมการผู้ตัดสินให้สัญญาณเวลานอกทางเทคนิค
          13.4 เป็นผู้บันทึกคะแนนในเครื่องนับคะแนนอิเล็คโทรนิคตามการประกาศของกรรมการผู้ควบคุมคะแนน
          13.5 ต้องตรวจสอบว่าห่วงถูกชักถึงระดับความสูงที่กำหนด
14. กรรมการควบคุมคะแนน (SCORE CONTROLLER)
          14.1 ผู้ควบคุมคะแนนต้องนั่งอยู่ที่โต๊ะกรรมการ
          14.2 เมื่อผู้เล่นทำแต้มได้ ผู้ควบคุมคะแนนจะเป็นผู้ประกาศโดยเริ่มจากหมายเลขผู้เล่น จำนวนครั้งของท่าที่ทำได้ เช่น "หมายเลข 1" ท่ากระโดดไขว้ครั้งที่ 1 หรือ "หมายเลข 10" ท่าลูกข้างเท้าด้านในครั้งที่ 3
          14.3 เมื่อทำคะแนนได้แต่เกินจำนวนครั้งในท่าดังกล่าว ผู้ควบคุมคะแนนจะประกาศโดยเริ่มจากหมายเลขเสื้อของผู้เล่น จำนวนครั้งที่ทำได้และบอกว่า "ไม่มีคะแนน" เช่น "หมายเลข 2" ท่ากระโดดไขว้ ครั้งที่ 4 ไม่มีคะแนน
          14.4 ผู้เก็บลูกตะกร้อต้องอยู่นอกบริเวณสนามแข่งขัน เพื่อคอยเก็บลูกตะกร้อที่กระดอน หรือหลุดออกนอกบริเวณสนาม และต้องส่งลูกกลับไปยังโต๊ะกรรมการผู้ตัดสิน
          14.5 ผู้ชักรอกห่วง มีหน้าที่ชักและลดห่วงในระหว่างการแข่งขัน ซึ่งจะต้องอยู่ใกล้โต๊ะกรรมการผู้ตัดสินและใกล้กับกรรมการผู้รักษาเวลา ซึ่งต้องคอยดูว่าเชือกและเสาห่วงได้ถูกชักขึ้นไปได้ความสูงตามที่กำหนด
15. วินัย (DISCIPLINE)
          15.1 ผู้เล่นทุกคนต้องปฏิบัติตามกติกาการเล่น
          15.2 อนุญาตให้เฉพาะหัวหน้าทีม ที่จะติดต่อกับกรรมการผู้ตัดสินในระหว่างการแข่งขันทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับตำแหน่ง หรือเกี่ยวกับผู้เล่นในทีม หรือเพื่อขอคำอธิบายเกี่ยวกับคำตัดสินของคณะกรรมการในการแข่งขัน ซึ่งกรรมการผู้ตัดสินต้องชี้แจงหรืออธิบายต่อหัวหน้าทีม
          15.3 ผู้จัดการทีม, ผู้ฝึกสอน, นักกีฬา และเจ้าหน้าที่ประจำทีม จะไม่อนุญาตให้โต้เถียงคำตัดสินของกรรมการ หรือกระทำการที่เป็นการขัดขวางการดำเนินการแข่งขัน หากมีการฝ่าฝืนจะถือเป็นความผิดวินัยร้ายแรง
16. การลงโทษ (PENALTY)
          16.1 กรณีที่ผู้เล่นเจตนาใช้มือสัมผัสลูกตะกร้อในระหว่างที่ลูกตะกร้ออยู่ในการเล่นกรรมการผู้ตัดสินจะให้บัตรเหลืองเพื่อการทำโทษทันที หากผู้เล่นคนเดิมทำผิดซ้ำอีก กรรมการผู้ตัดสินจะให้บัตรแดงในการทำโทษ
          16.2 การให้บัตรแดงในการทำโทษ หมายถึง การเล่นในเกมดังกล่าวต้องยุติและไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัว คะแนนรวมสุดท้ายจนถึงเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นคะแนนที่ทำได้
          16.3 การทำผิดกติกาและผิดวินัยจะถูกลงโทษดังนี้ :- การลงโทษทางวินัย
          16.4 การตักเตือน ผู้เล่นจะถูกตักเตือนและให้บัตรเหลือง หากกระทำผิด
          16.5 ถูกให้ออก ผู้เล่นที่ถูกให้ออกจากการแข่งขันและได้รับบัตรแดงหากทำผิดกรณีหนึ่งกรณีใดใน 5 กรณี ดังนี้ :-
          16.6 ผู้เล่นที่กระทำผิด หรือประพฤติไม่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกสนามแข่งขัน โดยที่กระทำต่อฝ่ายตรงข้าม, เพื่อนร่วมทีม, กรรมการผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสิน หรือบุคคลอื่น ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับบัตรเหลือง จะได้รับโทษทางวินัย ดังนี้
17. การกระทำผิดทางวินัยของเจ้าหน้าที่ประจำทีม (MISCONDUCT OF TEAM OFFICIALS)
17.1 การลงโทษทางวินัยจะกระทำต่อเจ้าหน้าที่ประจำทีมในกรณีที่ประพฤติในสิ่งมิบังควร หรือรบกวนการแข่งขันไม่ว่าจะในสนามแข่งขัน หรือนอกสนามแข่งขัน
17.2 เจ้าหน้าที่ประจำทีมที่ประพฤติในสิ่งมิบังควรหรือรบกวนการแข่งขันจะถูกเชิญให้ออกจากสนามแข่งขันโดยเจ้าหน้าที่ที่จัดการแข่งขัน และกรรมการผู้ตัดสิน และจะถูกพักการปฏิบัติหน้าที่ประจำทีมจนกว่าคณะกรรมการวินัยจะได้พิจารณาตัดสินในกรณีดังกล่าว

P_0024

ลูกศีรษะ (ลูกโหม่ง)

P_0023

ลูกข้างเท้าด้านใน(ลูกแป)

P_0022

ลูกไหล่

P_0017

 ลูกเข่า

P_0021

ลูกข้างเท้าด้านนอก(ลูกข้าง)

P_0020

 ลูกกระโดดไขว้

P_0019

ลูกเตะด้านหลัง(โค้งหลัง)

P_0018

 ลูกเตะด้านหน้า(หลังเท้า)


http://www.takraw.or.th/th/regu/hoop_thai.htm


<< Go Back