ต่อมเหงื่อ (sweat gland)
เป็นต่อมมีท่อซึ่งพบได้ตามผิวหนัง ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ทำหน้าที่หลั่งเหงื่อ (sweat) ทำงานภายใต้ระบบประสาทซิมพาเทติกซึ่งจะหลั่งสารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า อะซิติลโคลีน (Acetylcholene) ออกมาควบคุม ต่อมเหงื่อ (Sweat glands) แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่
1. Eccrine sweat glands หมายถึง ต่อมเหงื่อทั่วๆ ไปที่พบตามร่างกาย
2. Apocrine Sweat Glands หมายถึง ต่อมเหงื่อชนิดหนึ่งที่พบในบางตำแหน่งของร่างกาย
Eccrine sweat glands
ต่อมเหงื่อชนิดนี้พบทั่วตามร่างกาย ได้แก่ ผิวหนัง ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ซึ่งจะผลิตเหงื่อที่มีลักษณะใสเหมือนน้ำ ไม่มีกลิ่น เพราะร่างกายจะขับเหงื่อชนิดนี้ออกมาเมื่อทำกิจกรรมหนักๆ หรืออยู่ในสภาวะอากาศร้อน
Apocrine Sweat Glands
ต่อมเหงื่อชนิดนี้กระจายตัวอยู่บางแห่งของร่างกาย เช่น รักแร้ ขาหนีบ ทวารหนัก หัวหน่าว ก้น แผ่นหลัง เหงื่อที่ได้จะมีลักษณะเหนียวใสและมีส่วนผสมของไขมันอยู่มาก จึงทำให้เหงื่อชนิดนี้มีกลิ่น ซึ่งกลิ่นเหล่านี้ทำหน้าที่ในการกระตุ้นอารมณ์เพศจึงเป็นคนละกลิ่นที่เกิดจากการหมักหมมของขี้ไคล ภาวะการหลั่งเหงื่อมาก สาเหตุของภาวะการหลั่งเหงื่อมาก อาจเกิดมาจากภาวะความผิดปกติในร่างกาย โดยเหงื่อออกมากผิดปกติ
- กรณีที่ทราบสาเหตุ (ภาวะหลั่งเหงื่อมากทุติยภูมิ ; secondary hyperhidrosis) เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ, สตรีในวัยใกล้หมดประจำเดือน
- กรณีที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่ชัดเจน (ภาวะหลั่งเหงื่อมากปฐมภูมิ ;primary hyperhidrosis) ซึ่งกลุ่มดังกล่าวผู้ป่วยมักมีอาการเหงื่อออกมากผิดปกติเฉพาะบางส่วนของร่างกาย ที่พบบ่อยคือบริเวณมือ, รักแร้, หรือเท้า
ภาวะการหลั่งเหงื่อมาก
ที่มา :
http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/entertainment_api/104527
http://www.vcharkarn.com/varticle/44427
http://www.cai.md.chula.ac.th/lesson/lesson4410/data/sweat.htm
http://th.wikipedia.org/wiki/ต่อมเหงื่อ
|