<< Go Back

          เฮโรอีน (Heroin or diacetylmorphine (INN)) เป็นสารกึ่งสังเคราะห์ของโอปิออยด์ มันเป็นอนุพันธ์ 3,6-ไดอะซิทิล ของ มอร์ฟีน (เรียกว่า ไดอะซิทิลมอร์ฟีน) ซึ่งเป็นสารที่ได้จากฝิ่น และถูกสังเคราะห์โดยการอะซิทิเลชัน (acetylation) ในรูปเกลือไฮโดรคลอไรด์ เป็นผลึกสีขาว ซึ่งเรียกว่า ไดอะซิทิลมอร์ฟีนไฮโดรคลอไรด์ เป็นสารเสพติดอย่างรุนแรงเมื่อเทียบกับสารประกอบเคมีตัวอื่น ๆ เฮโรอีนจัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดประเภท Schedules I และ IV ของ อนุสัญญาว่าด้วยยาเสพติด (Single Convention on Narcotic Drugs) ในสหรัฐอเมริกาถูกผลิตและขายอย่างผิดกฎหมาย แต่เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ในประเทศอังกฤษ เฮโรอีนมีชื่อเรียกกันในหมู่นักเสพดังนี้ dope junk smack และ H

ชื่อทั่วไป : เฮโรอีน (Heroin)
ชื่ออื่น ๆ : ผงขาว แค็ป ไอระเหย
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Diacetylmorphine
ลักษณะทางกายภาพ
          เฮโรอีนที่แพร่ระบาดในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
          1. เฮโรอีนบริสุทธิ์ หรือ เฮโรอีนเบอร์ 4 มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว ชนิดนี้จะมีเนื้อ เฮโรอีนสูงถึง 90-95% ไม่มีกลิ่น  รสขมจัด นิยมเรียกว่า ผงขาว มักบรรจุอยู่ในถุง ห่อกระดาษ พลาสติก หรือหลอด ส่วนใหญ่เสพโดยวิธีฉีดหรือสูบ
          2. เฮโรอีนผสม หรือ เฮโรอีนเบอร์ 3 มีลักษณะเป็นเกล็ด ไม่มีกลิ่น รสขมจัด ชนิดนี้จะมีเนื้อเฮโรอีน ประมาณ 5-20% และมีการผสมสารอย่างอื่นลงไป เช่น สารหนู สตริกนิน กรดประสานทอง น้ำกัญชาต้ม ยานอนหลับ และเจือสีต่างๆ เช่น สีม่วงอ่อน สีชมพูอ่อน จึงมีสีหลากหลายต่างกัน มักพบบรรจุอยู่ในซองพลาสติกหรือห่อกระดาษ นิยมเสพโดยวิธีสูดไอระเหย ดังนั้นจึงมีคนเรียกเฮโรอีนชนิดนี้ว่า ไอระเหย

ประวัติความเป็นมา
          เนื่องจากเฮโรอีนออกฤทธิ์ได้ไวและแรงกว่ามอร์ฟีนและฝิ่น วงการแพทย์จึงได้นำเฮโรอีนมาใช้เป็น ยาระงับอาการเจ็บปวด ของทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อปี ค.ศ.1898 (พ.ศ.2441) ต่อมาพบว่าเฮโรอีนทำให้เกิดการเสพติดและทำให้เกิดผล ข้างเคียง ที่เป็นโทษอย่างร้าย แรงจึงเลิกนำมาใช้ โดยสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายระบุให้เฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษ ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ใน ครอบครอง เมื่อปี ค.ศ.1924 (พ.ศ.2467) หลังจากนั้นต่อมาอีก 35 ปี คือ เมื่อปี พ.ศ. 2502 เฮโรอีนจึงได้แพร่ระบาดสู่ประเทศไทย และในปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยจึงออกกฎหมายระบุให้เฮโรอีนและมอร์ฟีนเป็นยาเสพติดให้โทษ

ประเภทของยา :
          จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 (ชนิดร้ายแรง) ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522

การแพร่ระบาด :
          ปัญหาการแพร่ระบาดเฮโรอีน ยังคงอยู่ในกลุ่มเก่า แต่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากสาเหตุหลักประการหนึ่ง คือ ราคาขายที่ลดลง จากข้อมูลสถิติผู้เข้ารับการบำบัดรักษา พบว่า ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการบำบัดรักษาเฮโรอีน เป็นผู้เสพรายเก่า ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20-29 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทั่วไปและว่างงาน

การออกฤทธิ์ :
          ออกฤทธิ์รุนแรงในทางกดประสาท ได้แก่ ศูนย์ประสาทส่วนการหายใจ สมองส่วนหน้า กดประสาทส่วนไขสันหลัง และออกฤทธิ์แสดงปฏิกิริยาต่อระบบประสาทส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่ายปัสสาวะ และระบบการ ไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย ผู้ที่ไม่เคยเสพเฮโรอีน เมื่อเสพเข้าไปจึงอาจติดได้ง่ายกว่าฝิ่นหรือมอร์ฟีน เพราะมีฤทธิ์เข้มข้นรุนแรง กว่ามากมาย ถ้าเสพเข้าไปมากเกินกำลังความต้านทานของร่างกายก็อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นถึงตายได้ ผู้เสพเฮโรอีนมักจะมีอาการปวด กล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดตามข้อ ปวดสันหลัง ปวดบั้นเอว และปวดหัวอย่างรุนแรง มีอาการจุกแน่นในอก คล้ายใจจะขาด อ่อนเพลีย อย่างหนัก หมดเรี่ยวแรง  ร้อนๆ อึดอัดทุรนทุราย  นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย บางรายมีอาหารชัก ตาตั้ง น้ำลายฟูมปาก ม่านตาดำหด เล็กลง ใจคอหงุดหงิด ฟุ้งซ่าน มึนงง หายใจไม่ออก ประสาทเสื่อม และความจำเสื่อม


ผลต่อร่างกาย :
          1. ต่อผิวหนัง เป็นอาการที่ทำให้เส้นเลือดใต้ผิวหนังเกิดการขยายตัว เกิดเป็นตุ่มเล็กๆขึ้นบริเวณผิวหนังและกระตุ้นสารฮิสตามีน (Histamine) และกระตุ้นต่อมเหงื่อด้วย อาการนี้พบเห็นได้หลังจากเสพเฮโรอีนใหม่ๆ จะมีอาหารคันใต้ผิวหนังจึงแสดงอาการเกา หรือลูบบริเวณใบหน้า ลำคอ นอกจากนี้ผู้เสพจะมีเหงื่อออกมากกว่าปกติและขนลุก

          2. ต่อลำไส้ ทำให้ลำไส้บิดตัวลงผู้เสพจึงมีอาการท้องผูก

          3.กดศูนย์การหายใจ ทำให้หายใจได้ช้ากว่าปกติ ถ้าใช้ในปริมาณมากจะทำให้หัวใจหยุดเต้นได้

          4. ทำลายฮอร์โมนเพศ ถ้าผู้เสพเป็นเพศหญิงจะทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ ถ้าผู้เสพเป็นเพศ ชายจะทำให้ฮอร์โมนเพศลดลง ไม่มีความรู้สึกต้องการทางเพศ

          5.ทำลายระบบภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย ผู้เสพจึงมีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่าย อาการที่พบเห็นภายนอกคือ ผิวหนังมีอาการ ติดเชื้อเป็นแผลพุพอง ติดเชื้อวัณโรค ติดเชื้อโรคตับอักเสบ นอกจากนี้ผู้เสพติดเฮโรอีนจะทำให้ติดโรคเอดส์ได้ง่ายกว่าปกติ เพราะผู้เสพ มัก ใช้เข็มฉีดยาที่ไม่ได้ทำความสะอาด หรือใช้เข็มฉีดยา ร่วมกันจนทำให้ติดเชื้อ HIV

อาการของผู้เสพติดเฮโรอีน
          เฮโรอีน  มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เป็นผลทำให้ระงับอาการปวดที่รุนแรงได้  ผู้เสพจะหายปวด  รู้สึกสบายมีอาการ เคลิบเคลิ้ม  เซื่องซึม ง่วงนอน  ไม่สนใจสิ่งต่างๆรอบข้าง

สำหรับผู้ที่เสพจนติด 

          ร่างกายจะทรุดโทรม ขอบตาคล้ำ ดวงตาเหม่อลอย  น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว สมองและประสาทเสื่อม ความคิดสับสน หากใช้ยา เกิดขนาด  ฤทธิ์ของเฮโรอีน  จะทำให้หัวใจหยุดทำงาน เกิดอาการ "ช็อค" ถึงตายได้ทันที ผู้ที่เสพติดยาเสพติดประเภทนี้ จะมีลักษณะที่สังเกตได้ชัด คือ ร่างกายซูบซีดผอมเหลือง นัยน์ตาเหลืองซีด ม่านตาหรี่ไม่กล้าสู้แสง (จึงมักสวมแว่นกันแดด) ริมฝีปากเขียวคล้ำ ง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา และส่วนใหญ่จะมีอาการเฉยเมยต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพการณ์ของตนเอง หลายคนกลายเป็นคนฟุ้งซ่าน เกียจคร้าน หรือมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง ถ้าสังเกตตามร่างกายอาจพบร่องรอยบางอย่าง เช่น จมูกแดง มีผงติดตามจมูก (ถ้าสูดเฮโรอีนผง) มีรอยเข็มด้านในท้องแขน (ถ้าฉีดเฮโรอีนเข้าเส้น) นอกจากนี้ยังมียาหรืออุปกรณ์การเสพ เช่น กล้องฝิ่น ก้อนฝิ่นดำ ผงสีขาวในถุงในแคปซูล ช้อนคีบ กระบอกและเข็มฉีดยา ฯลฯ ซุกซ่อนอยู่ตามที่ที่ปกปิดมิดชิด 

อาการขาดยา

  • อาการทุรนทุราย ทุกข์ทรมาน
  • กระวนกระวาย  ฟุ้งซ่าน
  • น้ำมูก น้ำตาไหล ขนลุก เหงื่อออก
  • ปวดท้อง และอาเจียน อย่างรุนแรง
  • เพ้อคลั่ง ขาดสติ
  • บางรายชัก และหมดสติ อาจเสียชีวิตได้

การบำบัด
          การเลิกเสพเฮโรอีนนั้นจะต้องทำภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพราะการเลิกเสพจะทำให้เกิดอาการ ถอนยา หรือขาดยา มีอาการตั้งแต่จาม เป็นตะคริว หนาวสั่น ใจสั่น อาเจียน ไปจนถึงชักหมดสติและอาจถึงตายได้หากไม่ได้รับการรักษา

          ปัจจุบัน ในหลายประเทศมีความพยายามที่จะศึกษาหาวิธีการควบคุมอาการถอนยา และทำให้ ความทรมานนั้นลดลง ไม่ว่าจะ เป็นวิธีการลดยาอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือการทดแทนด้วยยาที่มีอันตรายน้อยกว่า เช่น เมธาโดน หลังจากนั้นจึงค่อยๆ ถอนยาเหล่านี้ไป อย่างช้าๆ วิธีการรักษาแบบนี้จะช่วยให้ผู้เลิกยามีอาการถอนยาที่ไม่รุนแรง เช่น อาจมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่เท่านั้น แต่สิ่งที่ยากที่สุดคือ ทำอย่างไรจึงจะป้องกันไม่ให้ผู้ที่เพิ่งเลิกยาหันกลับไปเสพอีก

ขั้นตอนการบำบัดรักษาเฮโรอีนมี 4 ขั้นตอนดังนี้

          1. ขั้นเตรียมการ เป็นการเตรียมตัวผู้ติดยาเสพติดให้พร้อมที่จะเข้ารับการบำบัดรักษาให้เกิดความเชื่อมั่นและมี ความตั้งใจจริงที่จะ เลิกยา เสพติด นอกจากนี้ยังต้องเตรียมความพร้อมญาติพี่น้องและครอบครัว หรือผู้ใกล้ชิดให้เข้ามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ

          2. ขั้นถอนพิษยา ในขั้นตอนนี้ผู้ติดเฮโรอีนที่มีความตั้งใจที่จะเลิก โดยการหยุดเสพแล้วจะมีความอยากและความต้อง การยาเสพติด อยู่เหมือนเช่นเคย ดังนั้น การบำบัดรักษาจะเลือกใช้วิธีการใดขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ใช้ ปริมาณการใช้และความตั้งใจของผู้เสพ หากเสพในปริมาณมากและเป็นเวลานานหลายปี จะมีอาการถอนพิษยา (Withdrawal Symptoms) เช่น หาวนอน น้ำมูก น้ำตาไหล เหงื่อออกมาก มีอาการทุรนทุราย หงุดหงิด ปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง ท้องเดิน อาเจียน รายที่รุนแรงอาจถ่ายเป็นเลือดที่ชาวบ้าน เรียกว่า “ลงแดง” หรือมีอาการชักเกิดขึ้น เพราะอาการต่างๆ อาจรุนแรง ถึงชีวิตได้ แต่หากเริ่มเสพมาไม่นานนักและมีความตั้งใจที่จะเลิกจริงๆ วิธีที่ดีที่สุด คือ การหยุดใช้ยาเองหรือที่เรียกว่า “หักดิบ” พักผ่อนให้เต็มที่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย ให้ร่างกาย แข็งแรงก็จะสามารถถอนพิษยาออกจากร่างกายได้ในที่สุด โดยจะใช้เวลาไม่นานกว่า 15 วัน

          3. ขั้นฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นการปรับสภาพร่างกายและจิตใจของผู้เลิกยาเสพติดให้มีความเข้มแข็ง ปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมให้สามารถกลับสู่สังคมได้อย่างปกติ โดยการให้คำปรึกษา การฟื้นฟูสมรรถภาพแบบชุมชนบำบัด เป็นต้น ซึ่งผู้ติดยาเสพติดสามารถเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพได้ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติด ยาเสพติดที่มีอยู่ทั่วประเทศ

          4. ขั้นติดตามดูแลหลังรักษา เป็นการติดตามดูแลผู้เลิกยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดรักษา ทั้ง 3 ขั้นตอน เพื่อให้คำแนะนำปรึกษา ให้กำลังใจ ทั้งนี้เพื่อมิให้หวนกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำ

โทษทางกฎหมาย
          จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 (ชนิดร้ายแรง) ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522

ข้อหา
ยาเสพติดให้โทษประเภท 1
ผลิต นำเข้า ส่งออก
- จำคุกตลอดชีวิต (ม.65 ว.1)
- ถ้ากระทำเพื่อจำหน่าย ประหารชีวิต (ม.65 ว.2)
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป ถือว่ากระทำเพื่อจำหน่าย (ม.15)
จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม จำคุก 5 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 50,000 -500,000 บาท (ม.66 ว.1)
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม จำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต (ม.66 ว.2)
ครอบครอง
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม จำคุก 1-10 ปี และปรับ10,000-100,000 บาท (ม.67)
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (ม.15)
เสพ
- จำคุก 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับ 5,000– 100,000 บาท (ม.91)
ใช้อุบาย หลอกลวง ขู่เข็ญใช้กำลังประทุษร้ายฯให้ผู้อื่นเสพ
จำคุก 2-20 ปี และปรับ 20,000 -200,000 บาท และถ้าเป็นการกระทำต่อหญิงหรือบุคคลซึ่ง ยังไม่บรรลุนิติภาวะระวางโทษประหารชีวิต 
- ถ้ากระทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 4-30 ปี และปรับ 40,000-300,000 บาท
ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ
จำคุก 1-5 ปี และปรับ 10,000 – 50,000 บาท (ม.93 ทวิ)

ที่มา - http://www.oocities.org/palanamai/heroin.htm

<< Go Back