<< Go Back
  ประชาสังคม (Civil Society)
        ความหมาย มีนักคิดนักวิชาการให้ความหมายไว้มากพอที่จะสรุปได้ว่า "ประชาสังคม" น่าจะหมายถึง "การที่คนในสังคม ซึ่งมีจิตสำนึก (Civic Consciousness) ร่วมกัน มารวมตัวกันในลักษณะที่เป็น หุ้นส่วนกัน (Partnership) ในการกระทำบางอย่าง ทั้งนี้ด้วยความรักและความเอื้ออาทรต่อกัน ภายใต้ระบบการจัดการให้เกิดความรู้สึกร่วมกันเพื่อประโยชน์สาธารณะ
        ประชาสังคม จะก่อให้เกิด "อำนาจที่สาม" นอกเหนือจาก อำนาจรัฐ และอำนาจธุรกิจ อำนาจที่สามนี้อาจไม่ต้องการคนจำนวนมาก แต่เป็นกลุ่มเล็กน้อย กระจัดกระจายและอาจมีความเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายย่อย ๆ (Civic Network) การรวมตัวกันนั้น อาจไม่ต้องอยู่ใกล้ชิดกัน แต่สามารถสื่อสารกันได้เกิดเป็นองค์กรขึ้น (Civic Organization) ซึ่งอาจเป็นองค์กรทางการ (นิติบุคคล) หรือไม่เป็นทางการก็ได้
        การรวมตัวในลักษณะประชาสังคมจะก่อให้เกิดโครงสร้างสังคมแนวใหม่ที่มีความสัมพันธ์กันในแนวราบที่เท่าเทียมกัน ซึ่งหากประสานกับโครงสร้างที่มีความสัมพันธ์ในแนวดิ่งด้วยความสมานฉันท์แล้ว ก็จะทำให้สังคมทั้งสังคมมีความเข้มแข็งเหมือนผืนผ้าที่มีเส้นใยแนวตั้งและแนวนอน ถักทอกัน เป็นผืนผ้าที่มีความงามและแข็งแรง     การก่อตัวของแนวคิดประชาสังคม หากศึกษาการก่อตัวของแนวคิดประชาคมทั้งระดับโลก และในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่ากระแสประชาสังคมก่อตัวมาจากหลายเหตุปัจจัยด้วยกัน
   1. วิกฤตในสังคม ที่รัฐและทุนไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพังหรือเป็นวิกฤตระดับโลก (Global Crisis) เช่น วิกฤตสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน เอดส์ 
   2. การก่อกำเนิดของชนชั้นกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ่อค้า นักธุรกิจ นักวิชาการ ที่มีการศึกษาและมีฐานะทางเศรษฐกิจ
   3. พัฒนาการของกระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถแสดงออกทางความคิดเห็นได้โดยอิสระ
   4. ระบบการติดต่อสื่อสาร ซึ่งช่วยให้การรวมตัวเป็นไปได้สะดวกขึ้น โดยที่บางครั้งไม่จำเป็นต้องพบกัน
   5. ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพและความโปร่งใสทางภาครัฐ ทำให้รัฐไม่สามารถเป็น ผู้แก้ปัญหาในสังคมได้แต่เพียงอย่างเดียว จึงต้องการหาทางเลือกอย่างอื่น
     
http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0109501/Unit02/unit02_005.htm
<< Go Back