<< Go Back
       เอ็กซเรย์ คือ รังสี หรือ แสงชนิดหนึ่งที่เราไม่สามารถมองเห็น ได้ด้วยตาเปล่า เช่น เดียวกับแสงสว่างธรรมดา เอ็กซ์เรย์นี้มีลักษณะเป็นทั้งคลื่นและอนุภาค ของเแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีช่วงคลื่นสั้นมาก

       คุณสมบัติของเอ็กซเรย์ คล้ายคลึงกับแสงสว่างธรรมดา เป็นส่วนใหญ่ แต่คุณสมบัติพิเศษ ของมัน คือ มีอำนาจทะลุทะลวงผ่านวัตถุต่าง ๆ ได้มากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับความแน่นทึบและน้ำหนักอะตอมของวัตถุที่มันผ่านนอกจากนั้น ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางเคมีชีวะและอื่น ๆ อีกด้วย      

ลักษณะและคุณสมบัติของเอ็กซเรย์
   1. เป็นรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีช่วงคลื่นสั้นมาก คืออยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.04-1000 A หรือ อยู่ในช่วงระหว่างรังสีแกมม่า กับ รังสีอุลตร้าไวโอเล็ต    2. มีคุณสมบัติเหมือนแสงสว่างธรรมดา เป็นต้นว่า เดินทางเป็นเส้นตรง ถ้าเดินทางในสูญญากาศแล้ว เดินทางด้วยควาเร็วเท่ากับแสงคือ 186,000 ไมล์ต่อวินาที หรือ 3x1010 เซนติเมตร/วินาที นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการสะท้อนกลับ หักเห และ เบี่ยงเบนได้ เช่นเดียวกับแสงสว่างธรรมดา  
   3. ไม่หักเหโดยสนามแม่เหล็กหรือสนามไฟฟ้า 
   4. เกิดจาการที่อนุภาคอีเลคตรอนที่มีความเร็วสูงวิ่งไปชนเป้า (Target) อีเลคตรอนดังกล่าวนี้ จะไปชนอีเลคตรอนตัวอื่นๆ ที่อยู่ในวงโคจรของอะตอม ของเป้า ให้หลุดกระเด็น ออกนอกวงโคจร 
   5. ทำให้เกิดการเรืองแสง (Fluorescence และ Phosphorescence) ในสารพิเศษบางอย่าง  
   6.ดูดกลืน (Absorbed) โดยสสาร (Matter) ทุกชนิดมากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับความหนาแน่น และน้ำหนักของอะตอมของสสารนั้น
   7. ทำให้เกิดการปล่อยประจุไฟฟ้า (Ionization) เมื่อผ่านไปในอากาศหรือก๊าซ
   8.ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เช่น เมื่อเอ็กซเรย์ไปถูกฟิลม์ถ่ายรูป จะทำให้ฟิล์มนั้นดำ จึงนำผลอันนี้ มาใช้ในการบันทึกภาพรังสีลงบนแผ่น ฟิล์มเอ็กซเรย์   
   9.ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวะ เป็นต้นว่า ทำให้เซลล์ของร่างการเปลี่ยนแปลง หรือ เกิดการผ่าเหล่า (Genetic mutation) ถ้าได้รับรังสีเป็น จำนวนมาก และนานพอ 
   10.มีอำนาจในการทะลุทะลวง (Penetration) สูง สามารถทะลุผ่าน เนื้อหนังของมนุษย์ และ สัตว์ได้แต่ไม่สามารถทะลุผ่าน แผ่นตะกั่ว หรือคอนกรีต หนาๆ ได้

เอกซเรย์ธรรมดาต่างจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์อย่างไร
        เอกซเรย์ธรรมดา จะให้ภาพจากการตรวจเป็นภาพ 2 มิติ คือ กว้าง และยาว ไม่สามารถบอกความลึกของภาพได้ และจะให้ภาพเป็นภาพรวมของทั้งอวัยวะ ดังนั้นจึงเป็นข้อจำกัดของเอกซเรย์ธรรมดา 


เอกซเรย์ธรรมดา
http://www.samitivejhospital.com/medicalservice/sukhumvit/แผนกรังสีวินิจฉัย_140/th

       เมื่อเปรียบเทียบกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้เทคโนโลยีในการตรวจที่ซับ ซ้อนกว่าเอกซเรย์ธรรมดามาก โดยจะให้ภาพเป็น 3 มิติ และยังซอยภาพอวัยวะออกเป็นแผ่นบางๆได้หลายสิบแผ่น จึงช่วยให้แพทย์อ่านความผิดปกติของอวัยวะนั้นๆได้แม่นยำมากขึ้น


เอกซเรย์คอมพิวเตอร์
ที่มา : http://drrattawachir.blogspot.com/2013/08/blog-post.html

      

ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะสูงกว่าการเอกซเรย์ธรรมดาเป็นสิบ หรือหลายสิบเท่า และในการตรวจแต่ละครั้ง ผู้ป่วยจะได้รับปริมาณรังสีทั้งตัว (Whole body irradiation) สูงกว่าจากการตรวจด้วยเอกซเรย์ธรรมดา ดังนั้นโดยทั่วไป เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย แพทย์จึงมักตรวจด้วยเอกซเรย์ธรรมดาก่อน ต่อเมื่อเอกซเรย์ธรรมดาไม่สามารถให้การวินิจฉัยโรคได้ แพทย์จึงจะพิจารณาเลือกใช้การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
     
http://www.fudacancerthailand.com/index.php/x-ray
http://radiationthai.blogspot.com/2010/06/blog-post.html
http://haamor.com/th/เอกซเรย์/#article102

<< Go Back