<< Go Back


www.mediamonitor.in.th

          ความรุนแรง ( violence) นิยามโดยองค์การอนามัยโลกว่าเป็น การใช้กำลังหรือพลังทางกายโดยเจตนาต่อตนเอง ผู้อื่น หรือต่อกลุ่มหรือชุมชนอื่น โดยข่มขู่หรือแท้จริง เพื่อให้เกิดหรือมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเกิดการบาดเจ็บ การเสียชีวิต การทำร้ายจิตใจ การพัฒนาไม่เพียงพอหรือการริดรอน นิยามนี้เกี่ยวข้องกับเจตนาของการก่อพฤติกรรมนั้น โดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา

          ความรุนแรงพรากชีวิตผู้คนทั่วโลกไปมากกว่า 1.5 ล้านคนทุกปี สูงกว่า 50% เป็นเพราะอัตวินิบาตกรรม อีก 35% มาจากฆาตกรรม และอีก 12% เป็นผลโดยตรงมาจากสงครามหรือความขัดแย้งรูปแบบอื่น สำหรับผู้เสียชีวิตหนึ่งคนจากเหตุความรุนแรง ต้องมีการเข้า โรงพยาบาลหลายสิบครั้ง การเยี่ยมแผนกฉุกเฉินหลายร้อยครั้ง และการนัดของแพทย์หลายพันครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น ความรุนแรงมัก มีผล ตลอดชีวิตต่อสุขภาพกายและจิตของเหยื่อ ตลอดจนหน้าที่ทางสังคม และชะลอการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม

ความรุนแรงในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา

          ผลวิจัยของโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch) ที่ทำการสำรวจในกลุ่มเด็กเยาวชน 150,000 คนทั่วประเทศ พบว่าเด็กนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา และอาชีวศึกษาทั้งในระดับ ทั้งในระดับ ปวช. และ ปวส. ตกอยู่ในวัฎจักร ของการใช้ความรุนแรง การใช้กำลังกันระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ประมาณ 1 ใน 10 หรือประมาณ 700,000 คน จากจำนวนนักเรียนในระดับมัธยม ศึกษา ปวช. และ ปวส. ผลวิจัยดังกล่าวชี้ว่า ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนไม่ใช่ ปัญหาใหม่ ของสังคมไทย แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้ว และมีแนวโน้ม เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเด็กและเยาวชนนั้น สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์ ความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งเด็กได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์เหล่านั้นความเจ็บปวด จากการแตกร้าวของครอบครัว การหย่าร้างของบิดามารดารวมทั้งการนำเสนอของสื่อต่าง ๆ ที่แสดงออกถึงความรุนแรงทั้งรูป ของการละเล่น (games) ภาพยนตร์ ข่าว และภาษาที่ใช้ทั้งการใช้คำพูด หรือภาษาหนังสือ

          เหตุการณ์ความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ การทำร้าย การฆาตกรรม การก่อการร้าย การลงทัณฑ์ ทรมาน ข่มขืน การละเมิด ทาง เพศ การละเมิดสิทธิ และการก่อเหตุไม่สงบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นการละเมิดหลักการพื้นฐาน ของกฎหมายสิทธิมนุษยชน และมนุษย ธรรม ระหว่างประเทศ ซึ่งการละเมิดสิทธิดังกล่าวส่งผลกระทบต่อทั้งผู้หญิงและผู้ชายในรูปแบบแตกต่างกัน ความรุนแรงดังกล่าว ก่อให้เกิดความเดือดร้อนจากการสูญเสียทรัพย์สินบ้านช่อง และญาติพี่น้อง ในบางครั้งเป็นการซ้ำเติมปัญหาสตรี และเด็กผู้หญิง ซึ่งเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะครอบครัวยากจน หรือครอบครัวที่มีสตรีรับหน้าที่เป็น หัวหน้า ครอบครัว ต้องรับภาระอบรมเลี้ยงดูลูก รวมทั้งประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอ กับค่าใช้จ่ายในครอบครัวทำให้สตรีเหล่านี้ต้องตก
อยู่ในสภาพที่แย่ไปกว่าเดิม ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต ของสมาชิกในครอบครัว และบางครอบครัว ไม่สามารถ ประกอบอาชีพอย่างที่เคยทำมาได้ มีผลทำให้ครอบครัวที่ทุกข์ยากอยู่แล้ว มีความลำบากยากจนยิ่งขึ้นไปอีก   นอกจากนี้แล้วความขัดแย้ง ที่มีการใช้อาวุธยังมีผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม การสร้างบาดแผลทางจิตใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้น และคงอยู่ไปจนชั่วชีวิต ปัญหาความรุนแรงจากการขัดแย้ง ที่มีการใช้อาวุธที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ได้แก่

          1.กลุ่มคนไร้สัญชาติ

การหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย และการหนีตายของพลเมืองจากประเทศพม่า มายังประเทศไทย มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (SHRF) ได้ประมาณการตั้งตัวเลขของผู้อพยพที่เพิ่มสูงกว่าตัวเลขของทางการไทย หลังจากเดือนมีนาคม 2539 อันเป็นปีที่รัฐบาล ทหารพม่า เริ่มนโยบายการอพยพโยกย้ายชาวบ้าน ในตอนกลางวันของรัฐไทใหญ่ มีชาวไทใหญ่ไม่น้อยกว่า 8,000 ถึง 15,000 คน หนีตายเข้ามาในไทย ซึ่ง 47% ของชาวบ้านเหล่านี้มีอายุอยู่ระหว่าง 17 ปีหรือต่ำกว่านั้น และ 45 ปี หรือสูงกว่านั้น ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การอพยพดังกล่าว เป็นการหนีมาของทั้งครอบครัว ไม่ใช่การอพยพมาหางานทำแบบปกติ แต่ได้กลายเป็นที่ของ อัตลักษณ์ถาวร ของการเป็นแรงงานต่างด้าว ที่ไม่มีสิทธิเข้าถึงสวัสดิการหรือการยอมรับใด ๆ ในสังคม

รัฐบาลไทยได้จัดศูนย์รับผู้อพยพ 9 แห่ง เพื่อรองรับผู้อพยพรวมทั้งสิ้น

         131,217 คน แบ่งเป็นชาย 67,147 คน และหญิง 64,070 คน ซึ่งยังคงมีปัญหาเรื่องการไร้สัญชาติและการขาดสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อยู่มาก

          2. เหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

         เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมานั้น ได้ส่งผลกระทบต่อสตรีและเด็กอย่างรุนแรง จากการตกเป็นเหยื่อ ฆาตกรรม การบาดเจ็บ และการสูญเสียผู้เป็นที่รัก การต้องรับหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวโดยไม่คาดคิด โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสตรีรับ หน้า ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวต้องรับภาระอบรมเลี้ยงดูลูก รวมทั้งต้องประกอบอาชีพเพื่อให้มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัว ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต ของสมาชิกในครอบครัว และบางครอบครัวไม่สามารถประกอบอาชีพอย่างที่เคยทำมาได้ มีผลทำให้ครอบครัวที่ทุกข์ยากอยู่แล้ว มีความลำบากยากจนยิ่งขึ้นไปอีกเหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิต และการบาดเจ็บ ทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนจำนวนมาก จากรายงานเหตุการณ์ ความไม่สงบของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 ระหว่างปี 2547-2548 ก่อให้เกิดผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวน 1,706 ราย  ซึ่งผลจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ของเด็กและสตรี เป็น อย่างมาก จากข้อมูลกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ได้ทำการรวบรวมข้อมูลเด็กกำพร้าและสตรีหม้ายจาก เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ข้อมูล ณ วันที่ 18 มกราคม 2550) มีเด็กกำพร้าทั้งบิดามารดา จำนวนทั้งสิ้น 1,425 คน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดสตรีหม้าย ที่จะต้องรับผิดชอบดูแลครอบครัวจำนวนทั้งสิ้น 743 คน

         ในสถานการณ์ความขัดแย้ง สภาพทางสังคม ศาสนา และวัฒนธรรม มีความละเอียดอ่อน รัฐบาลจึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหา ความรุนแรงในสถานการณ์       3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรัฐบาลได้ดำเนินการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ใน คณะกรรมการอิสระ เพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ อันประกอบไปด้วย กรรมการอิสลามประจำจังหวัด นักวิชาการ นักสันติวิธี ทนายความ ครู พระสงฆ์ องค์กร พัฒนาเอกชน องค์กรประชาธิปไตย และนักธุรกิจ ในจำนวนนี้เป็นผู้หญิง จำนวน 8 คน จาก 49 คน คิดเป็นร้อยละ 16.33 จะเห็นได้ว่าผู้หญิงที่เข้ามามีบทบาทในคณะกรรมการ ส่วนใหญ่ทำงานเกี่ยวกับเด็ก สตรี และเยาวชน โดยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน นักการเมือง สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้นั้นที่สำคัญคือ เสนอแนะนโยบายมาตรการ กลไก และวิธีการสร้างสมานฉันท์และสันติสุขในสังคมไทยโดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการสร้างความยุติธรรม ลดความไม่เข้าใจระหว่างกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลายขจัดเงื่อนไข และป้องกันปัญหาความรุนแรง และสร้างความ สามัคคีธรรม ให้เกิดขึ้นในชาติ

ที่มา - http://www.l3nr.org/posts/339591

<< Go Back