<< Go Back

การละเล่นของภาค กลาง
ชื่อเพลง เหย่ย
จังหวัด กาญจนบุรี
วิธีการเล่น
ไม่จำกัดจำนวน ผู้เล่นยิ่งมากยิ่งสนุกสนาน โดยแบ่งผู้เล่นออกเป็นฝ่ายชายกับหญิงแต่ละฝ่ายจะมีผู้ร้องประกอบด้วยพ่อเพลง แม่เพลง ลูกคู่ และผู้รำ เมื่อเริ่มเล่นฝ่ายชายจะเป็นผู้เริ่มชวนฝ่ายหญิงให้เล่นเพลงเหย่ยกัน ฝ่ายหญิงรับคำชวนก็จะมายืนล้อมเป็นวงกับฝ่ายชาย แม่เพลงจะร้องโต้ตอบพ่อเพลงโดยมีลูกคู่รับทั้งสองฝ่าย เนื้อร้องส่วนใหญ่จะเป็นทำนองหยอกล้อ เกี้ยวพาราสี โดยมีเครื่องดนตรีประกอบได้แก่ กลองยาว รำมะนา ฉิ่ง กระบอกไม้ไผ่ ฯลฯ
โอกาสที่เล่น
นิยมเล่นในเทศกาลวันตรุษ สงกรานต์ งานนักขัตฤกษ์ งานมงคลต่างๆ และงานรื่นเริงของชาวบ้าน โดยเฉพาะในเขตอำเภอพนมทวน เช่น บ้านทวน บ้านห้วยสะพาน บ้านทุ่งสมอ บ้านหนองปลิง บางครั้งก็จะเป็นการเล่นประกอบการเล่นพื้นเมืองอื่นๆ เช่น การเล่นลูกช่วงรำ ลูกช่วงขี้ข้า หรือประกอบการเล่นเหยี่ยวเฉี่ยวลูกไก่
คุณค่า
เป็นที่นิยมของจังหวัดกาญจนบุรีและเป็นการอนุรักษ์มรดกด้านวัฒนธรรมของไทยในท้องถิ่นอีกด้วย สร้างความเพลิดเพลิน

การละเล่นของภาคใต้
ชื่อ การแข่งขันว่าวประเพณี
จังหวัด สตูล
อุปกรณ์และวิธีเล่น
ว่าวควายและว่าวชนิดต่างๆ การแข่งขันว่าวแบ่งเป็น ๓ ประเภท
1. ประเภทขึ้นสูงจะปล่อยว่าวให้ลอยขึ้นแล้วใช้เครื่องมือวัดการขึ้นสูงของว่าว
2. ประเภทเสียงดัง จะให้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสียงเป็นผู้ตัดสิน
3. ประเภทสวยงามมีกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การตัดสิน
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
เดิมการเล่นว่าวนิยมเล่นหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ต่อมากลายเป็นการแข่งขันที่มีผู้สนใจนิยมมาร่วมมากขึ้นจนกลายเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของสตูล
คุณค่า
ผู้ร่วมแข่งขันได้แสดงความสามารถในการประดิษฐ์ว่าและฝึกความอดทน การมีระเบียบวินัย และการแข่งขันยังให้ความบันเทิงแก่ผู้มาชม

การละเล่นของภาคเหนือ
ชื่อ ค่าวเพลงซอดาววีไก่น้อย
จังหวัดแพร่ 
วิธีการเล่น
เป็นบทร้อง คำประพันธ์ร้อยกรองภาคเหนือประเภทหนึ่ง ที่เล่าถึงตำนานดาวลูกไก่ ในการขับร้องค่าวเพลงซอนี้ จะมีลูกคู่รับบทตอนจบ แต่ละบท ว่า อื่อ... แล้วทวนวรรคสุดท้าย จึงนิยมเรียกว่าซอเพลงอื่อ
ทำนองเพลงซอนี้คล้ายทำนองเพลงซอพระลอ มีเนื้อร้องดังนี้
ก่อยฟังยังก่อนเต๊อะเจ้า ตามเก้าเหง้าค่าวนี้ออกจากในธรรม
ตี่เปิ้นกล่าวไว้ข้าเจ้าได้จื่อได้จำ ก่อนไก่ออกจากในธรรมเป๋นระบำเพลงอื่อ
โอกาส
นิยมนำมาขับร้อง ในงานชุมนุมหรืองานฉลองงานประเพณีหรืองานบุญต่างๆ หรือขับร้องเพื่อเป็นการสอนลูกหลาน
คุณค่า
ผู้ร่วมแข่งขันได้แสดงความสามารถในการประดิษฐ์ว่าและฝึกความอดทน การมีระเบียบวินัย และการแข่งขันยังให้ความบันเทิงแก่ผู้มาชม

การละเล่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อ เส็งกลอง
จังหวัด มุกดาหาร
อุปกรณ์การเล่น
กลองเส็ง เป็นคำนาม หมายถึง กลองที่นำมาแข่งขัน มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีหน้ากลอง ๑ ด้าน ทำด้วยหนังวัว ด้านล่างปล่อยกลวงทะลุตลอดตามยาว
วิธีการเล่น
เส็ง เป็นภาษาอีสานหมายถึง การแข่งขัน การประชันกัน "เส็งกลอง" เป็นคำกริยาหมายถึง การแข่งขันกลองหรือการแข่งขันการตีกลอง เส็งกลองเป็นการละเล่นของชาวอีสาน เริ่มขึ้นเมื่อไรนั้นไม่มีหลักฐานปรากฏ
การเส็งกลองมี ๒ ลักษณะ คือ การตีตั้งและตีนอน กลองที่จะนำมาตี ๑ ชุด ประกอบด้วย กลอง ๒ ใบ ผู้ตีกลอง ๑ คน จะใช้ไม้ตี ๒ อัน การตีชุดหนึ่ง ๆ จะใช้ผู้ตีหลายคนตีให้เกิดเสียงดังที่สุด กลองใบไหนเกิดเสียงดังที่สุดคนนั้นจะชนะ
โอกาสที่เล่น
ชาวอีสานนิยมเส็งกลองในงานประเพณีต่าง ๆ เช่น บุญผะเหวด บุญผ้าป่า บุญกฐิน หรืองานรื่นเริงอื่น ๆ
คุณค่า
ผู้เล่นได้รับความสนุกสนาน ได้ออกกำลังกายแสดงถึงความมีพละกำลังของผู้เล่น ได้แสดงออกถึงความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา เสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ เป็นการส่งเสริมความมั่นคงในสังคม
<< Go Back