<< Go Back
       การเคลื่อนไหวร่างกาย หรือกิจกรรมทางกาย (Physical Activities) หมายถึงการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งถ้าได้กระทำสม่ำเสมอจะเป็นพฤติกรรมที่สร้างเสริมสุขภาพ และมีผลต่อการป้องกันโรคที่สำคัญต่อไปนี้คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดในสมองตีบ (ischemic stroke)โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ กระดูกหักง่ายอันเนื่องมาจากการหกล้มในผู้สูงอายุ และโรคอ้วน นอกจากนี้ยังลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคซึมเศร้าและวิตกกังวล กิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวร่างกายนี้ ไม่จำกัดเฉพาะการออกกำลังกายเท่านั้น แต่รวมถึงการเคลื่อนไหวในการดำเนินชีวิตประจำวันด้วยโดยการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 3 แบ่งกิจกรรมทางกายเป็น 3 ลักษณะด้วยกัน คือ
       - กิจกรรมทางกายที่เกี่ยวกับการทำงาน (work-related physical activity) โดยประเมินจากอิริยาบถส่วนใหญ่ที่ใช้ในการทำงาน เช่น ยืน นั่ง หรือ เดิน และประเภทของงานที่ทำ โดยดูจากลักษณะการออกแรงในการทำงาน ร่วมกับระยะเวลาที่ใช้ในการทำงาน (เป็นชั่วโมงและนาที) ต่อวัน และจำนวนวันต่อสัปดาห์ โดยพิจารณารวมทั้งงานที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
       - กิจกรรมทางกายที่เกี่ยวกับการเดินทางในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินทางไปทำงาน ไปซื้อของ ไปจ่ายตลาด ไปทำธุระต่างๆ โดยให้ความสำคัญกับการเดินทางที่ใช้การเดินหรือการขี่รถจักรยานเป็นเวลาตั้งแต่ 10 นาทีขึ้นไป ส่วนการเดินทางโดยวิธีอื่นๆ เช่น การขับรถยนต์ไป โดยสารยานพาหนะอื่นๆไป ไม่รวมอยู่ในกิจกรรมทางกายด้านนี้ โดยพิจารณาร่วมกับระยะเวลาที่ใช้เดินหรือขี่จักรยานไปในแต่ละวัน และเป็นจำนวนวันต่อสัปดาห์
       - กิจกรรมทางกายในเวลาว่างจากการทำงาน กิจกรรมเหล่านี้เป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย ในเวลาที่นอกเหนือเวลาทำงานและการเดินทาง เช่น การนอนดูโทรทัศน์ การนั่งๆนอนๆอ่านหนังสือ การทำสวน หรือการออกกำลังกายทั้งอย่างหนัก เช่น เต้นแอโรบิก การวิ่ง เล่นเทนนิส และการออกกำลังกายปานกลาง เช่น เดินเร็วๆ ว่ายน้ำ ฯลฯ
       จากการศึกษา วิเคราะห์เปรียบเทียบผลกระทบของกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรค และระดับของกิจกรรมทางกายที่พอเพียงต่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่ได้จากการทบทวนการศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยา โดยสามารถแบ่งระดับของกิจกรรมทางกายตามระดับความเสี่ยงได้ดังนี้คือ
จากการศึกษา วิเคราะห์เปรียบเทียบผลกระทบของกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรค และระดับของกิจกรรมทางกายที่พอเพียงต่อการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคที่ได้จากการทบทวนการศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยา โดยสามารถแบ่งระดับของกิจกรรมทางกายตามระดับความเสี่ยงได้ดังนี้คือ
ระดับที่ 1 มีการเคลื่อนไหวน้อย (inactive)
       หมายถึง กิจกรรมทางกายน้อยมากหรือไม่มีเลย ไม่ว่าจะเป็นเวลาทำงาน เดินทางหรือเวลาที่ว่างจากการทำงาน
ระดับที่ 2 มีการเคลื่อนไหวที่ไม่เพียงพอ (insufficiently active)
       หมายถึง กิจกรรมทางกายที่เนื่องมาจากการทำงาน การเดินทาง หรือกิจกรรมนอกเวลาทำงานที่เป็นการใช้กำลังกายระดับปานกลาง (Moderate physical activity) น้อยกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือการใช้กำลังกายอย่างหนัก (Vigorous physical activity) น้อยกว่า 60 นาทีต่อสัปดาห์
ระดับที่ 3 มีการเคลื่อนไหวร่างกายหรือกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ (sufficiently active)
       หมายถึง การใช้กำลังกายในระดับปานกลางเป็นเวลาอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือการใช้กำลังกายอย่างหนักเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 60 นาทีต่อสัปดาห์ซึ่งการใช้กำลังกายนี้รวมจากการทำงาน การเดินทาง และการใช้กำลังกายในเวลาพักผ่อนเข้าด้วยกัน
ลักษณะกิจกรรมทางกายที่ใช้กำลังในระดับต่างๆ
      - ใช้กำลังกายหรือออกแรงอย่างหนัก (vigorous physical activity)
           การทำงาน      : การยกของหนัก งานก่อสร้าง ขุดดิน ทำนา ทำสวน ทำไร่ ผ่าฟืน ตัดหญ้า โดยไม่ใช้เครื่องจักร
           ออกกำลังกาย : การยกของหนัก งานก่อสร้าง ขุดดิน ทำนา ทำสวน ทำไร่ ผ่าฟืน ตัดหญ้า โดยไม่ใช้เครื่องจักร
      - ใช้กำลังกายหรือออกแรงปานกลาง (moderate physical activity)
           การทำงาน     : เดินไปมาในที่ทำงาน ทำครัว ถูบ้าน ล้างรถ เช็ดกระจก ตัดหญ้าด้วยเครื่องตัดหญ้า
           ออกกำลังกาย : เดินไปทำงาน หรือขี่จักรยานไม่น้อยกว่า 10 นาที
           ออกกำลังกาย : เดินเร็วๆ ตีกอล์ฟ ตีเทนนิสคู่ ฝึกโยคะ ว่ายน้ำ เล่นโบว์ลิ่ง ขี่จักรยาน
      - ใช้กำลังกายน้อย (inactive)
           การทำงาน      : ในการทำงานมีอิริยาบถส่วนใหญ่คือ นั่งหรือยืน โดยมีการเดินน้อยกว่า10 นาทีในแต่ละครั้ง
           ออกกำลังกาย : ในการเดินทางต่างๆ จะไม่ได้เดินหรือขี่จักรยานไป
           ออกกำลังกาย : ในเวลาที่ว่างจากการทำงาน จะนั่งหรือนอนเล่น
         ผลการศึกษานี้ เป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานผล “การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2546-2547” ซึ่งดำเนินการสำรวจโดย สำนักงานการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัย ภายใต้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และได้รับงบประมาณสนับสนุนการสำรวจ จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข


http://www.hiso.or.th/hiso/brochure/b14_1.php?color=4&title=2&lesson=14
<< Go Back