<< Go Back


ที่มา - http://ailadaluamsri1.blogspot.com/

ครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานทางสังคมมีหน้าที่สำคัญ  คือ 

        1.ให้ครอบครัวดำรงอยู่เพื่อสืบสานวงศ์ตระกูล รวมถึงการใช้ชีวิตทางเพศที่เหมาะสม

        2. ตอบสนองความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย จัดหาวัตถุอื่นที่จำเป็น การดูแลยามเจ็บป่วย  รวมทั้งการปกป้องบุคคลให้พ้นอันตรายจากภายนอก 

        3. ให้การศึกษาอบรมแก้สมาชิก ถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีและค่านิยมของสังคม และให้สมาชิกพัฒนาอย่างเหมาะสมในแต่ละด้าน

        4. เป็นแหล่งผลิตหรือหารายได้ สำหรับแรกเปลี่ยนและจัดหาสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิต

          ความรุนแรง Violence หมายถึง การที่บุคคลใช้กำลังทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ  การทำลายทรัพย์สินของผู้อื่นหรือการข่มขู่ว่าจะทำร้ายให้ผู้อื่นบาดเจ็บ  หรือข่มขู่ว่าจะทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น รวมทั้งการใช้กำลังบังคับ กักขังหน่วงเหนี่ยวและรุกรานสิทธิหรือเสรีภาพส่วนบุคคล โดยคำนิยามข้างต้น ความรุนแรงในครอบครัวจะเกิดใน 2 ลักษณะ คือ ความรุนแรงที่กระทำโดยผู้ใหญ่ ได้แก่ การทำร้ายเด็ก การทำร้ายคู่สมรสและการทำร้ายผู้สูงอายุ กับ ความรุนแรงที่เด็กเป็นผู้กระทำ ได้แก่ การทำร้ายพี่น้อง และการทำร้ายพ่อแม่ ส่วนรูปแบบของความรุนแรงในครอบครัว ได้แก่ การทารุณทางกาย การทารุณทางจิตใจ และการทารุณทางเพศ ซึ่งแสดงออกในลักษณะข่มขู่ทำร้ายร่างกาย กักขังหน่วงเหนี่ยว ไม่ให้ข้าวปลาอาหาร หรือละเมิดทางเพศ อีกลักษณะหนึ่งคือ การปล่อยปละละเลยไม่ให้การดูแลเอาใจใส่เด็กในด้านปัจจัยสี่  และการดูแลยามเจ็บป่วยทำให้เด็กขาดอาหารไม่เจริญเติบโตตามเกณฑ์ปกติ  ไม่ให้ความรักไม่ตอบสนองความต้องการด้านจิตใจของเด็ก  หรือไม่ปกป้องคุ้มครองให้เด็กปลอดภัย  รวมถึงสนับสนุนให้เด็กเป็นโสเภณี เป็นต้น 

          เดิมเชื่อว่าความสงบสุขเริ่มที่บ้านและบ้านจะปราศจากความรุนแรง  แต่สังคมปัจจุบันเด็กกลายเป็นเหยื่อความรุนแรงค่อนข้างมาก พบว่า 1 ใน 3 ของเหยื่อความรุนแรงในสังคมเป็นเด็ก ในจำนวนนั้นร้อยละ 42 เกิดความขัดแย้งในครอบครัว ในสหรัฐอเมริกาอัตราการฆ่าผู้อื่นตายมีมากถึง 10 ต่อ 100,000 สำหรับในประเทศไทยจากสถิตติสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่าอัตราการทำร้ายผู้อื่น(ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและการทำร้ายผู้อื่น) เพิ่มขึ้นจาก 19,787 รายในปี 2539 เป็น 21,569 รายในปี 2541 และจากข้อมูลจากศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กพบว่าในปี 2541(ม.ค.-พ.ย.) ได้รับแจ้งเรื่องเด็กถูกละเมิดสิทธิ 164 ราย ให้ความช่วยเหลือ 153 ราย เป็นการล่วงเกินทางเพศ 82 ราย ทำร้ายและทารุณ 28 ราย โสเภณีเด็ก 10 ราย และแรงงานเด็ก 2 ราย แต่ข้อมูลจาก สยช. พบว่า ปี 2539 เด็กถูกทอดทิ้งและกำพร้า 2,382 คน เด็กถูกข่มขืนและละเมิดสิทธิทางเพศ 169 คน และจากข้อมูลกรมประชาสงเคราะห์ ปี 2539 พบว่า เด็กถูกทอดทิ้ง 71 ราย โสเภณีเด็ก 81,300 คน เด็กเร่ร่อน 14,254 คน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นรายงานจากหน่วยงานต่างๆ ที่ตัวเลขจะน้อยกว่าจำนวนที่แท้จริง 

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความรุนแรงในครอบครัว ได้แก่

          ปัจจัยตัวเด็ก เช่น เด็กพัฒนาการล่าช้า พื้นอารมณ์เป็นเด็กเลี้ยงยาก เด็กพิการ 
          ปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น คู่สมรสไม่สนใจลูก มีปัญหาการเงิน พ่อแม่มีปัญหาสุขภาพ หรือการใช้สารเสพติด เป็นต้น 

ที่มา - http://health.exteen.com/20071205/entry-30

<< Go Back