<< Go Back

           ความสามารถทางกลไกเป็นความสามารถของนักกีฬาที่จะต้องปฏิบัติกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สมรรถภาพทาง กาย ด้าน ต่างๆ ให้เกิดความสัมพันธ์ ทั้งการฝึกซ้อมและการแข่งขัน ความสามารถทางกลไกประกอบด้วย 5 ประการคือ

  1. ความแข็งแรง (Strength)
  2. ความเร็ว ผSpeed)
  3. ความทนทาน (Endurance)
  4. ความอ่อนตัว (Flexibility)
  5. การประสานสัมพันธ์ประสาทกล้ามเนื้อ (Coordination)

           1  ความแข็งแรง (Strength)
           เป็นความสามารถกล้ามเนื้อที่หดตัวกระทำต่อแรงต้านให้ได้สูงสุด เช่นการยกน้ำหนัก การผลัก การดัน เป็นต้น มีความสำ คัญใน การ เล่นกีฬา ทุกชนิดทุกเพส ทุกวัย ความรุนแรงของการหดตัวจะขึ้นอยู่กับกระแสประสาทที่มากระตุ้น ถ้ากระแสประสาทหลั่ง มากระ ตุ้นเซลล์กล้ามเนื้อ มากการหดตัวของกล้ามเนื้อก็จะเกิดได้แรงมากตามไปด้วย ความแข็งแรงประกอบด้วย

  1. ความแข็งแรงสูสุด (Maximum Strength) เป็นความสามารถของกล้ามเนื้อที่หดตัวกระทำต่อแรงต้านได้แรงสูงสุดใน 1 ครั้ง เช่น การยกน้ำหนักได้น้ำหนักมากที่สุดเท่าที่จะสามารถยกได้เป็นต้น
  2. ความแข็งแรงแบบอิลาสติก (Elastic Strength) เป็นความสามารถของกล้ามเนื้อที่หดตัวกระทำต่อแรงต้านด้วยความ รวดเร็ว เช่น การทุ่ม การขว้าง การกระโดด  เป็นต้น
  3. ความแข็งแรงแบบทนทาน (Strength Endurance) เป็นความสามารถของกล้ามเนื้อที่หดตัวระทำต่อแรงต้านซ้ำๆกัน ได้นานที่สุด เช่น การดึง การปล้ำในมวลปล้ำ เป็นต้น


                      1.1  การพัฒนาความแข็งแรง (Strength Development)  
                      การฝึกเพื่อพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมีวิธีการมากมาย การฝึกด้วยน้ำหนักหรือการฝึกด้วยแรงต้านเป็นอีกวิธีการ หนึ่งที่พัฒนาความ แข็งแรงได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสามารถกำหนดความหนักในการฝึกได้ถูกต้องชัดเจนมากกว่าวิธีการอื่น น้ำหนักจาก การฝึกจะกระตุ้นเซลล์กล้าม เนื้อให้เกิดการพัฒนาให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น(hypertrophy) ทำให้การหดตัวของกล้ามเนื้อแต่ละครั้ง ได้แรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ความหนักที่ใช้ในการฝึก จะเป็นตัวกำหนดขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อเช่นเดียวกัน การฝึกความแข็งแรงแบบทนทาน ของกล้ามเนื้อขนาดของกล้ามเนื้อจะมีขนาดเล็กกว่าการฝึก ความแข็งแรงสูงสุด การฝึกเพื่อพัฒนาความแข็งแรงควรพิจารณาดังนี้

      1. Resistance หมายถึงความหนักหรือแรงต้านที่ใช้ในการฝึกจะต้องเหมาะสมกับการฝึกความแข้งแรงแต่ละแบบ
      2. Repetitions หมายถึงจำนวนครั้งของการฝึก การฝึกความแข็งแรงแต่ละแบบจะใช้จำนวนครั้งในการฝึกที่แตกต่างกัน การฝึกความแข็งแรงสูงสุด จะใช้น้ำหนักมากการฝึกความแข็งแรงแบบทนทานจะใช้น้ำหนักน้อย
      3. Set หมายถึงจำนวนเวทหรือจำนวนยกที่ฝึกแต่ละวัน

           2  ความทนทาน (Endurance)
           ความทนทานเป็นสมรรถภาพทางกายพื้นฐานที่จะส่งเสริมสนับสนุนสมรรถภาพทางกาย  ด้านอื่นๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งแบ่งป็น 2 ชนิด

    1. ความทนทานแบบแอโรบิค (Aerobic endurance)
    2. ความทนทานแบบแอนแอโรบิค (Anaerobic endurance)

                      2.1  ความทนทานแบบแอโรบิค (Aerobic endurance) 
                      แอโรบิค หมายถึง ต้องมีการใช้ออกซิเจนในการสันดาปพลังงานในการทำงาน  ของกล้ามเนื้อ การสันดาปพลังงาน ที่มีออกซิเจนจะให้พลังงานได้มากกว่าที่ไม่มีออกซิเจนแต่จะให้พลังงานได้ช้ากว่าเท่านั้น และยังไม่เกิด กรดแลคติกซึ่งเป็น กรดที่ขัดขวาง การหดตัวของกล้ามเนื้อและทำให้เกิดอาการเมื่อล้าได้ง่าย การที่ร่างกายสามารถนำออกซิเจนไปใช้ได้ในระดับที่มีการออกกำลังกาย ที่หนักมากขึ้น และเป็นเวลานานได้แสดงให้ว่าร่างกายไม่เกิดกรดแลคติกที่ทำให้เกิด การล้านั้นเอง ความทนทานแบบ แอโรบิคจำเป็น ต้องได้รับการสนับสนุนที่จากระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจที่ดีจึง จะสามารถส่ง เลือดที่มีทั้ง สารอาหารและออกซิเจน ไปสู่กล้ามเนื้อได้ดี จึงทำให้นักกีฬาสามารถฝึกซ้อมหรือแข่งขันได้เป็นระยะเวลานานโดยเกิดอาการ ล้าน้อยที่สุด เช่น มารธอน จักรยาน ทางไกล เป็นต้น 
                      2.2  ความทนทนแบบแอนแอโรบิค (Anaerobic endurance) 
                      แอนแอโรบิค หมายถึง ไม่มีการใช้ออกซิเจนในการสันดาปพลังงานในการทำงาน ของกล้ามเนื้อ การสันดาป พลังงาน ที่ไม่มีออกซิเจนจะให้พลังงานได้น้อยกว่าที่มีออกซิเจนแต่จะให้พลังงานได้รวดเร็วกว่าแต่สิ่งที่ตาม จากกระบวน การสันดาปคือเกิด กรดแลคติกซึ่งเป็นกรดที่ขัดขวางการหดตัวของกล้ามเนื้อและทำให้เกิดอาการเมื่อล้าได้ง่าย นักกีฬาที่มีความทนทานด้านนี้ดีจะ ทนต่อ อาการล้าได้ดี กว่าซึ่งถือว่าได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาวต่อไป
                      2.3 การพัฒนาความทนทาน (Endurance development)
                      วิธีการฝึกเพื่อพัฒนาความทนทานที่ดีนั้นควรคำนึงถึงแหล่งพลังงานที่แต่ละชนิดกีฬาใช้เป็นหลักทั้ง ความทนทานแบบ แอโรบิค (Aerobic endurance) ความทนทานแบบแอนแอโรบิค (Anaerobic endurance) จะเป็นสัดส่วนกันในแต่ละชนิด กีฬาบาง ชนิกีฬาต้องการความทนทานแต่ละด้านแตกต่าง กันออกไป การฝึกแบบหนักสลับเบาเป็นการฝึกเพื่อพัฒนาความทนทาน ได้ดีอีกวิธี การหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้

      1. Intensity  หมายถึง ความหนัก ในการฝึกในแต่ละครั้ง
      2. Duration  หมายถึง เวลาในการฝึกแต่ละครั้ง
      3. Recovery หมายถึง การพักแต่ละครั้งหรือแต่ละเซท
      4. Recovery activity หมายถึง กิจกรรมที่กระทำระหว่างพัก
      5. Repetitions หมายถึง จำนวนครั้ง จำนวนเที่ยวในการฝึก

Aerobic Endurance

Anaerobic Endurance

60-70% maximum

@IntensityA

90-100% maximum

1-10 mins

@DurationA

10secs-2 mins

1-3 mins(or to 120 bpm)

@RecoveryA

2-10 mins

Walk/jog

@Recovery activityA

Walk/jog

Relatively high

@RepetitionsA

Relatively low

ตารางเปรียบเทียบการฝึกแบบหนักสลับเบาAerobic Endurance และ Anaerobic Endurance (Introduction to Coaching Theory.1991)

           3  ความเร็ว (Speed) 
           ความเป็นความสามารถในการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งด้วยเวลาที่น้อยที่สุดเช่น การวิ่ง 100 เมตร การว่าย น้ำ หรือความเร็ว ในการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ ความเร็วไม่ได้มีความหมายเฉพาะความเร็วเชิงเส้นเท่านั้น แต่ยังหมายความ รวมถึงความเร็วในการเปลี่ยนทิศ ทางการเคลื่อนที่ การกลับตัวเช่นในกีฬาประเภททีมต่างๆ ที่มีการวิ่งไปกลับมีทิศทางการ เคลื่อนที่ ที่ไม่แน่นอน หรือความเร็วของอวัยวะต่างๆที่ทำงาน เช่นความเร็วในการทุ่ม การขว้าง การกระโดด เป็นต้น 
                      3.1  การพัฒนาความเร็ว (Speed development)
                      ในการพัฒนาความเร็วจำเป็นต้องมีสมรรถภาพทางกายด้านอื่นเป็นพื้นฐานโดยเฉพาะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพื่อใช้ใน การหดตัวของ กล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว และในการฝึกเพื่อพัฒนาความเร็วจำเป็นต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร ในการฝึกเนื่องจาก เกี่ยวข้องทั้งระบบกล้ามเนื้อ และระบบประสาทสั่งการ นอกจากนี้ความเร็วยังมีองค์ประกอบคือ

      1. เวลาปฏิกิริยาการตอบสนอง (reaction time)
      2. เวลาในการเคลื่อนไหว (movement time)
      3. เวลาการตอสนอง (response time)

           4  ความอ่อนตัว (Flexibility) 
           เป็นความสามารถในการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ การยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อนั้นๆ ความอ่อนตัวเป็น ตัวกำหนดช่วง การเคลื่อนไหว(rang of motion) ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และพังผืด รอบข้อต่อ นักกีฬาที่มีความ อ่อนตัวดีจะส่งเสริมการเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญช่วยยังป้องกันและลดการ บาดเจ็บ จากการเล่นกีฬา ส่วนนักกีฬาที่มี ความอ่อนตัวน้อยการเคลื่อนไหวกะลดประสิทธิภาพลงและนำไปสู่ปัญหาการบาดเจ็บตามมา ความอ่อนตัว จะลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้นจำเป็นต้อง มีการฝึกเป็นประจำ 
                      4.1  การพัฒนาความอ่อนตัว 
                      ความอ่อนตัวสามารถพัฒนาได้ด้วยดารยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ข้อต่อต่างๆ ยิ่งมีการฝึก  มากเท่าไรความอ่อนตัวจะเพิ่มมากขึ้น ตามไปด้วย โดยเฉพาะกีฬาประเภททีมความยืดหยุ่นของข้อเท้าสะโพกเป็นสิ่งที่สำคัญ การยืดเหยียดมี 2 วิธี คือ

                      การยืดเหยียดแบบแอคทีฟ (active stretching)  เป็นการยืดเหยียดด้วยตนเองสามารถความคุมระยะหรือช่วงของการเคลื่อน ไหวได้ด้วยตนเอง ทั้งและอยู่กับที่และเคลื่อนที่

              

                      การยืดเหยียดแบบแพสสีฟ (passive stretching)  เป็นการยืดเหยียดที่มีผู้ช่วยเพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวให้มากกว่า ที่สามารถปฏิบัติได้เอง จะทำให้เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวได้มากขึ้น

                   

           5  การประสานสัมพันธ์ประสาทกล้ามเนื้อ (Coordination)
           คนส่วนใหญ่เชื่อว่าการประสานสัมพันธ์ประสาทกล้ามเนื้อ (Coordination) เป็นเรื่องของกรรมพันธุ์หรือพรสวรรค์ ซึ่งก็เป็น ความจริงอยู่บ้าง ซึ่งเป็นความสามารถที่หลากหลายในการเคลื่อนที่อย่างสมดุลในการปฏิบัติทักษะต่างๆ  การประสานสัมพันธ์ประสาท กล้าม เนื้อ จำเป็นต้อง อาศัยสมรรถภาพทางกายทุกด้านนำมาผสมผสานกันในการเคลื่อนที่ เคลื่อนไหว หรือปฏิบัติทักษะต่างๆ การประสานสัมพันธ์ประสาทกล้ามเนื้อ เป็นสิ่งที่สามารถฝึกได้ โดยเฉพาะถ้าเริ่มฝึกตั้งแต่ยังเด็ก นอกจากนี้การฝึกเฉพาะเจาะจง ไม่ได้ช่วยในการฝึกการประสาน สัมพันธ์ประสาท กล้ามเนื้อได้ดีเท่าไรนัก ดังนั้นนักกีฬาควรได้รับการฝึกที่หลากหลาย ด้วยกิจกรรม ต่างๆ ตั้งแต่ไม่มีอุปกรณ์และมีอุปกรณ์ประกอบ

ไดอะแกรมวงกลม

ความสัมพันธ์ของสมรรถภาพทางกาย ( Introduction to Coaching Theory.1991)

           สมรรถภาพทางกายเป็นสิ่งสำคัญ  ในการช่วยเสริมสร้างให้บุคคลสามารถประกอบภารกิจและดำรงชีวิตอยู่อย่างประสิทธิภาพ  รวมทั้งทำให้บุค คลปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ  และมีความแข็งแรง  ทนทาน  มีความคล่องแคล่วว่องไวที่จะประกอบภารกิจประจำวัน ให้ลุล่วง ไปด้วยดี  นอกจากนี้  ยังก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านจิตใจและอารมณ์ควบคู่กันไปด้วย  ในเรื่องของสุขภาพส่วนบุคคลนั้น  ความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจมี ความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับสมรรถภาพทางกาย  หรืออาจจะกล่าวว่า  มีรากฐานจากการมี สุขภาพดี  ถ้ามีร่างกายอ่อนแอ  สุขภาพไม่สมบูรณ์  ความสามารถของร่างกายที่จะปรกอบภารกิจต่างๆ  ในชีวิตประจำวันก็ลดน้อยลง ด้วย   สมรรถภาพทางกายเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเสริมสร้างให้บุคคลสามารถประกอบภารกิจและดำรงชีวิตอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ รวม ทั้งยังทำให้ บุคคลปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและมีความแข็งแรงทนทาน  มีความแคล่วคล่องว่องไว  ที่จะประกอบภารกิจประจำวันให้ลุล่วง
ไปด้วยดี  นอก จากนี้ยังก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านจิตใจและอารมณ์ควบคู่ไปด้วย  ในเรื่องของสุขภาพส่วนบุคคลนั้น  ความสมบูรณ์ ของ ร่างกายและจิต ใจมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับสมรรถภาพทางกาย หรืออาจจะกล่าวว่าสมรรถภาพทางกายมีราก ฐานจาก การ มีสุขภาพดี  ถ้าร่างกายอ่อนแอ สุขภาพไม่สมบูรณ์  ความสามารถของร่างกายที่จะประกอบภารกิจต่างๆ  ในชีวิตประจำวันก็ย่อมลดน้อย ลงด้วย  อย่างไรก็ตาม  สมรรถภาพทางกายสามารถสร้างขึ้นได้ด้วยการทำให้ร่างกายได้ออกกำลังกายหรือมีการเคลื่อนไหวเท่านั้น  สมรรถภาพทาง กายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้และหายไปได้  การที่เราจะรักษาให้ร่างกายมีสมรรถภาพคงอยู่เสมอนั้น  จำเป็นต้องมีการ ออกกำลัง กายเป็นประจำเพื่อ ให้มีสมรรถภาพทางกายที่คงสภาพและเป็นการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายให้ดียิ่งๆ  ขึ้น  ไปอีกด้วย  นอกจากนี้แล้วยังเป็นประโยชน์ในการ ป้องกันโรคภัยเบียดเบียน  โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากการขาดการออกกำลังกายได้อีกด้วย  เช่น 

1. ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ 
2. เพิ่มพูนประสิทธิภาพของระบบต่างๆ  ในร่างกาย  เช่น  ระบบหมุนเวียนโลหิต  ระบบหายใจ  ระบบการย่อย อาหาร  ฯลฯ
3. ทำให้รูปร่างและสัดส่วนของร่างกายดีขึ้น 
4. ช่วยควบคุมมิให้น้ำหนักเกินหรือควบคุมไขมันในร่างกาย 
5. ช่วยลดความดันโลหิตสูง 
6. ช่วยลดไขมันในเลือด 
7. เพิ่มความคล่องตัว  เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน

ประโยชน์ทั่วไป 

1. ทำให้ทรวดทรงดี 
2.  ร่างกายมีความต้านทานโรค 
3.  ระบบต่างๆ  ทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 
4.  การตัดสินใจดีขึ้น 
5.  มีทักษะดีขึ้น 

ประโยชน์ทางร่างกาย 

1.  กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง 
2.  กล้ามเนื้อมีความทนทาน 
3.  อัตราการเต้นของหัวใจจำนวนครั้งน้อยลง  แต่การสูบฉีดของหัวใจมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 
4. การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายดีขึ้น 
5. ความอ่อนตัวดีขึ้น 
6. กล้ามเนื้อฉีกขาดได้ยาก 
7. พลังกล้ามเนื้อสูงขึ้น 
8. ความสัมพันธ์ในการใช้มือใช้เท้าดีขึ้น 
9. การประกอบกิจกรรมในแง่  ทุ่ม  พุ่ง  ขว้าง  กระโดด  มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 
10. การทรงตัวดีขึ้น

ประโยชน์ทางเกี่ยวกับประกอบอาชีพ 

           เป็นที่ยอมรับกันว่าสมรรถภาพทางกายมีบทบาทและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดต่อการทำงานทุกอาชีพ  เนื่องจากการมีสมรรถภาพ ทางกายดีช่วย ให้คนเราสามารถประกอบอาชีพได้เป็นระยะเวลานานและมีปริสิทธิภาพสูง  นอกจากนี้ยังช่วยให้คนเรามีความสามารถ ที่จะ ต่อสู้กับความยุ่งยาก ในชีวิตไม่เกิดความตึงเครียดทางอารมณ์  และสามารถปรับจิตใจและอารมณ์ให้เหมาะกับสภาพของแต่ละบุคคล ได้  สมรรถภาพทางกายจึงเป็น ปัจจัย ที่สำคัญต่อการประกอบอาชีพ 

ประโยชน์ต่อด้านสังคม 

           เราเคยได้ยินกันบ่อยๆ ว่า “เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า” เยาวชนที่มีสมรรถภาพทางกายดีในวันนี้จึงอาจเป็นผู้ใหญ่ที่มีสมรรถ ภาพทาง กายดีวันหน้าด้วย  ถ้าหากเยาวชนทุกคนเห็นความสำคัญของสมรรถภาพทางกาย และพยายามเสริมสมรรถภพทางกายให้ดี อยู่เสมอจน กระทั่งเป็ นผู้ใหญ่  ย่อมจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไปภายหน้า  อันจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคม โดยส่วนรวม  หากเยาวชนทุกคน ปฏิบัติตนเช่นว่าวันนี้ได้แล้วก็น่าจะกล่าวอย่างภาคภูมิใจได้อีกว่า  “ความมีสมรรถภาพทาง กายดีหรือ ความ แข็งแรงของเด็กวันนี้  ก็คือ  ความ แข็งแรงของประเทศชาติในอนาคต”  (วันใหม่  ประพันธ์บัณฑิต:2548)

 ประโยชน์ด้านการกีฬา

           ในการคัดเลือกนักกีฬาเพื่อทำการแข่งขันระดับนานาประเทศ  หรือ  ระดับโลก  ปัจจัยสำคัญที่จะต้องเน้นก็คือ   สมรรถภาพทางกาย ของนักเรียน มีความสมบูรณ์เพียงพอหรือไม่  คงไม่มีใครคัดเลือกนักกีฬาที่เก่ง แต่สมรรถภาพทางกายไม่ดีเพราะขาดการฝึกซ้อม  แต่ถ้า หากมีนักกีฬาที่ ชนะเลิศและมีสถิติใกล้เคียงกัน  แน่นอนผู้ทำการคัดเลือกก็ต้องเลือกนักกีฬาที่มีสมรรถภาพทางกายดีกว่า  โดยทำการ ทดสอบสมรรถภาพทางกายในแต่ละด้าน  (วันใหม่  ประพันธ์บัณฑิต  2549)

ที่มา-http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/vni/Program/unit4/p6.html

<< Go Back