<< Go Back

รูปแบบยา


ที่มา - office.bangkok.go.th

1. คำแนะนำการเรียน 

1.1 ศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้ 
1.2 ศึกษาเนื้อหา 
1.3 สรุปใจความสำคัญแล้วบันทึกผลลงในสมุดของนักเรียน 
1.4 ตอบคำถามจากกิจกรรมที่ 9 
1.5 ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลยกิจกรรมที่ 9 

2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 

2.1 จำแนกรูปแบบของยาชนิดต่าง ๆ พร้อมทั้งยกตัวอย่างได้ 
2.2 อธิบายเหตุผลของการผลิตยาออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ได้ 

3. เนื้อหา 

รูปแบบของยา

รูปแบบของยา 

          ยาที่มีจำหน่ายทั่วไปตามร้านขายยา มีการผลิตออกมาในรูปแบบแตกต่างกันออกไปหลายแบบ ทั้งนี้เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ในการรักษาโรคนั่นเอง  รูปแบบของยา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 

1. ประเภทของเหลว มีหลายชนิดได้แก่ 
          1.1 ยาน้ำใส (Solution) 

ยาหยอดตา

   
           ยาน้ำใส คือรูปแบบยาที่ละลายอยู่ในน้ำโดยปราศจากตะกอน สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตและ ออกฤทธิ์ได้เร็ว เช่น น้ำเกลือ ยาหยอดตา ยาแก้ปวดแก้ไข้ สำหรับเด็ก เป็นต้น ยาชนิดนี้ถ้ามีสีหรือกลิ่น เปลี่ยนไป หรือมีการตกผลึกอยู่ที่ก้นขวด ควรเลิกใช้เพราะ แสดงว่ายานั้นเสื่อมคุณภาพแล้ว 

1.2 ยาน้ำแขวนตะกอน (Suspension)

          ยาน้ำแขวนตะกอนเป็นรูปแบบของยาที่มีสารไม่ละลายกระจายอยู่ในน้ำ ในลักษณะขุ่น เมื่อตั้งทิ้งไว้ จะตกตะกอน เช่น ยาธาตุน้ำแดง ยาแก้ไอน้ำดำ เป็นต้น ถ้าตะกอนของยาจับตัวกันแข็งเขย่าไม่ค่อยละลาย แสดงว่ายาเสื่อมคุณภาพควรเลิกใช้ 

1.3 ยาอิมัลชั่น (Emulsion) 

          ยาอิมัลชั่นอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ายาน้ำแขวนละออง เป็นรูปแบบยาที่ประกอบด้วยน้ำยากับน้ำมัน ผสมเป็นเนื้อเดียวกันเช่น น้ำมันตับปลา สก๊อตอิมัลชั่น เป็นต้น ถ้ายาแยกเป็น 2 ส่วนคือน้ำกับน้ำมัน เขย่าขวดแล้วไม่เข้ากันควรเลิกใช้ 

1.4 ยาน้ำเชื่อม (Syrup) 

ยาแก้ไอน้ำเชื่อม

          ยาน้ำเชื่อมเป็นรูปแบบของยาที่มีน้ำตาลซูโครสละลายอยู่ในตัวยา เช่น ยาแก้ไอน้ำเชื่อม ทำให้กลบรสขมของยา ผู้ป่วยจึงรับประ ทานยาได้ง่ายขึ้น 

1.5 ยาสปิริต (Spirits) 

 
เหล้าแอมโนเนียหอม
 

    ยาสปิริตเป็นรูปแบบยาที่มีแอลกอฮอล์ 60-90 เปอร์เซนต์ ผสมอยู่กับน้ำมันหอมระเหยบางชนิด เช่น เหล้าแอมโมเนียหอม เป็นต้น 

1.6 ยาทิงเจอร์ (Tincture) 

ทิงเจอร์ใส่แผลสด

          ยาทิงเจอร์เป็นรูปแบบยาที่มีตัวยาละลายอยู่ในเอธิลแอลกอฮอล์ เช่น ทิงเจอร์ไอโอดีน ทิงเจอร์ไธเมอโรซอล ทิงเจอร์ฝิ่นการะบูน เป็นต้น 

1.7 ยาเจล (Gel) 

ยาแก้ท้องเสีย

    ยาเจลเป็นรูปแบบยาที่มีลักษณะคล้ายยาน้ำแขวนตะกอนแต่เข้มข้นกว่า เช่น ยาลดกรด พวกอะรัมมิลค์ 

1.8 ยาโลชั่น (Lotion)

ยาโลชั่น

          ยาโลชั่นเป็นรูปแบบยาประเภทยาน้ำแขวนตะกอนเช่นเดียวกันแต่ใช้สำหรับภายนอกร่างกาย เช่น ยาทาแก้ผดผื่นคันคาลาไมด์ 2. ประเภทของแข็ง มีหลายชนิด ได้แก่ 
2.1 ยาเม็ด มี 2 พวก คือ 
          2.1.1 ยาเม็ดแบน มีลักษณะเป็นเม็ดแบน ๆอาจมีทรงเหลี่ยมหรือทรงกลม มีสีสันต่าง ๆ มากมาย บางชนิดเคลือบ ด้วยสารพวกน้ำตาล ให้มีรสหวานเพื่อกลบรสยา 

          2.1.2 ยาเม็ดกลม ส่วนมากเป็นยาแผนโบราณต่างๆ เช่นยาลูกกลอน

 

2.2 ยาแคปซูล (Capsules) 

 

          ยาแคปซูล เป็นรูปแบบยาที่มีตัวยาบรรจุอยู่ในเปลือกหุ้มที่ละลายได้ภายใน 20-30 นาที แคปซูลทำด้วยสารพวกเจลาติน เหตุที่ต้องบรรจุอยู่ในแคปซูล เพราะต้องการให้ตัวยาถูกดูดซึมในลำไส้ เพื่อไม่ให้กรดในกระเพาะทำลายและเพื่อกลบรสยา ถ้าแคปซูลมีลักษณะผิดปกติ เช่น บวม พอง เยิ้ม ไม่ควรใช้ แสดงว่ายาเสื่อมคุณภาพแล้ว 

2.3 ยาเหน็บ (Suppositories)

 

          ยาเหน็บมักทำเป็นรูปร่างต่าง ๆ มากมาย เช่น เป็นแท่งยาว รูปไข่ รูปลูกแพร์ ใช้สอดเข้าทาง ทวารหนักหรือช่องคลอด เช่น ยาเหน็บอนูซอลรักษาริดสีดวงทวาร ยาเหน็บช่องคลอด แก้ตกขาวและเชื้อรา ก่อนใช้ต้องนำยาแช่ความเย็นให้แข็งตัวเสียก่อน 

2.4 ขี้ผึ้ง (Ointment) 

 
ขี้ผึ้งแก้ปวดบวม

    ขี้ผึ้งเป็นรูปแบบยาที่ใช้สำหรับทาภายนอก มีลักษณะครึ่งแข็งครึ่งเหลว เช่น ยาหยอดตา ชนิดขี้ผึ้ง ยาหม่อง เป็นต้น 

2.5 ครีม (Cream) 

 

    ครีมมีลักษณะเหมือนยาประเภทขี้ผึ้งแต่เหลวกว่า เช่น ทราโวเจน เคาน์เตอร์เพน เป็นต้น 

2.6 ยาผง (Powder) 

 
   

            ยาผงมีหลายชนิด เช่น ยาผงโรยแผล ยาทัมใจ ยาผงสำหรับผสมน้ำกลั่นแล้วใช้ฉีดเข้าร่างกาย ยาผงบางชนิดเป็นผงเดือดฟู เมื่อใส่ลงในน้ำจะเกิดฟองก๊าซขึ้น เช่น โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต หรืออีโน เป็นต้น  ยาสำเร็จรูปที่กล่าวมานี้บางชนิดจำเป็นต้องทำ ให้ปราศจากเชื้อโรคโดยสิ้นเชิงคือจะต้องผลิตด้วย กรรมวิธีที่สะอาด เช่น ยาฉีด ยาหยอดตา ยาหยอดหู ยาหยอดจมูก เป็นต้น สำหรับยาฉีดนั้นจะเข้าสู่ ร่างกายได้เร็วถ้าไม่ทำให้ปราศจากเชื้อก็เท่ากับเป็นการนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายนั่นเอง ส่วนยาเม็ดที่ใช้ รับประทานนั้นไม่จำเป็น ต้องทำให้ปราศจากเชื้อโรค เพราะเหตุว่าในกระเพาะอาหารมีกรดไฮโดรคลอริก ช่วยฆ่าเชื้อโรคอยู่แล้ว 

ที่มา http://www.wt.ac.th/~somyos/ya/ya000005.html

<< Go Back