<< Go Back

ที่มา - http://trangis.com/kruuza/1_1.html

การแบ่งประเภทของยาตามระดับการควบคุมการจำหน่าย

          2.1 พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แบ่งประเภทของยาตามระดับการควบคุม การขายออกเป็น

                   2.1.1 ยาควบคุมพิเศษ หมายความว่า “ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ”  

                   พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มีเพียงมาตรา 32  ระบุว่า “ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตขายยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษในระหว่างที่เภสัชกรหรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่”  มาตรา 39(6) ให้เภสัชกรชั้นหนึ่งมีหน้าที่ “ควบคุมการส่งมอบยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ หรือยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์” ซึ่งระบุเพียงการควบคุมการส่งมอบยา ไม่ได้ระบุว่าต้องจ่ายยาควบ คุม พิเศษ ตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพ แต่ก็ได้มีกฎกระทรวงฉบับที่15 (พ.ศ.2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ข้อ 9(6)  ให้เภสัชกรชั้นหนึ่งซึ่งขายยาแผนปัจจุบัน “ควบคุมให้ขายยาควบคุมพิเศษเฉพาะแก่ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรม ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง หรือเฉพาะตามใบสั่งยา ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรม หรือแก่ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง

                   ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตขายยา ขายยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ให้แก่ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 15 (4) คือ ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ

                    ให้ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันจัดให้มีการเก็บยาควบคุมพิเศษเป็นส่วนสัด ตามมาตรา 26(3)(ข)

                    ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตขายยาควบคุมพิเศษในระหว่างที่เภสัชกรหรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 32

                   ให้มีเภสัชกรชั้นหนึ่งตามมาตรา 21 ประจำอยู่ ณ สถานที่ขายยาแผนปัจจุบันตลอดเวลาที่เปิดทำการและให้มีหน้าที่ควบคุม การส่งมอบยาควบคุมพิเศษ ตามมาตรา 39(6) และควบคุมการทำบัญชียา ตามมาตรา 39(7)

                    เภสัชกรชั้นสองจะขายและส่งมอบยาควบคุมพิเศษมิได้ ตามมาตรา 40

                   เภสัชกรชั้นหนึ่งหรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งเป็นผู้ควบคุมการส่งมอบยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ที่เป็นยาอันตราย ตาม มาตรา 42(4)   


                   2.1.2 ยาอันตราย หมายความว่า “ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาอันตราย”  

                   หากเป็นร้านขายยาแผนปัจจุบันต้องมีใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ตามมาตรา 15(2) ผู้ที่จ่ายยาอันตรายได้ คือ เภสัชกร ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 มาตรา 32

                   ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตขายยา ขายยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ให้แก่ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 15 (4) คือ ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ

                    ให้ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันจัดให้มีการเก็บยาควบคุมพิเศษเป็นส่วนสัด ตามมาตรา 26(3)(ข)

                    ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตขายยาควบคุมพิเศษในระหว่างที่เภสัชกรหรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 32

                   ให้มีเภสัชกรชั้นหนึ่งตามมาตรา 21 ประจำอยู่ ณ สถานที่ขายยาแผนปัจจุบันตลอดเวลาที่เปิดทำการและให้มีหน้าที่ควบคุม การส่งมอบยาควบคุมพิเศษ ตามมาตรา 39(6) และควบคุมการทำบัญชียา ตามมาตรา 39(7)

                    เภสัชกรชั้นสองจะขายและส่งมอบยาควบคุมพิเศษมิได้ ตามมาตรา 40

                   เภสัชกรชั้นหนึ่งหรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งเป็นผู้ควบคุมการส่งมอบยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ที่เป็นยาอันตราย ตาม มาตรา 42(4)

                   2.1.3 ยาสามัญประจำบ้าน หมายความว่า “ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน” การขายยา สามัญประจำบ้านตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ใครก็สามารถขายได้ ไม่จำกัดสถานที่ขายยาแต่อย่าง

                   2.1.4 ยาที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ไม่มีชื่อนี้ในพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510แต่ยาประเภทนี้เกิดขึ้นได้ใน กรณี คือ (1) เกิดจากช่องว่างของกฎหมาย เนื่องจากยาควบคุมพิเศษ ยาอันตราย และยาสามัญประจำบ้าน จะต้องมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขประกาศ ให้เป็นยาควบคุมพิเศษ ยาอันตราย หรือยาสามัญประจำบ้าน แล้วแต่กรณี เมื่อไม่เข้ากรณีตามประกาศดังกล่าวข้างต้นก็เป็นยาที่ไม่ใช่ยาอันตราย หรือยาควบคุมพิเศษทันที และ (2) เกิดจากการประกาศยาที่ได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาอันตราย โดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ เรื่อง ยาอันตราย ข้อ โดยจะต้องเป็นไปตามสูตร ข้อบ่งใช้ขนาดบรรจุ และข้อความคำเตือนตามที่กำหนด ความเข้มงวดของการควบคุมอยู่ระหว่างยา อันตรายกับยา สามัญประ จำบ้าน ต้องจำหน่ายในสถานที่ได้รับอนุญาตขายยาเท่านั้น 

ที่มา - http://rparun.blogspot.com/2011/09/draftdrugact01.html

<< Go Back