<< Go Back

          สาเหตุของปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี มีความแตกต่างจากความรุนแรงในเรื่องอื่น เนื่องจากมีค่านิยมและเจตคติของ สังคม ในเรื่องบทบาทหญิงชายเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยการให้ความสำคัญและคาดหวังเพศชายในฐานะผู้นำผู้ตัดสินใจ ผู้สืบทอดเชื้อสายทาง ครอบ ครัว เพราะเพศชายมีร่างกายที่แข็งแรงกว่า สามารถปกป้องผู้อ่อนแอทางร่างกาย คือ เด็กและผู้หญิงได้ จะเห็นได้ชัดเจนในกรณีความ รุนแรง ในครอบครัว ซึ่งมาจากความเชื่อที่สังคมมีมาแต่ดั้งเดิมเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียม ระหว่างหญิงชาย เช่น แนวคิดที่ว่าภรรยาเป็น สมบัติ ของสามี ลูกเป็นสมบัติของพ่อแม่ ผู้ชายมีอำนาจเหนือสตรี สตรีเป็นวัตถุทางเพศ ผู้ชายจึงมีฐานะเป็นผู้ดูแลคุ้มครองเด็กและสตรี แต่ขณะเดียวกันก็มีสิทธิที่จะใช้อำนาจบังคับ ควบคุมหรือแม้แต่ทำร้ายร่างกาย จิตใจได้ ทั้งนี้ ความเชื่อดังกล่าวยังคงปรากฏ อยู่เกือบทุก สังคมทั่วโลก รวมทั้งสังคมไทย

     สรุปได้ว่าสาเหตุของความรุนแรงเกิดจากปัญหาในระดับและมิติต่าง ๆ ได้แก่
     ๑. จารีตประเพณี
     แต่ดั้งเดิมยกให้ชายมีอำนาจเหนือหญิงในความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส สามีจึงมีอำนาจเหนือภรรยาและบุตร ที่ต้องการทั้งการปกป้อง คุ้มครองและการควบคุมการใช้ความรุนแรงของชายจึงเป็น เครื่องมือในการรักษาอำนาจที่เหนือกว่า ซึ่งสตรีส่วนใหญ่ก็ยอมรับสถานะ ภาพที่ด้อยกว่า ผู้ชายซึ่งในครอบครัวและอาณาเขตต่าง ๆ ในสังคมจารีตประเพณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าสังคมโดยส่วนรวมยังยอม รับความ ไม่เท่าเทียมของหญิงและชาย ซึ่งนำไปสู่การที่สังคมยังไม่ตระหนักว่า ความรุนแรงต่อสตรีเป็นปัญหาสำคัญ แต่เป็นเพียงปัญหา ภาย ในครอบครัวที่บุคคลภายนอกไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว
    

 ๒. โครงสร้างทางสังคม
     เนื่องจากสังคมในปัจจุบันยังคิดว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว ที่บุคคลภายนอกไม่สมควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวการเข้าไปยุ่ง เกี่ยว อาจจะเป็นการยุยงให้ครอบครัวแตกแยก ดังนั้น จะเห็นว่าผู้ที่กระทำความรุนแรงมิได้รับการแทรกแซง หรือห้ามปรามอย่างจริง จังจาก บุคคล อื่น ที่อยู่ร่วมครัวเรือน เพื่อนบ้าน ประชาชนในชุมชนที่อยู่อาศัย สาธารณชน ผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ นอกจากนั้น ปัญหา ทางเศรษฐกิจ สภาวะว่างงาน ความล้มเหลวในทางอาชีพการงาน ก่อให้เกิดความตึงเครียดทางอารมณ์ คับข้องใจ ท้อแท้ สิ้นหวัง นำไปสู่ การกระทำความรุนแรงต่อคนในครอบครัว โดยเฉพาะคนที่ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพาจนกระทั่งถึงขั้นกระทำการฆาตกรรม ทำร้ายคนใน ครอบครัว รวมทั้งการทำร้ายตนเองด้วย
     ๓. โครงสร้างทางการเมือง การบริหาร และกฎหมาย
     ยังมีปัจจัยหลายประการที่เป็นอุปสรรคในการแก้ปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อสตรี ทั้งในด้านตัวบทกฎหมายและในด้านการ บังคับใช้กฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๖ กำหนดว่า ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่นซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยขู่เข็ญ ด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยหญิงอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้หญิงเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้อง ระ วางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันถึงสี่หมื่นบาท” ซึ่งหมายความว่า สามีข่มขืนภริยาของตนจะไม่มีความ ผิดตาม มาตรานี้  แต่อาจจะมี ความผิด ฐานทำร้ายร่างกายได้ ซึ่งในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายและการพิจารณาคดี ผู้รักษากฎหมาย มักใช้วิธีการไกล่เกลี่ยประนีประนอม แทนการดำเนินการตามกฎหมายหรือภริยาผู้ถูกกระทำความรุนแรงก็มักเก็บเงียบไม่ ขอความช่วย
เหลือ หรือดำเนินการตามกฎหมาย
 เนื่องจากกระบวนการสอบสวนและการพิจารณาทำให้ต้องอับอายและตกเป็นข่าวหรือแม้ กระทั่งถูก สังคม ประณามว่าเป็นฝ่ายผิดเสียเอง
     ๔. ปัญหาทางด้านสภาวะทางกายและทางจิต
     ซึ่งได้แก่ ความเจ็บป่วยทางจิต เช่น ลักษณะนิสัยเฉพาะตัวของผู้กระทำผิดที่เป็นคนอ่อนแอ มีความบกพร่องในบทบาททางเพศ มีความผิดปกติทางจิต มีความกดดันความคับข้องใจ หรือตกอยู่ในภาวะกดดันหรือตึงเครียดจากปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วง สภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำและมีรายได้น้อย สภาพที่อยู่อาศัยไม่ดี แออัด และความโดดเดี่ยวทางสังคม ทำให้เกิดความท้อแท้สิ้นหวังในชีวิต มีภาวะตึงเครียด ซึ่งอาจเป็นแรงผลักดันให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้ รวมถึงความไม่พร้อมที่จะมีครอบครัว ส่งผลให้เกิดความรุนแรงใน ครอบ ครัวได้เช่นกัน
     ๕. การกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอก
     สภาพแวดล้อมในสังคมเต็มไปด้วยยาเสพติด สุรา สื่อเร้าความรุนแรงและส่งเสริมพฤติกรรมทางเพศที่ผิดเป็นสาเหตุสำคัญอีกประการ หนึ่ง เช่น
          ๑) การที่สามีดื่มสุราหรือเสพยาเสพติดจนมึนเมา ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ มักจะมีพฤติกรรมทุบตีและทำร้ายทางเพศที่รุนแรงกับภรรยาเสมอ
          ๒) สื่อที่ผลิตในรูปแบบต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียนรู้ บุคคลอาจเรียนรู้การกระทำความรุนแรงจากสื่อในรูป แบบต่าง ๆ ติดต่อกันนาน ๆ เข้าจนกลายเป็นค่านิยมหรือความชินชาที่รู้สึกว่าการกระทำนั้นเป็นเรื่องปกติ ธรรมดา ไม่เป็นความผิด แต่อย่างใด โดยสามารถถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งได้ เช่น ความรุนแรงจากสื่อสิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์ ทีวี วีดีโอ เป็นต้น

การป้องกันความรุนแรงในโรงเรียน

          ในปัจจุบันข่าวคราวเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรง แก้ปัญหาเป็นเรื่องที่พบเห็น และได้ยินได้ฟังอย่างสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นจากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ข่าวหนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่พบเห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง ความรุนแรงที่แสดงออกเป็นไปได้ ตั้งแต่การทะเลาะเบาะแว้ง ใช้กำลังทำร้าย หรืออาจรุนแรงถึงขั้นฆ่าผู้อื่นตาย ข่าวคราวเกี่ยวกับความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ สา มารถนำมาใช้เป็นอุทาหรณ์ หรือ บทเรียน สำหรับนักเรียนได้โดยที่เราอาจจัดบทเรียนเพื่อประยุกต์ใช้ในชั่วโมงที่เหมาะ สม เช่นในชั่วโมงสำหรับวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต หรือชั่วโมงแนะแนวก็ตามโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึง บทบาทของตนเอง ในการป้องกันความรุนแรงตลอดจนสามารถ วิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความรุนแรง และมีทักษะในการแก้ปัญหา เฉพาะหน้า โดยที่นักเรียนควรได้รับการสอนให้ตระหนักว่า การใช้ความรุนแรงแก้ปัญหามิใช่หนทาง ที่ควรนำมาใช้จัดการกับความ รู้สึก โกรธของตนเอง ซึ่งในที่นี้การใช้ความรุนแรง หมายถึงความพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อทำร้ายผู้อื่น ซึ่งความรุนแรงดังกล่าว อาจนำไปสู่การ ฆ่าผู้อื่น และถือว่าเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรง แนวคิดเกี่ยวกับการป้องกันความรุนแรง การกระทำที่ใช้ความรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นในช่วง เวลาอันสั้น โดยไม่ได้คาดคิด โดยมากมักจะเป็นผลจากความโกรธ ที่บุคคลไม่สามารถควบคุมได้ จนกลายเป็นเรื่องที่ทำลายอนาคต คนที่เกี่ยวข้อง กับเหตุการณ์ให้ย่อยยับลงได้ในพริบตา การแก้ปัญหาความรู้สึกโกรธ หรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นควรใช้การสื่อ และหา ทางออกถึงความรู้สึกโกรธอย่างเหมาะสม และฝึกทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เมื่อมีความขัดแย้ง หรือมีความรู้สึกโกรธเกิดขึ้น  ใน สหรัฐอเมริกามีการจัดหลักสูตรการป้องกันความรุนแรง สำหรับวัยรุ่นที่เน้นการสอน และฝึกทักษะให้แก่เด็ก โดยเฉพาะการป้องกัน การก่อเหตุฆ่าผู้อื่น โดยมีสมมุติฐานว่ามีปัจจัยเบื้องต้น ประการที่มักนำไปสู่การก่อการเหตุรุนแรงนั่นคือความโกรธเคือง หรือการ ทะ เลาะ เบาะแว้งกัน เหล้าหรือยาเสพติด และการมีอาวุธในครอบครอง ดังนั้น หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการสอนเพื่อทำให้นักเรียนเข้าใจถึงความสัม พันธ์ของ ปัจจัยแวดล้อม และพฤติกรรมของตนเองที่มีส่วนส่งเสริมให้เกิด การก่อเหตุส่งเสริมให้เกิดการก่อเหตุรุนแรงหรือ ช่วยลด ความรุนแรงของเหตุการณ์ลงได้ ในหลักสูตรจะใช้การสอนด้วยกิจกรรมกลุ่ม ที่เน้นหลักการพื้นฐานของการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ใด ๆ ด้วย ท่าทีอันสงบซึ่งประกอบด้วย  หลักปฏิบัติสำคัญ ๆ ในขณะเกิดปัญหาดังนี้ 

1. ให้พยายามอยู่ในภาวะควบคุมความโกรธของตนเองเสมอ 
2. ให้รักษาระดับอารมณ์ พยายามรักษาระดับเสียงให้ราบเรียบ และสงบ 
3. ให้พยายามเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจฝ่ายที่เป็นคู่กรณี 

นักจิตวิทยา สถาบันสุขภาพจิตเด็ก และวัยรุ่นราชนครินทร์ 
ส่วนกลวิธีเฉพาะที่ใช้เพื่อแก้ปัญหาการเผชิญหน้า ประกอบด้วย 

1. ช่วยหาทางออกให้ฝ่ายที่เป็นคู่กรณี 
2. ระมัดระวังการพูดจาของตน พยายามให้เรื่องที่พูดกันนั้นเป็นเรื่องเบา ๆ หรือพยายามใช้อารมณ์ขันเข้าช่วย 
3. ให้รู้จักการใช้คำขอโทษ และการให้อภัย 

แนวทางการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน 
          จากแนวคิดดังกล่าวข้างต้นอาจนำมาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม ให้เด็กในชั้นเรียน ซึ่งอาจทำให้อย่างง่าย ๆ โดยการยกกรณี ตัวอย่างซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์สมมติ หรือเป็นกรณีที่เกิดขึ้นจริงนำมาเล่าให้นักเรียนฟัง และอภิปรายในกลุ่มตลอดจนการนำ เรื่องมาผูก เป็นละคร ให้นักเรียนลองสวมบทบาทสมมติตัวอย่างของกิจกรรม ที่อยู่ในหลักการป้องกันความรุนแรง ที่สามารถนำมาใช้ได้ ประกอบ ด้วย กิจกรรมดังนี้ 

กิจกรรมที่ 

          อ่านเรื่องราวต่อไปนี้ให้นักเรียนในชั้นฟัง แล้วให้นักเรียนช่วยหยิบยกปัจจัย ที่นักเรียนเห็นว่า นำไปสู่การก่อเหตุการณ์รุนแรง“ เย็น วันเสาร์หลังงานกีฬาสีของโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง นักเรียนชาย คน ได้เกิดชกต่อยกันขึ้น ระหว่างที่ต่อสู้กันนั้นคนหนึ่งถูกยิง และ เสียชีวิตระหว่างนำส่งโรงพยาบาล ตำรวจได้จับกุมนักเรียนคู่กรณี และตั้งข้อกล่าวหาว่ากระทำการฆาตกรรมผู้อื่น จากปากคำ ผู้เห็น เหตุการณ์ การชกต่อยเกิดขึ้น เนื่องจาก ผู้ตายได้กล่าวล้อเลียนถึงกรแข่งขันฟุตบอลที่ผ่านมา และพยานยังกล่าวอีกว่านักเรียน ทั้งคู่ต่าง ดื่มสุรา มาก่อนเกิดเหตุ ”  ให้นักเรียนในชั้นเรียนช่วยกันคิด และอภิปรายโดยมุ่งประเด็นความสนใจ ถึงปัจจัยที่นำไปสู่การ  เกิดเหตุทะ เลาะวิวาท จนเกิดเหตุการณ์ฆ่ากันตาย และจะป้องกันสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง ในการช่วยกันอภิปรายควรพยายามทำให้นักเรียน ตระหนักว่าปัจจัยเช่น การแข่งขัน ความรู้สึกเปรียบเทียบ การใช้กำลัง การดื่มสุรา การยุยง และการมีอาวุธในครอบครอง ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องที่นำไปสู่การกระทำรุนแรง จนกลายเป็นเหตุการณ์น่าสลดใจทั้งสิ้นประเด็นคำถามเพิ่มเติมที่ควร ทำให้นักเรียนสนใจ คือการอภิปรายถึงผลสืบเนื่องจากการกระทำรุนแรงได้แก่ จะเกิดอะไรขึ้นกับเด็กที่ต้องโทษคุมขัง การทะเลาะวิวาทที่เกิดขึ้น คุ้มค่ากับ ความสูญเสีย ของบุคคลทั้งสองหรือไม่เป็นต้น นอกจากนี้แล้วอาจให้นักเรียนมีส่วนร่วมกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เคยพบเห็นสัก 2  เรื่อง  โดยให้เรื่องหนึ่งเป็นสถานการณ์ซึ่งมีปัจจัย ที่อาจนำไปสู่การกระทำที่มีแนวโน้ม ว่าจะกลายเป็นเหตุรุนแรง ส่วนอีกเรื่องหนึ่ง ให้เป็นสถานการณ์ซึ่งมีการกระทำบางอย่าง ที่เป็นการป้องกันเหตุการณ์รุนแรงได้ นอกจากนี้อาจนำเอาเรื่อง ที่เป็นข่าวน่าสนใจมา อภิปรายร่วมกันโดยให้นักเรียนช่วยกันพิจารณาวิเคราะห์ ถึงเหตุปัจจัย ตลอดจนกลวิธีที่จะป้องกันไม่ให้กลายเป็นเรื่องรุนแรงดังเป็นข่าว 

กิจกรรมที่ 

          ให้นักเรียนได้ลองสวมบทบาท สมมติว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่สามารถหาหนทางป้องกันการกระทำที่กอให้เกิด ความรุนแรงได้ ซึ่งกำหนดหัวข้อดังนี้ 

บทบาทแรก 
          ให้นักเรียนที่ได้รับเลือกออกมาแสดงถึง สถานการณ์ และปัจจัยซึ่งอาจนำไปสู่การต่อสู้หรือการกระทำรุนแรง 
บทบาที่สอง 
          ให้นักเรียนออกมาแสดงสถานการณ์เดียวกัน แต่ใช้หลักการพื้นฐาน และกลวิธีที่เสนอไว้ตอนต้นเพื่อหลีกเลี่ยงการ เผชิญหน้า กันนั่นคือ หลักการที่ให้ควบคุมอารมณ์ตนเอง และหาทางออกให้ผู้อื่น ระหว่างการแสดงออกให้มีการถ่ายวีดิโอ เพื่อให้สามารถ นำเหตุการณ์มาพิจารณา และวิเคราะห์ซ้ำได้หลาย ๆ ครั้ง การอภิปรายในขั้นตอนนี้อาจมุ่งให้ความสนใจในเรื่อง อะไรทำให้เกิดการวิวาท กันขึ้นมีสิ่งแวดล้อมอะไรบ้างที่ ทำให้บุคคลต้องตกอยู่ในสถานการณ์ซึ่งนำไปสู่ความรุนแรงได้ และมีหนทางอะไรบ้าง ในการจัดการ กับอารมณ์โกรธของตนเองเป็นต้น  จะเห็นว่าเป้าหมายที่สำคัญในกิจกรรมเหล่านี้ก็คือ การทำให้นักเรียนเกิดการตระหนักรู้และ สามารถเปรียบเทียบแยกแยะถึงผลเสีย ของการกระทำที่รุนแรง รู้จักพิจารณา และวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่การกระทำดังกล่าว และที่สำคัญก็คือให้เกิดได้มีโอกาสฝึกใช้ทักษะ ที่จำเป็นใน การลดอารมณ์โกรธซึ่งอาจนำไปสู่การก่อเหตุรุนแรงได้

ที่มา - http://ailadaluamsri1.blogspot.com/

<< Go Back