<< Go Back

            "หมวกนิรภัย" หมายความว่า หมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตราย ในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์
            "หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า" หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็น รูปทรงกลมปิดด้านข้าง ด้านหลัง ขากรรไกร และคาง  ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุ โปร่งใสและไม่มีสี
            "หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ" หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปทรงกลมปิดด้านข้าง และด้านหลังเสมอแนวขากรรไกรและต้นคอด้านหลัง ด้านหน้าเปิดเหนือคิ้วลงมาตลอดถึงปลายคาง ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี
            "หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ" หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปครึ่งทรงกลมปิดด้านข้างและด้านหลังเสมอระดับหู ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี

ขอบเขตและการใช้งาน
            มาตรฐานนี้อธิบายถึงประเภทและระดับของหมวกนิรภัย การทดสอบและความต้องการด้านประสิทธิภาพของหมวก รวมถึงความต้องการด้านความปลอดภัยต่างๆ โดยความต้องการด้านประสิทธิภาพพื้นฐานจะถูกกำหนดด้วย การป้องกันจากการกระแทก การเจาะ และการกันไฟฟ้า ซึ่งเป็นเพียงการลดแรงเท่านั้น ไม่ใช่ให้สามารถกันได้อย่างสมบูรณ์จากการกระแทกอย่างรุนแรง หมวกนิรภัยควรจะสามารถทนได้ต่อการตกใส่ของเครื่องมือเล็กๆ น็อต สกรู ชิ้นส่วนของไม้ เป็นต้น

ประเภทของหมวกนิรภัย
            ตามมาตรฐาน ANSI Z89.1-2003 แบ่งหมวกนิรภัยออกได้ตามลักษณะของการกันกระแทก และการกันไฟฟ้าโดยทั่วไป  หมวกนิรภัยควรจะกันกระแทกได้ในแบบประเภท 1 หรือไม่ก็ประเภทที่ 2
            หมวกนิรภัย ประเภทที่ 1 หมวกนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบให้สามารถกันกระแทกจากด้านบน แต่ไม่ออกแบบสำหรับกันกระแทกจาก้านข้าง

            หมวกนิรภัย ประเภทที่ 2 หมวกนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบให้สามารถกันกระแทกได้ทั้งจากด้านบนและด้านข้าง


ที่มา : http://www.thai-safetywiki.com/index.php/safety-helmet
          หมวกนิรภัย ประเภทที่ E ตัว E ย่อมาจาก Electrical ดังนั้นหมวกนิรภัยประเภทนี้จึงออกแบบเพื่อให้สามารถกันไฟฟ้าได้ดี  โดยจะต้องผ่านทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 20,000 โวลต์
          หมวกนิรภัย ประเภทที่ G ตัว G ย่อมาจาก General หมวกนิรภัยประเภทนี้จะต้องผ่านทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 2,200 โวลต์
          หมวกนิรภัย ประเภทที่ C ตัว C ย่อมาจาก Conductive หมวกนิรภัยประเภทนี้ไม่กันไฟฟ้า และไม่มีการทดสอบการกันไฟฟ้า

<< Go Back