<< Go Back


www.chaiwbi.com

ชื่อทั่วไป : สารระเหย (Inhalant)
สารเคมีที่ออกฤทธิ์ :โทลูอีน , อาซีโทน ฯลฯ
ลักษณะทางกายภาพ :
         สารระเหยเกือบทุกชนิดเป็นของเหลว มีกลิ่นเฉพาะตัว หรือกลิ่นหอม ระเหยได้ดี มีความหนืดต่ำค่าแรงตึงผิวต่ำ บางตัวติดไฟ ได้ เช่น Toluene , Ethyl Acetate , Acetone และ Methyl Ethyl Ketone เป็นต้น ส่วนมากมักไม่มีสี ใส ไม่มีตะกอน ค่าความดันไอต่ำ ละลายในน้ำได้ไม่ดี แต่มีคุณสมบัติละลายได้ดีในไขมัน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 14 (พ.ศ.2538) กำหนดให้สารเคมีและผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ เป็นสารระเหย
1. สารเคมีมี 14 รายการ คือ

1. โทลูอีน (Toluene)

2. อาซีโทน (Acetone)

3. เมทิลเอทิลคีโทน (Methyl Ethyl Ketone)

4. ไอโซโปรปิลอาซีโทน (Isopropylacetone)

5. เอทิลอาซีเทต (Ethyl Acetate)

6. เซลโลโซล์ฟอาซีเทต (Cellosolve Acetate)

7. เมทิลอาซีเทต (Methyl Acetate)

8. นอร์มาลบิวทิลอาซีเทต (n-Butyl Acetate)

9. เซคันดารีบิวทิลอาซีเทต (sec- Butyl Acetate)

10. นอร์มาล-บิวทิลไนไตรท์ (n- Butyl Nitrite)

11. ไอโซ-บิวทิลไนไตรท์ (iso- Butyl Nitrite)

12. บิวทิลเซลโลโซล์ฟ (Butyl Cellosolve)

13. เซลโลโซล์ฟ (Cellosolve)

14. เมทิลเซลโลโซล์ฟ (Methyl Cellosolve)

2. ผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีสารเคมีที่เป็นสารระเหยผสมอยู่ มี 5 รายการ คือ

1. ทินเนอร์ (Thinners) 

2. แลคเกอร์ (Lacquers) 

3. กาวอินทรีย์สังเคราะห์ (Synthetic Organic Adhesives) ที่มียางนิโอปรีน หรือสารกลุ่ม ไวนิลเป็นตัวประสาน

4. กาวอินทรีย์ธรรมชาติ ( Natural Organic Adhesives) ที่มียางสนหรือชันสน ยางธรรมชาติหรือ สารเซลลูโลสเป็นตัว ประสาน

5. ลูกโป่งวิทยาศาสตร์หรือลูกโป่งพลาสติก (Blowing Balloon)

ประวัติความเป็นมา :
         สารระเหยคือสารที่ได้จากขบวนการผลิตน้ำมันปิโตรเลียม การเสพสารระเหย Hydrocarbon ในรูปของ อีเธอร์ (ether) ได้มีมานานแล้วในยุโรป อังกฤษ และอเมริกาเหนือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2343 (ค.ศ.1800) ส่วนการสูดดมกาวติดพลาสติกและน้ำยาล้างเล็บ เริ่มแพร่หลายมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 (ค.ศ.1960) ต่อมามีการผลิตน้ำยาพ่นฝอย (Aerosol Spray)ขึ้นมาใช้อย่างแพร่หลาย ที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ กาวหรือซีเมนต์ที่ใช้สำหรับติดเครื่องบินเด็กเล่น ในประเทศไทย เริ่มพบว่ามีการนำเอาทินเนอร์ไปสูดดมตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 เนื่องจากหาง่ายเพราะมีใช้กันอย่างแพร่หลายในทางอุตสาหกรรม และราคาถูกกว่า และสมัยก่อนยังไม่มีกฎหมายควบคุม ต่อมาในปี พ.ศ.2524 รัฐบาลตระหนักถึงปัญหา จึงได้ให้กระทรวงสาธารณสุขออกกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษมี บทบัญญัติว่า ผู้ใดเสพสารใดซึ่งอาจทำลายสุขภาพได้เข้าสู่ร่างกายจนเกิดอาการติดสารนั้น ให้ได้รับโทษ ต่อมาในปี พ.ศ.2533 จึงได้ประกาศใช้พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหยขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2533 สาระสำคัญเน้นหลักการใหญ่ 4 ประการคือ การควบคุม การป้องกัน การปราบปราม และการบำบัด

ประเภทของยา
         สารระเหยจัดเป็นยาเสพติดตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ.2533

การแพร่ระบาด :

         ในสภาวะการณ์ที่เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำเช่นทุกวันนี้ รวมทั้งการที่รัฐได้ดำเนินการปราบปราม ผู้ผลิตผู้ค้ายาเสพ ติดร้ายแรง อื่นๆ อย่างจริงจัง ทำให้ราคายาเสพติด เช่น เฮโรอีน และยาบ้ายังมีราคาแพง และหาซื้อได้ยากขึ้น “สารระเหย” ซึ่งเป็นสารเสพติด ที่หาได้ง่ายกว่า อาจกลับมาแพร่ระบาดรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง ปัจจุบันปัญหาสารระเหยยังคงมีความรุนแรงในระดับหนึ่ง โดยมีพื้นที่แพร่ระ บาดมาก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร ภาคใต้ และภาคเหนือ

การออกฤทธิ์ :
         ออกฤทธิ์ในการกระตุ้นและกดประสาทส่วนกลาง อาการที่มักจะเกิดขึ้นทันทีหลังเสพสารระเหย คือ ในระยะแรกจะทำ ให้มี ความรู้สึกเป็นสุข ร่าเริง ศรีษะเบา ตื่นเต้น ต่อมาจะมีอาการเหมือนคนเมาสุรา พูดจาอ้อแอ้ไม่ชัด ไม่รู้เวลาและสถานที่ ควบคุมตนเองไม่ได้ มีอาการระคายเคืองต่อเยื่อบุภายในปากและจมูก ทำให้น้ำลายไหลออกมา ตามีความไวต่อแสงมากขึ้น มีเสียงในหู กล้ามเนื้อทำ งานไม่ประสานกัน ในตอนแรกจะมีผลกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้นอนไม่หลับ ต่อมาจะมีฤทธิ์กด ทำให้ง่วงซึม หมดสติ ถ้าเสพในขนาดสูงสารระเหยจะไปกดศูนย์หายใจทำให้ตายได้ สารระเหยบางชนิด เช่น กลุ่ม Ketone ทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ โดยเฉพาะ ถ้าสูดดมในสภาวะตึงเครียดหรือเหน็ดเหนื่อยจากการออกกำลังกาย การสูดดมเป็นเวลาสั้นก็อาจถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ยังพบ อาการจาม ไอ คลื่นไส้ ท้องเดิน สั่น และชักแบบลมบ้าหมู

         สารระเหยพวกไฮโดรคาร์บอนออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สมองในระยะแรกๆ จะทำให้มีความรู้สึก ตื่นเต้น  ศรีษะเบา หลังจากนั้นจะทำให้มีอาการมึนเมาเหมือนกับเมาเหล้า  พูดจาอ้อแอ้ไม่ชัด  ไม่สามารถควบคุมตนเองได้  เพราะกล้าม เนื้อทำงานไม่ประสานกัน หลังจากเกิดอาการมึนเมาแล้วถ้ายังคงสูดดมต่อไปอีก 30- 45  นาที่ จะทำให้มีอาการง่วงนอน ซึมลง และหมดสติในทีสุด  บางรายอาจเกิดการชักขึ้นได้ คนที่สูดดมสารระเหยพวกไฮโดรคาร์บอนอยู่เป็นประจำ  จะไอและแอมบ่อยๆ เพราะสารพวกนี้ทำให้เกิดกระคายเคืองต่อเยื่อบุภายในจมูกและปาก  การสูดดมสารระเหยอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตได้  เพราะ สารนี้ ไปทำ ให้หัวใจเต้นผิดปกติ  หรือการตายเนื่องจากเกิดการขาดอ๊อกซิเจนก็อาจมีได้เช่นกัน

พิษของสารระเหย
         1. พิษเฉียบพลัน  การสูดดมสารระเหยเหล่านี้  จะทำให้เกิดความระคายเคืองต่อเซลล์เยื่อจมูกผิวหนังและทางเดินของลมหายใจ  ถึงขนาดทำให้เซลล์ตายได้นอกจากนั้นยังทำอันตรายต่อเซลล์ของหัวใจ ตับและไต  การสูดดมสาระเหยเหล่านี้จำนวนมากๆ อาจทำให้ หมดสติหรือชักได้สารระเหยบางตัวอาจจะไปกดการหายใจทำให้เสียชีวิตได้
         2. พิษจากการสูดดม  เป็นระยะเวลานาน  การสูดดมสารระเหย เหล่านี้เป็นระยะเวลานานจะทำให้ร่างกายเกิดความ ต้านทาน ต่อสารเหล่านี้  ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณการใช้ขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อใช้ไปนานๆ จะทำให้มีเลือดออกทางจมูก ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น เป็นแผลในจมูกและปาก ร่างกายอ่อนเพลียความจำเสื่อม เนื่องจากสารเหล่านี้มีฤทธิ์กดไขกระดูกจึงทำให้คนที่สูดดมเกิดเป็น โรคโลหิตจาง และ ยังมีพิษต่อปอดและตับด้วย
         3. อาการที่แสดงออกเมื่อหยุดเสพ การหยุดเสพจะทำให้อาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายบางคนจึงถือว่าสารเหล่านี้เป็นสารเสพติด อาการที่ปรากฏหลังจากหยุดเสพได้แก่มี อาการหนาวสั่น  ประสาทหลอน  ปวดศรีษะ  ปวดตามกล้ามเนื้อมีอาการทางจิต  คลุ้มคลั่ง  โมโหง่าย  อาจถึงขั้นทะเลาะเบาะแว้งกับผู้อื่นได้

ผลต่อร่างกาย
         1. ระบบทางเดินหายใจ มีอาการระคายเคืองหลอดลม เยื่อบุจมูกมีเลือดออก หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ

         2. ระบบทางเดินอาหาร มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร เนื้อตับถูกทำลาย

         3. ระบบทางเดินปัสสาวะ ไตอักเสบจนถึงพิการ ปัสสาวะเป็นเลือดเป็นหนอง

         4. ระบบหัวใจและหลอดเลือดหัวใจเต้นผิดปกติ

         5. ระบบสร้างโลหิต ไขกระดูก ซึ่งมีหน้าที่สร้างเม็ดโลหิตหยุดทำงานเกิดเม็ดโลหิตแดงต่ำ เกล็ดเลือดต่ำทำให้ซีด เลือดออกได้ง่าย ตลอดจนทำให้เลือดแข็งตัวช้าในขณะเกิดบาดแผล บางรายเกิดเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดขาว

การบำบัด :

         การเสพสารระเหยส่วนใหญ่ไม่เสพติดทางกายเมื่อหยุดใช้ ไม่มีมีอาการทางด้านร่างกายมากนักเมื่อเลิกเสพ แต่บางรายอาจมี อาการที่เกิดจาก การเสพสารระเหยเป็นระยะเวลานาน เช่น หลอดลมหรือปวดอักเสบ ความจำเสื่อม กล้ามเนื้อฝ่อลีบ เดินโซเซ สูญเสียการควบคุมอวัยวะต่างๆ เช่น มีอาการสั่นทั้งตัว มือสั่น เสียงสั่น หากมีอาการรุนแรงควรอยู่ในความดูแลของแพทย์เพื่อ ให้การบำบัดรักษาทางด้านร่างกาย

         แต่ปัญหาที่สำคัญของผู้ติดสารระเหย คือ ปัญหาการติดทางด้านจิตใจ ดังนั้นจึงต้องให้การบำบัดรักษาผู้ติดสารระเหยทางด้านจิตใจ โดยใช้วิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การให้คำปรึกษาและการทำจิตบำบัด เป็นต้น เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติด เข้าใจถึง ปัญหาของตนเองที่นำไปสู่การเสพยาเสพติด รวมทั้งการปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นได้แก่ การปรับสภาพแวดล้อมครอบครัวเพื่อ ให้สมาชิกในครอบครัวได้เข้าใจปัญหาและ ช่วยกันแก้ไขปัญหาร่วมกันเในการ ดูแลประคับประคอง ผู้ติดสารระเหย การสร้างความ มั่นคงทางจิตใจให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถดำรงชีวิตได้โดยไม่ต้องพึ่งพายาเสพติดอีกต่อไป

โทษทางกฎหมาย
         สารระเหยจัดเป็นยาเสพติดตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ.2533

ข้อหา อัตราโทษ
- ผู้ผลิตไม่จัดให้มีภาพ เครื่องหมาย หรือ ข้อความที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อที่บรรจุ สารระเหย เพื่อเป็นการเตือนให้ระวังการใช้ สารระเหยดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ ในกฎ กระทรวง (ม.12)
- จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.22) - ผู้นำเข้าก่อนนำออกขาย ไม่จัดให้มีภาพเครื่องหมาย หรือข้อความที่ภาชนะบรรจุหรือหีบ ห่อที่บรรจุสารระเหย เพื่อเป็นการเตือนให้ระวังการใช้สารระเหยดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ ในกฎกระทรวง (ม.13)
- ขายสารระเหยที่ไม่มีภาพ เครื่องหมาย หรือข้อความที่ผู้ผลิตหรือผู้ นำเข้าได้จัด ให้มีที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อที่บรรจุอยู่ครบถ้วน(ม.14)
- จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.22)
ขายสารระเหยแก่ผู้ที่มีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปี เว้นแต่เป็นการขาย โดยสถานศึกษาเพื่อ ใช้ในการเรียนการสอน (ม.15) จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.23)
ขาย จัดหาหรือให้สารระเหยแก่ผู้ซึ่งตนรู้หรือควรรู้ว่าเป็นผู้ติด สารระเหย (ม.16) - จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.24)
ใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจ (ม.17) - อายุเกิน 17 ปีขึ้นไป จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.24) และ/หรือ ส่งไปรับการบำบัดรักษา (ม.28) ถ้าหลบหนีจากสถานพยาบาล จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.29)
- จูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม หรือใช้อุบายหลอกลวงให้บุคคลอื่นเสพ(ม.18) - จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.24)
- ขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้า ที่ในการเข้าไปในสถานที่ผลิต สถานที่นำเข้า สถานที่ขาย และสถานที่เก็บสารระเหย เพื่อตรวจสอบและยึดสิ่งของ (ม.19) จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.25)

ที่มา - http://www.oocities.org/palanamai/inhalant.htm

<< Go Back