<< Go Back
             การเดินทางโดยเครื่องบิน ให้ความสะดวกรวดเร็วมาก จึงได้รับความนิยมจากประชาชนมากขึ้น แต่เมื่อมีเครื่องบิน บินได้รวดเร็ว มากขึ้น อุบัติเหตุก็อาจเกิดขึ้นได้มากเช่นเดียวกัน ซึ่งอันตรายที่เกิดขึ้น จะรุนแรกกว่าการเดินทางโดยทางบก หรือทางน้ำ ทั้งนี้เพราะการ เกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง จะทำให้เกิดความสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก หากเครื่องบินตกบนภูเขา หรือพื้นดิน อาจมีอันตราย มากกว่าตกลงพื้นน้ำ หรือทะเล เพราะในทะเล เครื่องบินมีโอกาสร่อนลงต่ำจนแตะผิวน้ำ เมื่อหมดความเร็วแล้ว เครื่องบินยังสามารถ ลอยลำอยู่ได้ชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งอาจปล่อยให้ผู้โดยสาร ออกไปจากเครื่องบินได้ทัน หรือทำให้รอดชีวิตหมดทุกคนได้ ากกรณีตัวอย่างเครื่อง บิน โบอิ้ง 767 ของสายการบินเลาดาร์แอร์ตก เมื่อกลางดึกวันที่ 26 พฤษภาคม 2534 ที่อำเภอด่านช่าง จังหวัดสุพรรณบุรี มีแนวโน้ม สาเหตุมาจาก ตัวช่วยชะลอความเร็วของเครื่องบิน (Thrust Reverser) เกิดทำงานกระทันหันขึ้นมา ที่เครื่องยนต์ไอพ่นด้านขวา ทำให้ เครื่อง บินถอยหลัง ขณะที่เครื่องยนต์ไอพ่นด้านซ้าย ทำงานปกติ คือ ทำให้เครื่องบินทะยานไปข้างหน้าเครื่องบินจึงเกิดแรงเหวี่ยง และ เสียการทรงตัว ซึ่งแรงเหวี่ยง อาจทำให้ปีกบิดเบี้ยว หรือแตกหัก จนน้ำมันเชื้อเพลิงบางส่วน ที่เก็บไว้ตรงปีกรั่วออกมา เมื่อกระทบ ไอร้อนจากไอพ่น จึงทำให้เกิดไฟลุกขึ้น ก่อนเครื่องบินตกมา จากอุบัติเหตุเครื่องบินตกครั้งนี้ ทำให้ทุกคนที่อยู่บนเครื่อง เสียชีวิตรวมทั้ง สิ้น 223 คน นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่อันดับที่ 12 ของโลกทีดียว กรณีตัวอย่างอีกกรณีหนึ่งก็คือ เครื่องบินแอร์บัสเอ-300 ของสายการ บินแห่งชาติปากีสถาน ประสบเหตุโหม่งโลก เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กันยายน 2535 จนทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งลำ จำนวน 167 ศพ ซึ่งคาดว่าสาเหตุเกิดจาก ความผิดพลาดของนักบิน และการขาดแคลนอุปกรณ์นำร่อง ในท่าอากาศยาน ตรีภูวันของเนปาล โดยที่นักบิน บังคับเครื่องบิน ต่ำกว่าเพดานบินปกติถึง 1,500 ฟุต ทำให้เครื่องวิ่งชนตีนเขา หิมาลัยอย่างจัง ในระดับความสูง 8,350 ฟุต ขณะห่างจาก เวลาร่อนลงจอดยังสนาม บินเพียงแค่ 6 นาที เท่านั้น จากสภาพการณ์นั้น เครื่องแอร์บัสควรบินในระดับเพดาน 9,000 ฟุต เนื่องจากภูเขา สองลูกที่ตั้งขนาน ข้างรันเวย์สนามบิน มีความสูงถึง 8,300 ฟุตและ 8,500 ฟุต ตามลำดับ นอกจากนั้น ระบบอุปกรณ์นำร่อง ของท่าอากาศ ยาน ก็ยังไม่มีระบบเรดาร์เตือนภัยสมบูรณ์แบบ ที่จะช่วยให้หอบังคับการบิน เตือนไปยังเครื่องบิน ที่กำลังบินออกนอกเส้นทาง หรือบิน ต่ำกว่าเพดานบินปกติได้ กรณีตัวอย่างเครื่องบินตก เกิดขึ้นเป็นประจำเสมอ ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งนำความเศร้าโศก สูญเสียชีวิต และทรัพย์สิน เป็นจำนวนไม่น้อยเลย ดังนั้น การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสาเหตุ และข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ในการโดยสาร เครื่องบินจึงมีความจำเป็น 
ลักษณะของอุบัติเหตุจาการเดินทางโดยทางอากาศ
       
1เครื่องบินตกเอง เนื่องจากเหตุขัดข้องของเครื่องยนต์ ถูกจี้หรือถูกมรสุม
        2. เครื่องบินชนกัน เครื่องบินอาจชนกันขณะขึ้นหรือลง หรือชนกันขณะบินอยู่ในอากาศ
        3. เครื่องบินชนภูเขา หอคอย สิ่งก่อสร้าง อาคารหรือสิ่งกีดขวางต่างๆ

 สาเหตุของอุบัติเหตุในการจราจรทางอากาศ

     อุบัติเหตุจาการเดินทางโดยทางอากาศ อาจเกิดจากสาเหตุที่สำคัญ คือ 
1. ตัวบุคคล
       
1. ความบกพร่องทางด้านร่างกาย และจิตใจของนักบิน หรือเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เช่น สุขภาพไม่แข็งแรง ความเหนื่อยอ่อน
            ความวิตกกังวล ความเศร้าหมอง
        2. การขาดประสบการณ์ หรือขาดความเชี่ยวชาญ ในการขับเครื่องบิน
        3. การขาดความรับผิดชอบ ของผู้ขับเครื่องบิน เช่น ขับเครื่องบินด้วยความเร็วไม่เกินกำหนด ไม่บินตามเส้นที่กำหนด
            หรือเสียวินัยการบิน มีความประมาทเลินเล่อ
        4. การเสียวินัยการบินของนักบิน เช่น ไม่บินตามเส้นทางที่กำหนด
        5. ผู้โดยสารเครื่องบิน ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ของการโดยสารเครื่องบิน เช่น สูบบุหรี่ หรือติดก้นบุหรี่ โดยขาดการ
            ระมัดระวัง การก่อความไม่สงบในขณะโดยสารเครื่องบิน เป็นต้น
2.  สภาพแวดล้อม 
        1. เครื่องบินหรือตัวปรับอากาศยานเสื่อมคุณภาพ และไม่ได้รับการตรวจสอบ ซ่อม หรือดูแลอย่างละเอียดถี่ถ้วน ก่อนการ นำไปใช้ 
        2. สภาพเครื่องยนต์ขัดข้อง น้ำมันหมดกลางทาง หาที่ลงไม่ได้ 
        3. สนามบินมีเครื่องกีดขวาง หรือสภาพทางวิ่ง ทางขับไม่ดี 
        4. ทัศนวิสัยไม่ดี เช่น ฝนตก หมอกหรือหิมะลงจัด พายุจัด ฟ้าผ่า 

การป้องกันอุบัติเหตุจาการเดินทางโดยทางอากาศ 

 การป้องกันอุบัติเหตุในการจราจรทางอากาศอาจกระทำได้ดังนี้
     1. นักบินหรือเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการบิน ควรดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ หากมีความบกพร่อง
         ทางร่างกายหรือจิตใจ ควรงดการขับเครื่องบิน หรือปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการเดินอากาศ และไม่ขับเครื่องบิน หลังจากดื่มสุรา
         มาใหม่ๆ ด้วย
     2. นักบินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเดินอากาศ ควรศึกษาหาความรู้ หรือฝึกฝนเกี่ยวกับเรื่องการบิน และตั๋วเครื่องบิน เพื่อให้เกิด
        ประสบการณ์หรือความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ด้านการเดินอากาศอยู่เสมอ
     3. นักบินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเดินอากาศ ควรมีความรับผิดชอบสูง และระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ รวมทั้งปฏิบัติตาม
         กฎการเดินอากาศด้วย
     4. ผู้โดยสารเครื่องบิน ควรปฏิบัติตามกฎ หรือข้อพึงปฏิบัติ ของการโดยสารเครื่องบินอย่างเคร่งครัด เช่น คาดเข็มขัด ห้ามสูบบุหรี่
     5. ก่อนทำการขับเครื่องบินทุกครั้ง นักบิน หรือเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องควรตรวจสอบสภาพเครื่องบิน เครื่องยนต์ และอุปกรณ์ที่
         ต้องใช้ ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เรียบร้อย
     6. ควรมีการดูแล และตรวจตราสภาพเครื่องบิน อย่างละเอียดลอออยู่เสมอ หากมีการชำรุด หรือเสื่อมคุณภาพจะได้แก้ไข
          หรือซ่อมแซมให้ดี ก่อนการนำไปใช้
     7. ควรจัดเครื่องอำนวยความสะดวกในการบิน เช่น จัดสภาพทางวิ่ง ทางขับให้ดี ไม่มีเครื่องกีดขวาง ในบริเวณสนามบิน
     8. หากสภาพอากาศ หรือทัศนวิสัยไม่ดี ควรงดการบิน หรือการเดินทางโดยทางอากาศ

ข้อพึงปฏิบัติของผู้โดยสารขณะเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องบิน
     1. ควรทำใจให้สงบมากที่สุด เท่าที่จะมากได้ อย่าตื่นตกใจ หรือตกตะลึงจนไม่ได้สติเป็นอันขาด
     2. ควรปฏิบัติตามคำสั่ง หรือคำแนะนำของกัปตัน หรือเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องบินโดยเคร่งครัด เช่น การรัดเข็มขัด การสวมเสื้อชูชีพ
         การงดสูบบุหรี่ การออกทางประตูฉุกเฉิน เป็นต้น
     3. เมื่อเครื่องบินลงสู่พื้นดิน หรือพื้นน้ำให้รีบออกทางประตูฉุกเฉินอย่างรวดเร็ว และพยายามรีบออกไปให้ห่างไกลจากเครื่องบิน
        ให้มากที่สุด เพราะเครื่องบินอาจระเบิดได้
     4. หากเครื่องบินตกลงในน้ำ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ ของเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องบินอย่างเคร่งครัด

ที่มา http://www.ipesp.ac.th/learning/supitcha/html/E4-4-2.html

<< Go Back