<< Go Back

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
         สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นส่วนราชการระดับกรม ของประเทศไทย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสมประโยชน์


สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
Food and Drug Administration
ที่มาของภาพ : http://th.wikipedia.org/wiki/สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

อำนาจหน้าที่
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนี้
      1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร กฎหมายว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย
          กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์
          กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
      2. พัฒนาระบบและกลไก เพื่อให้มีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ
      3. เฝ้าระวังกำกับและตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สถานประกอบการ และการโฆษณา รวมทั้งผลอันไม่
          พึงประสงค์ของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนมีการติดตามหรือเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ จากภายใน
          ประเทศและภายนอกประเทศ
      4. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้
          มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
      5. ส่งเสริมและพัฒนาผู้บริโภคให้มีศักยภาพในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย และ
          คุ้มค่า รวมทั้งเพื่อให้ผู้บริโภคนั้นมีการร้องเรียน เพื่อปกป้องสิทธิของตนได้
      6. พัฒนาและส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน
          ประชาชน และเครือข่ายประชาคมสุขภาพ
      7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือตามที่
          กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย


ตัวอย่างสัญลักษณ์ที่ผ่านรับรองจากอย.
ที่มาของภาพ : http://th.wikipedia.org/wiki/สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

         จากอำนาจหน้าที่ที่กล่าวมาข้างต้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายจำนวน 8 ฉบับ และอนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ อีกจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
กฎหมาย
        1. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
        2. พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2518) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2522) ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2528)
            และฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2530)
        3. พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535
        4. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
        5. พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 3
           (พ.ศ. 2535) และฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543)
        6. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และแก้ไข้เพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2530) และ
            ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543)
        7. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2531
        8. พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543)
            อนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ
                 1. The Single Convention on Narcotic Drug 1961
                 2. The Convention on Psychotropic Substance 1971
                 3. The International Code of Marketing of Breast-milk Substitute 1981
                 4. The United Nation Convention Against Illicit Traffic in Narcotic Drugs and Psychotropic Substances 1988
หน่วยงานในสังกัด
        1. สำนักงานเลขานุการกรม
        2. สำนักอาหาร
        3. สำนักยา
        4. สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย
        5. กองควบคุมเครื่องมือแพทย์
        6. กองควบคุมวัตถุเสพติด
        7. สำนักด่านอาหารและยา
        8. กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค
        9. กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น
        10. กองแผนงานและวิชาการ
        11. กลุ่มกฎหมายอาหารและยา
        12. สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ
        13. ศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี
        14. ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ
        15. ศูนย์เผ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ


http://th.wikipedia.org/wiki/สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

<< Go Back