<< Go Back
Osteoporosis โรคกระดูกพรุน
        โรคกระดูกพรุนหมายถึงภาวะที่กะดูกมีเนื้อกระดูกลดลง เนื่องจากแร่แคลเซี่ยมในกระดูกลดลง ทำให้กระดูกพรุนทำให้หลังโก่ง และกระดูกหักง่าย
        ปกติกระดูกของคนจะมีความแข็งเหมือนหิน หรือเหล็กเพื่อเป็นปกนหลังให้อวัยวะต่างๆยึดเกาะ กระดูกของคนประกอบไปด้วยโปรตีน collagen ซึ่งสร้างโยงเป็นใย โดยมีเกลือ calcium phosphate เป็นสารที่ทำให้กระดูกแข็งแรง และทนต่อแรงดึงรั้ง เกลือแคลเซี่ยมจะอยู่ในกระดูกร้อยละ 99 และอยู่ในเลือดร้อยละ 1
        ปกติกระดูกของคนจะมีการสร้าง และการสลายอยู่ตลอดเวลา ในเด็กจะมีการสร้างมากกว่าการสลาย ทำให้กระดูกของเด็กมีการเจริญเติบโต และแข็งแรง กระดูกจะใหญ่ขึ้นจนกระทั่งอายุ 30 ปี กระดูกจะเริ่มมีการสลายมากกว่าการสร้างทำให้เนื้อกระดูกเริ่มลดลง ในวัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีระดับลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อัตราการสลายของกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อกระดูกลดลงเกิดภาวะกระดูกพรุน
กระดูกพรุนจะเสี่ยงต่อกระดูกหักโดยเแพาะกระดูกสะโพก กระดูกพรุนมักจะเกิดในหญิงมากกว่าชายด้วยเหตุผล 2 ประการ
       - ความหนาแน่ของมาลกระดูกผู้ชายสูงกว่าผู้หญิง
       - เมื่อเข้าสู่วัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็วทำให้เนื้อกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว
กระดูกพรุนคืออะไร
         โรคกระดูกพรุนหมายถึงภาวะที่กระดูกสูญเสียเนื้อกระดูก และโครงสร้างของกระดูกผิดไป ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง เกิดการหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ เนื้อกระดูกจะมีรูพรุนเหมือนฟองน้ำผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าชาย และสามารถป้องกันได้
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน
         หมายถึงภาวะที่ทำให้เนื้อกระดูกลดลงเร็วกว่าปกติ บางคนมีหลายปัจจัยเสี่ยง แต่บางคนก็ไม่มีปัจจัยเสี่ยง
1. ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
      - เพศหญิงจะมีการเกิดกระดูกพรุนมากและเร็วกว่าผู้ชายเพราะผู้หญิงวัยทองขาด estrogen ทำให้เกิดการละลายของกระดูก
        มากกว่าปกติ การรับประทานแคลเซี่ยมเป็นประจำช่วยลดอุบัติการณ์ของกระดูกหัก
      - อายุมากเกิดกระดูกพรุนได้มากกว่าอายุน้อย
      - ขนาดของร่างกาย ผู้ที่ผอมและตัวเล็กจะมีกระดูกพรุนได้ง่าย
      - เชื้อชาติ
      - ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเรื่องกระดูกพรุนจะเกิดโรคได้ง่าย
2. ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้
      - ฮอร์โมนเพศไม่ว่าหญิงหรือชายหากมีฮอร์โมนต่ำก็เกิดกระดูกจางได้
      - เบื่ออาหาร
      - อาหารที่รับประทานมีแคลเซียมต่ำ
      - ใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น steroid หรือยากันชัก
      - ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
      - สูบบุหรี่
      - ดื่มสุรา


http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/rheumatoid/osteoporosis/osteoporosis.htm#.U8dEo_l_uTA
<< Go Back