<< Go Back


ที่มา-https://sites.google.com/site/wichasukhsuksa/home/bth-thi-4-smrrthphaph-thang-rangkay

สมรรถภาพทางกาย

              เมื่อพิจารณาถึงสมรรถภาพทางกายภาพตลอดชั่วชีวิตของคนเราพบว่า  คนเรานั้นจะมีสมรรถภาพทางกายดีขึ้นจากวัยเด็ก  เรื่อยมาจนถึงจุดสูงสุดในช่วงอายุ 30 ปี  ต่อจากนั้นสมรรถภาพทางกายและวุฒิภาวะจะเริ่มลดลงตามลำดับ

            การมีสุขภาพดีเป็นรากฐานของการมีสมรรถภาพทางกายที่ดี  ดังนั้นสมรรถภาพจึงเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสามารถของร่างกาย  ในการที่จะประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

โดยทั่วไปสมรรถภาพทางกายแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ

            1. สมรรถภาพทางกายทั่วไป  (General Physical  fitness)
            2. สมรรถภาพทางกายพิเศษ  (Special Physical  fitness)

1. สมรรถภาพทางกายทั่วไป  (General Physical  fitness)

            คณะกรรมการนานาชาติ เพื่อจัดมาตรฐานการทดสอบความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย (International for the Standardization of Physical fitness Test)  ได้จำแนกความสมบูรณ์ทางกายออกเป็น 7 ประเภท คือ

            1.      ความเร็ว (Speed)  คือ  ความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  โดยใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด
            2.   พลังกล้ามเนื้อ (Muscle Power)  คือ  ความสามารถของกล้ามเนื้อในการทำงานอย่างรวดเร็ว  และแรงในจังหวะของกล้ามเนื้อหดตัวหนึ่งครั้ง  เช่น  ยืนกระโดดไกล
            3.   ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ  (Muscle Strength)  คือ  ความสามารถของกล้ามเนื้อที่หดตัว  เพียงครั้งเดียวโดยไม่จำกัดเวลา  เช่น การยก น้ำหนัก  เป็นต้น
            4.   ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscle  endurance , Anaerobic  Capacity)  คือ  ความสามารถของกล้ามเนื้อ  ที่ได้ประกอบกิจกรรมซ้ำซาก  ได้เป็นระยะเวลานานอย่างมีประสิทธิภาพ
            5.   ความคล่องตัว (Agility)  คือ ความสามารถของร่างกายที่จะบังคับควบคุมในการเปลี่ยนทิศทางของการเคลื่อนที่ได้ด้วยความรวด เร็วและแน่นอน
            6.      ความอ่อนตัว (Flexibility)  คือ  ความสามารถของข้อต่อต่าง ๆ ในการที่จะเคลื่อนไหวได้อย่างกว้างขวาง
            7.   ความอดทนทั่วไป  (General endurance)  คือ ความสามารถในการทำงานของระบบต่างๆ  ในร่างกายที่ทำงานได้นาน  และมีประสิทธิภาพ

 
http://krusuchinda.wordpress.com/2013/03/22/การพัฒนาสมรรถภาพทางกาย/

การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายทั่วไป  (General Physical  fitness)

 1).  การเสริมสร้างความเร็ว ( Speed )
      ความเร็วของการเคลื่อนไหว ขึ้นอยู่กับการทำงานของระบบประสาท และระบบกล้ามเนื้อและการเปลี่ยนแปลงความเร็ว ซึ่งเกิด จากระบบ ประสาทเป็นส่วนใหญ่

            เมื่อกล่าวถึงความเร็วในการออกกำลังกายแล้ว จะต้องแยกการเคลื่อนไหวออกเป็น 2 อย่าง  คือ  การเคลื่อนไหวที่ต้องอาศัยความ ชำนาญเป็นพิเศษ กับการเคลื่อนไหวแบบธรรมดาง่ายๆ  ดังนั้น  การฝึกการเคลื่อนไหวที่ต้องอาศัยความชำนาญพิเศษ  เพื่อเพิ่มความเร็ว จึงเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่า  เช่น  ฝึกว่ายน้ำ ตีเทนนิส  หรือพิมพ์ดีด  เป็นต้น ซึ่งในช่วงแรกของการฝึกจะกระทำได้ช้า  แต่ต่อมา จะสามารถ เพิ่มความเร็วขึ้นได้เรื่อยๆ  และในการเริ่มต้นของการฝึกถ้ากระทำให้ถูกวิธี  จะเป็นส่วนผลักดันให้มีการพัฒนาไปได้ไกล และมีประ สิทธิภาพอีกด้วย สำหรับความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนไหวแบบธรรมดานั้น  ได้แก่  การแข่งขันวิ่งเร็ว ถ้าต้องการจะวิ่งให้เร็วขึ้นจะต้อง ลดระยะเวลาของการหดตัวและการคลายตัวของกล้ามเนื้อ  นั่นคือ  ความยาวของก้าวและความถี่ของก้าวจะต้องเพิ่มขึ้น ความยาวของการ ก้าวเท้าขึ้นอยู่กับความยาวของเขา  และความถี่ของการก้าวเท้าขึ้นอยู่กับความเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อ และการร่วมมือกัน ทำงานระหว่างระบบประสาทกับระบบกล้ามเนื้อ

      ความเร็วสูงสุดของคนเรานั้น จะอยู่ในช่วงอายุ 21 ปีสำหรับชาย  และ 18 ปีสำหรับหญิง  ในการที่จะเพิ่มความเร็วอาจจะกระทำได้อีก  กล่าวคือ

1.      เพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อที่ใช้เหยียดขา
2.      ฝึกวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการร่วมงานกันของกลุ่มกล้ามเนื้อ
3.      แก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคนิคและกลไกของการวิ่ง 

2).   การเสริมสร้างพลังกล้ามเนื้อ (Muscle  Power)

พลังของกล้ามเนื้อเกิดจากการรวมของปัจจัยต่อไปนี้
1.      แรงที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อหลาย ๆ มัด  ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในกลุ่มเดียวกัน
2.      ความสามารถของกล้ามเนื้อในกลุ่มเดียวกันที่ทำงานประสานกับกล้ามเนื้อของกลุ่มตรงข้าม
3.      ความสามารถทางกลไกในการทำงานของระบบคนระหว่างกระดูกกับกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง 

3). การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle Strength)

            จากหลักการที่ว่า  วิธีที่จะทำให้เกิดความแข็งแรงได้นั้น  จะต้องฝึกให้กล้ามเนื้อทำงานต่อสู้กับแรงต้านทานหรือน้ำหนักที่สูงขึ้น  โดยวิธีเพิ่มแรงต้านทานทีละน้อยเป็นระยะเวลานาน

            วิธีการฝึกเพื่อพัฒนาความแข็งแรงนั้นมีหลายแบบ  ซึ่งแต่ละแบบต่างก็ยึดเอาแรงต้านทาน  เป็นสำคัญสำหรับพัฒนาความแข็ง แรงของกล้ามเนื้อ  หรือยึดหลัก “Overload  Principle” โดยให้ร่างกายฝึกเลยขีดความสามารถปกติ (Normal Capacity) สักเล็กน้อย  ซึ่งการออกกำลังกายที่เกินขีดความสามารถนี้จะทำให้ร่างกายเกิดการสับสน ในระยะ 2 – 3 วันแรก  หลังจากนั้น  ร่างกายจะมีการปรับ ตัวให้เข้ากับสถานการณ์  โดยปกติหากเราให้เวลาแก่ร่างกาย เพื่อการปรับตัวประมาณ 1 เดือน   จะทำให้ร่างกายทำงาน ในขีดความ สามารถธรรมดาใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  นั่นคือ  ร่างกายมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น  ขีดความ สามารถก็สูงขึ้นด้วย  ในปัจจุบัน วิธีการฝึกเพื่อพัฒนาความแข็งแรง จะใช้การฝึกแบบ Isometric  Exercise

 4). การเสริมสร้างความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscle  Endurance)

            ในการเสริมสร้างความอดทนหรือทนทานของกล้ามเนื้อ  เท่ากับเป็นการเสริมสร้างการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด ระบบหาย ใจ  และระบบกล้ามเนื้อ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การฝึกเพื่อเสริมสร้างคุณสมบัติดังกล่าว  ก็คล้ายกับการฝึก เพื่อเสริมสร้าง ความ แข็งแรง  เพราะต่างก็ยึดหลัก   Overload  Principle  พร้อมทั้งมีความเข้มข้น ระยะเวลา  และความบ่อยอย่างเพียงพอ  และเหมาะสม สำหรับแต่ละคน

 5).  การเสริมสร้างความคล่องตัว (Agility)

            ความคล่องตัวมีผลต่อประสิทธิภาพของการปฏิบัติกิจกรรมทุกอย่าง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่ต้องอาศัยการเปลี่ยนทิศทางหรือ เปลี่ยนตำแหน่งของร่างกาย  ที่ต้องการความรวดเร็ว และถูกต้อง เช่น  การออกวิ่งได้เร็ว  หยุดได้เร็ว  และเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อน ที่ได้รวดเร็ว ฉะนั้น  ความคล่องตัวจึงเป็นพื้นฐานของสมรรถ ภาพทางกาย  และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเล่นกีฬาหลายอย่าง  เช่น บาสเกต บอล  แบดมินตัน  ยิมนาสติก  ฟุตบอล  วอลเลย์บอล เป็นต้น

6). การเสริมสร้างความอ่อนตัว  (Flexibility)

            ความอ่อนตัว หมายถึง  พิกัดการเคลื่อนไหวของข้อต่อ  (The Range of Motion at  a Joint)  ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 อย่าง คือ
1.      Static  Flexibility  หมายถึง  พิกัดการเคลื่อนไหวขณะที่ข้อต่อเคลื่อนไหวช้ามาก ๆ
2.      Dynamic  Flexibility  หมายถึง  พิกัดการเคลื่อนไหวขณะที่ข้อต่อเคลื่อนไหวเร็ว ๆ  ซึ่งมักจะมากกว่าแบบแรกเล็กน้อย

            ความสามารถของข้อต่อต่าง ๆ ในการเคลื่อนไหวได้อย่างกว้างขวาง  ก็คือ  ความสามารถในการอ่อนตัว  และการเคลื่อนไหวใด ๆ   ถ้าไม่ได้ทำบ่อย ๆ  หรือไม่ค่อยได้มีโอกาสใช้ข้อต่อบริเวณนั้นๆ  จะมีผลทำให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณ นั้นเสียความ สามารถ ในการยืดตัว  จึงทำให้การอ่อนตัวไม่ดีไปด้วย  และทำให้มีไขมันสะสมอยู่ในร่างกายเพิ่มขึ้น  เท่ากับเป็นการลดความสามารถ ของการ อ่อนตัวลงไปด้วย

     โดยทั่วไปผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายดีจะต้องมีความอ่อนตัวดี  และความอ่อนตัวจะดีได้จะต้องปราศจากข้อจำกัดต่อไปนี้  คือ

1.      โรคหรือการบาดเจ็บ ที่ทำให้ข้อต่อรวมทั้งกระดูกอ่อนที่หุ้มปลายกระดูกเสื่อมลง
2.      การมีสารที่เป็นอันตรายปรากฎอยู่ที่ข้อต่อ
3.      การอักเสบของเยื่อหุ้มข้อต่อ
4.      น้ำหล่อลื่นในข้อต่อแห้งหรือมีน้อยเกินไป 

7).  การเสริมสร้างความอดทนทั่วไป  (General  Endurance)

            ความอดทนหรือความทนทาน  หมายถึง  ความสามารถของร่างกาย ที่ทนต่อการทำงานที่มีความเข้มข้นของงาน ระดับปานกลาง ได้เป็นระยะเวลานาน

            ความอดทนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ  คือ
1.      ความอดทนของระบบไหลเวียนและระบบหายใจ  (Circulorespiratory  Endurance)
2.      ความอดทนของกล้ามเนื้อแต่ละแห่งของร่างกาย (Local  Muscle Endurance)

การทดสอบสมรรถภาพทางกลไก ( Motor  Ability  Test )

            องค์ประกอบที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน  เพื่อก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวที่มีประสิทธิภาพ  ได้แก่  ความสมดุล  ความอ่อนตัว  กำลัง  จังหวะ  การประสานงาน  ความอดทน  ส่วนสูง  น้ำหนัก  ความคล่องตัวและขนาดของร่างกาย

            จากการศึกษาของแมคคลอย (Mc’ Cloy) พบว่า สิ่งสำคัญที่มีผลต่อทักษะทางกลไก (Motor Skill)  คือ  ความแข็งแรงของกล้าม เนื้อ  (Muscle Strength)  พลังที่กล้ามเนื้อสามารถนำไปใช้ได้ (Dynamic Energy) ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทาง  (Ability to change direction)  ความอ่อนตัว (Flexibility)  ความคล่องตัว (Agility) ความสามารถในการเห็น (Peripheral Vision) การมีสายตาดี (Good Vision) ความตั้งใจ  (Concentration) ระยะเวลา (Timing)  จังหวะ (Rhythm)  และการเข้าใจถึงกลไก เทคนิคของกิจกรรมนั้น  รวมทั้งการประสานงานของ



ที่มา-http://ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_o_ebook/html/013/121.htm

<< Go Back