<< Go Back

                ช่องทางสื่อ (media or channel) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร  หมายถึง  สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร  ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร   ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร    
การแบ่งประเภทของสื่อมีหลากหลายต่างกันออกไป  ดังนี้ 
(สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, 2542: 6 )

เกณฑ์การแบ่ง

ประเภทของสื่อ

ตัวอย่าง

 1.  แบ่งตามวิธีการเข้าและถอดรหัส

 สื่อวัจนะ (verbal) 
 สื่ออวัจนะ (nonverbal)

 คำพูด ตัวเลข 
 สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง 
 หนังสือพิมพ์ รูปภาพ

 2.  แบ่งตามประสาทการรับรู้

 สื่อที่รับรู้ด้วยการเห็น 
 สื่อที่รับรู้ด้วยการฟัง 
 สื่อที่รู้ด้วยการเห็นและการฟัง

 นิตยสาร 
 เทป วิทยุ 
 โทรทัศน์ ภาพยนตร์ 
 วีดิทัศน์

 3.  แบ่งตามระดับการสื่อสารหรือ
จำนวนผู้รับสาร

 สื่อระหว่างบุคคล 
 สื่อในกลุ่ม 
 สื่อสารมวลชน

 โทรศัพท์ จดหมาย 
 ไมโครโฟน 
 โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์

 4.  แบ่งตามยุคสมัย

 สื่อดั้งเดิม 
 สื่อร่วมสมัย 
 สื่ออนาคต

 เสียงกลอง ควันไฟ 
 โทรศัพท์ โทรทัศน์ เคเบิล 
 วีดิโอเทกซ์

 5.  แบ่งตามลักษณะของสื่อ

 สื่อธรรมชาติ 
 สื่อมนุษย์หรือสื่อบุคคล 
 สื่อสิ่งพิมพ์ 
 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 
 สื่อระคน

 อากาศ แสง เสียง 
 คนส่งของ ไปรษณีย์ โฆษก 
 หนังสือ นิตยสาร ใบปลิว 
 วิทยุ วีดิทัศน์ 
 ศิลาจารึก สื่อพื้นบ้าน 
 หนังสือ ใบข่อย 

 6.  แบ่งตามการใช้งาน

 สื่อสำหรับงานทั่วไป 
 สื่อเฉพาะกิจ

 จดหมายเวียน โทรศัพท์ 
 วารสาร จุดสาร วีดิทัศน์

 7.  แบ่งตามการมีส่วนร่วมของผู้รับสาร

 สื่อร้อน 
 สื่อเย็น

 การพูด 
 การอ่าน

 


http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter1-2.html

<< Go Back