<< Go Back

ทักษะพื้นฐานที่ใช้ในกีฬาแบดมินตัน

การจับไม้แบดมินตัน
          ก่อนที่จะเรียนรู้ถึงทักษะการเล่นกีฬาแบดมินตันใด ๆ ผู้เรียนจะต้องจับไม้แบดมินตันให้ถูกวิธีเสียก่อน วิธีการคือ ผู้ที่ถนัดมือขวา ก็ใช้มือขวาจับโดยยื่นมือขวาออกไปข้างหน้าเหมือนกับการจับมือกับบุคคลอื่นที่ถูกแนะนำให้รู้จักโดยให้นิ้วทั้ง 4 กำรอบด้ามไม้แบด มินตัน นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จะอยู่ตรงด้านสันของด้ามไม้แบดมินตันเป็นรูปตัว วี โดยตำแหน่งนิ้วหัวแม่มือจะทาบ อยู่ทางด้านแบน ของด้ามไม้แบดมินตัน

การจับลูกแบดมินตัน

          เมื่อรู้ถึงวิธีการจับไม้แล้วต่อไปก็ต้องรู้ถึงการจับลูกขนไก่ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประกอบการเล่นกีฬาแบดมินตัน การจับลูกขนไก่มีความ สำคัญอย่างมากในการเสิร์ฟลูกการจับลูกขนไก่ที่นิยมกันมี3วิธีคือ

  1.  จับที่หัวไม้คอร์กของลูก โดยใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลางจับลูก
  2. จับที่ปลายขนไก่ด้านในของลูกโดยใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้
  3.  จับโดยการวางลูกอยู่บนฝ่ามือ

การส่งลูก

          การส่งลูกเป็นวิธีการของการเริ่มเล่นในการเล่นหรือฝึกทักษะแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเริ่มฝึกตีลูกแบบต่าง ๆ ตลอดจนเริ่ม การแข่งขัน การส่งลูกจะส่งได้ทั้งลูกหน้ามือและหลังมือซึ่งวิธีการส่งมีดังนี้ การส่งลูกหน้ามือ

  1.  ผู้ที่จะส่งลูกจะยืนห่างจากเส้นกลางสนามและเส้นส่งลูกสั้นประมาณ 2-3 นิ้ว(ในกรณีเล่นประเภทคู่) และยืนห่างเส้นส่งลูก สั้นประมาณ 2-3 ฟุต(ในกรณีเล่นประเภทคู่)
  2. ยืนให้เท้าช้ายอยู่ข้างหน้าสำหรับผู้ที่ถนัดมือขวา ย่อเข่าเล็กน้อย เท้าทั้งสองข้างจะไม่ยกพ้นพื้นสนามเวลาส่งลูก
  3.  ใช้มือซ้ายจับลูกขนไก่ งอแขนพอประมาณ มือขวาเงื้อไม้ระดับเอวพร้อมที่จะส่งลูก
  4.  ตามองเป้าหมายที่จะส่งลูก ปลอยลูก พร้อมกับตวัดแขนมาข้างหน้าเมื่อไม้สัมผัสกับลูกให้กระดกข้อมือช่วยส่งลูก ไปยังทิศทาง ที่ต้องการ
การส่งลูกหลังมือ
  1.  ผู้ที่จะส่งลูกจะยืนห่างจากเส้นกลางสนามและเส้นส่งลูกสั้นประมาณ 2-3 นิ้ว
  2.  ยืนให้เท้าขวาอยู่ข้างหน้าสำหรับผู้ที่ถนัดมือขวา ย่อเข่าเล็กน้อย เท้าทั้งสองข้างจะไม่ยกพ้นพื้นสนามเวลาส่งลูก
  3.  ใช้มือซ้ายจับลูกขนไก่ บริเวณปลายขนไก่ทางด้านซ้ายของลำตัวหลังมือด้านขวาอยู่ด้าน หน้า งอแขนพอประมาณ มือขวาเงื้อ ไม้ระดับเอวพร้อมที่จะส่งลูก
  4.  ตามองเป้าหมายที่จะส่งลูก ปลอยลูก พร้อมกับตวัดแขนมาข้างหน้าเมื่อไม้สัมผัสกับลูกให้กระดกข้อมือช่วยส่งลูก ไปยังทิศทาง ที่ต้องการ

การยืน
          หลักการยืน ที่สำคัญที่สุด คือไม่ควรยืนเท้าตาย ควรยืนโดยใช้เท้าใดเท้าหนึ่งนำหน้า(เท้าใดก็ได้)เพื่อการเคลื่อนไหวที่ สะดวกขึ้น ไม่ว่าจะไปข้างหน้า ขัางหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา การเคลื่อนที่ของเท้าที่ดี คือ การก้าวเท้าแบบสืบเท้า(Slide)

การเคลี่อนที่ของเท้า
          ในการเล่นกีฬา การเคลื่อนที่ของเท้าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะทำให้เกิดความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว การเคลื่อนที่ ที่เรียกว่า "ฟุตเวิร์ค" นั้นต้องความเร็วมากๆ เพราะการเคลื่อนที่ของเท้าไม่เหมือนกัน แล้วแต่ลักษณะการตีลูกโดยมากจะใช้การ สืบเท้า(Slide) เพราะมีการทรงตัวดี เคลื่อนที่ได้สะดวก เปลี่ยนทิศทางได้ง่าย โดยเฉพาะการตีลูกหลังมือ ต้องมีการเคลื่อนที่ของท้าเพื่อให้ตีทัน และสาเหตุที่ทำให้ตีไม่ทันก็เพราะการเคลื่อนที่ของเท้าไม่ดีนั่นเอง 

การจับไม้
          การจับไม้แบดบินตันควรจับให้คล่องมือ และรักษาหน้าไม้ให้ตีลูกได้ทั้งหน้ามือและหลังมือ ในการจับไม้ที่ดี ไม้แบดฯต้องตั้งฉาก พื้น ใน ลักษณะตะแคงจับที่ด้ามบริเวณที่มีผ้าพันหรือหนังพัน ให้สันมืออยู่ระดับเดียวกับไม้แบดฯ ตรงปลายสุดด้ามของ ไม้อยู่ที่ง่าม มือพอดี

การใช้ข้อมือและนิ้ว
          การใช้ข้อมือและนิ้วสำคัญต่อการเล่นแบดบินตันมาก เพราะแบดบินตันต้องอาศัยจังหวะ ข้อมือและนิ้วช่วยในการตีลูกเพื่อ จะได้
เสริม ให้เกิดความแรงและเร็ว การบังคับลูกซ้ายขาวอยู่ที่ข้อมือเป็นสำคัญ เพราะถ้าใช้ข้อมือและนิ้วดีเท่าใด ก็มีโอกาศใช้หน้า ไม้ดีด้วย

การตีลูกจ้าาา..
          ในการตีแบดนั้น สิ่งที่จำเป็นที่สุด...ก้อ..คือ...การตีลูก(ถ้าไม่งั้นจะเล่นได้ไงล่ะ เป่าลูกกันมั้ง..อิอิ)ในการตีลูกนี้จะมี แบ่งออกเป็น หลาย แบบ ด้วยกันนะคะ ไม่ว่าจะเป็น การตีลูกหน้ามือ ที่เราตีๆกันอยู่นี่แหละค่ะ เช่นลูกตบ ลูกตีโต้ ลูกหยอด ฯลฯ ก็ต้องใช้ลูก หน้ามือ ทั้งนั้นแหละค่ะ และก็มี การตีลูกหลังมือ (ไม่ใช่หลังแหวนนะคะ) ก็มีความสำคัญพอๆกันแหละคะ เอาเป็นว่า เราไปดูกันดีกว่านะคะว่า การตีลูกทั้งสองแบบนี้เป็นยังไง อิ....อิ

ลูกหยอด
          การจับไม้และยืนให้อยู่ในสภาพพร้อมตลอดเวลา การเล่นลูกหยอดต้องเล่นด้วยไหวพริบจริง และสามารถเล่นได้ทั้งหน้ามือ และหลังมือ การหยอดลุกต้องตีเบาๆต้องฝึก ให้ชำนาญก็จะรู้จังหวะของการหยอด การเล่นลูกหยอดเพือหลอกล่อคู่ต่อสู้ให้ส่งลูกโด่งทำ ให้เรา สามารถ ตบได้ง่ายหรือเราอาจ ไม่ตบแต่หยอดต่อก็ได้วิธีนี้อาจทำ ให้คู่ต่อสู่เสสียหลักไม่สามารถรับลูกได้ ข้อปฏิบัติในการเล่น ลูกหยอด 1. ยืนพร้อมเสมอที่จะทำการเล่น ว่าจะเล่นด้วยหน้ามือ หรือหลังมือ 2. การจับไม้พร้อม ที่จะเล่นได้ด้วยหน้ามือ และหลังมือ 3. ตัดสินใจว่าจะเล่นลูกหยอดด้วยหน้ามือ หรือหลังมือ 4. ต้องทราบว่าเมื่อหยอด ไปแล้วคู่ต่อสู้จะต้องโต้มาด้วยลูกใด 5. การหยอดที่ดีลูก ต้องอยู่ใกล้ตาข่ายมากที่สุด 6. เท้านำ ในการหยอดควรใช้เท้าข้างเดียวกับมือที่ตี 7. ใช้ข้อมือช่วยเล่นในการหยอดมากๆ

ส่งลูก
          เป็นการเล่นระยะแรกที่สำคัญ เพราะการส่งลูกที่ดีจะทำให้คู่ต่อสู้ไม่สามารถทำแต้มได้ และมีโอกาสตบทำลายลูก โต้ของคู่ต่อ สู้ ได้ง่าย

1. จับไม้ได้พอเหมาะที่จะตีทั้งหน้ามือและหลังมือ
2. ยืนพร้อมเสมอโดยใช้เท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ด้านหน้า
3. หันด้านซ้ายมือเข้าหาตาข่าย เมื่อตีด้วยมือขวา
4. ปล่อยลูกลงด้วยมือซ้ายระหว่างเท้าซ้ายและเท้าขวา
5. ตีเมื่อลูกตกต่ำกว่าระดับสะเอว โดยการหงายมือข้างที่จับไม้แบดขึ้นตีเบาๆ ด้วยการใช้ข้อมือ ให้ลูกตกไปทาง
ด้านหลัง หรือเฉียดตาข่ายไปตกทางด้านหน้าก็ได้แล้วแต่ประเภทของการเล่น
6. ในการส่งลูกเท้าทั้งสอง ต้องอยู่ในสนามของฝ่ายส่งลูกทั้งสองเท้า ไม่เคลื่อนที่ไปก่อนที่จะได้ส่งลูกแล้ว

การตีลูกตบ
          การตีลูกตบเป็นลูกที่สำคัญ เพราะเป็นทั้งลูกโต้และลูกทำคะแนน ในการเล่นลูกตบมีหลักปฏิบัติดังนี 1. ถ้าเป็นลูก โด่งเกือบข้าม ศรีษะ จะตบโดยใช้ข้อมือ การตบแรงอาจยกเท้าใดเท้าหนึ่งขึ้นเพื่อเป็นการถ่ายน้ำหนัก 2. ถ้าเป้น ลูกโด่งเฉียงไปทางขวา ต้องเขย่งตัวตบ หรือกระโดดตบ จะตบลูกไปทางด้านซ้าย หรือด้านขวา ขึ้นอยู่กับการพลิกหน้าไม้ 3. ถ้าเป็นลูกมาทางด้านซ้ายมือต้องตบด้วยลูกหลังมือ 4. ต้องตบทแยงให้เฉียดตาข่ายลงพื้น ให้ตกลงพื้นให้ห่างคู่ต่อสู้มากๆ หรือไม่ก็ให้ถูกตัวคู่ต่อสู้ได้ก็ยิ่งดี

ที่มา-http://phitak.wikispaces.com/ทักษะในกีฬาแบตมินตัน

 

รู้จักแหล่งที่มาของแรงตีลูก

          นักเล่นหัดเล่นใหม่ตีลูกไปสักพักหนึ่ง ก็จะเริ่มฉุกคิดขึ้นมาว่าทำไมการตีลูกของตนจึง ไม่มีแรงส่งอย่างใจนึก เหวี่ยงแร็ก เก็ตหวดตีลูกเต็มแรงแล้วลูกยังไปไม่ถึงหลังให้เรามาช่วยกันคิดดูว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คำตอบก็คือ การตีลูกในกีฬาแบดมินตัน ไม่เหมือน การตีลูกเทนนิสหรือสคว๊อชเพราะลูกขนไก่มีน้ำหนักเบาการตีลูกขนไก่ให้พุ่ง ไปข้างหน้าอย่างแรง จึงต้องอาศัยจังหวะที่ สมบูรณ์ผสมผสานกันของแรงเหวี่ยงที่มาจากแหล่งต่าง ๆ ของแรงตีลูกแหล่งที่มาของ แรงตีลูกจำแนกออกได้จาก 3 แหล่งใหญ่ คือ

  1. แรงที่เกิดจากการถ่ายเปลี่ยนน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า

  2.  แรงที่เกิดจากการเหวี่ยงของลำแขน

  3.  แรงที่เกิดจากการตวัดและการสะบัดอย่างแรงของข้อมือ

          การตีลูกให้แรงในกีฬาแบดมินตันนั้น จะต้องเกิดจากจังหวะการประสานงานระหว่างแรงเหวี่ยงตีลูกของแขน เสริมด้วยแรงตี วัดและแรงสะบัดของข้อมือ หนุนด้วยแรงที่เกิดจากการเปลี่ยนน้ำหนักตัวของฟุตเวิร์ค จากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า ที่ผสมผสานกลมกลืนกัน ถ้าการประสานงานขององค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมานี้เกิดผิดจังหวะในช่วงใดช่วงหนึ่ง การตีลูกจะมีผลที่ไม่สมบูรณ์ ลูกที่พุ่งจาก หน้าแร็กเก็ตจะไม่แรงตามต้องการ แรงดีดสะบัดของข้อมือ มีช่วงเวลาของการดีดลูกตวัดสั้นกว่าการเหวี่ยงตีลูกด้วยลำแขน แรงที่เกิด การดีด ตวัดและสะบัด ของข้อมือนี้จึงมีช่วงเวลาจำกัด แรงตีลูกที่ว่านี้จึงต้องนำออกใช้ในเสี้ยววินาทีที่ถูกต้อง ไม่ก่อนหรือหลังเกินไป ในจังหวะที่ แร็กเก็ตกระทบตีถูกลูกขนไก่ แรงดีด ตวัด และสะบัดของข้อมือ นอกจากใช้เสริมแรง ตีลูกในวินาทีที่ถูกต้องแล้ว ยังมีบทบาทในการบังคับทิศทางวิ่งของลูกขนไก่ไปสู่เป้าหมายต่าง ๆ ได้หลากหลาย ความเร็วที่เกิด จากการดีด ตวัด สะบัด และพลิก ข้อมือ สามารถทำให้คู่แข่งไม่อาจจับทาง ของลูกที่พุ่งข้ามตาข่ายไปได้ ยากแก่ฝ่ายตรงข้ามในการเดาเป้าหมายของลูกเพื่อการตีลูก ที่เกิดจากแรงเหวี่ยงสมบูรณ์แบบ ผู้เล่นควรเริ่มต้นที่ฟุตเวิร์คก่อน สำหรับคนถนัดขวา ก่อนการตีลูกน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวาหลัง ในช่วงที่กำลังจะตีลูกน้ำหนัก ตัวจะเริ่มถ่ายไปสู่เท้าซ้ายหน้า การเปลี่ยนถ่ายน้ำหนักตัวนี้จะดำเนินไปพร้อมกับแรงตีลูก ที่มาอีก 2 แหล่งคือการเหวี่ยง และการดีดตวัดสะบัดข้อมือให้กลมกลืนเป็นจังหวะเดียวกัน เมื่อเหวี่ยงตีลูกไปแล้ว แรงตีลูกได้ถูกนำออก ใช้ได้ทั้ง หมด เป็นแรง ตีลูกในครั้งเดียวจะเกิดวงสะวิง ของแร็กเก็ตหรือเรียกว่าFollow Throughให้เป็นไปตามธรรมชาติ การพยายามฝืนวงสะวิง ด้วยการกระ ชากแร็กเก็ตกลับเร็วเกินไป อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่แขนหรือที่หัวไหล่ได้การฝึกหัดตีลูกในขั้นต้นนั้นควรฝึกตีเฉพาะ ลูกโด่ง เหนือศีรษะเพราะเป็น ลูกเบสิคที่ตี ได้ง่าย เหวี่ยงตีตามถนัดฝึกฝนให้มาก ๆ จนเกิดความแม่นยำจับจังหวะการ เหวี่ยงตีและ การใช้แรง จากแหล่งของการตีลูกต่าง ๆ ให้ผสมผสานเป็นจังหวะเดียว


ฟุตเวิร์คกับจังหวะของการตีลูก

          กีฬาแบดมินตัน เป็นเกมส์ที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายต้องมีการเคลื่อนย้ายตัววิ่งไล่ตีลูกตลอดเวลาผู้เล่นจึงต้องรู้จักการวิ่งเข้าออก การประชิดลูกในจังหวะที่ถูกต้อง เคลื่อนย้ายตัวเองไปอยู่ในจุดที่ถูกต้อง ตีลูกได้ถนัด ตีด้วยความสะดวก ตีลูกด้วยความง่ายดาย และสิ้น เปลือง พลังงานให้น้อยที่สุด ฟุตเวิร์ค หรือจังหวะเท้าสำหรับการ เล่นแบดมินตันมีความสำคัญมากที่สุด ฟุตเวิร์คที่ดีจะทำให้การออก ตัวสืบเท้า พาตัวพุ่งไปสู่ทิศทางต่าง ๆ รอบสนามกระทำได้ด้วยความคล่องแคล่วและฉับไวเพราะหลักการสำคัญที่สุดใน กีฬาแบดมินตัน สำหรับผู้เล่นทุก คนที่เล่นเพื่อความเป็นเลิศในระดับแข่งขัน จะต้องจำไว้ให้แม่นก็คือ - จะต้องวิ่งเข้าไปหาลูกเสมอ อย่าทิ้งช่วงปล่อย ให้ลูกวิ่งมาหา - จะต้องพุ่งตัวเข้าตีลูกให้เร็วที่สุด และตีลูกขณะที่อยู่ในระดับที่สูงที่สุด เพราะฉะนั้นในเกมการเล่นแบดมินตัน การคาดคะเน (Anticipation)เป้าหมายการตี กับวิธีทางตีลูกของฝ่ายตรงข้าม จึงจำเป็นต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ บางครั้งยังต้องใช้เทคนิคการ
“ดักลูก”เข้ามาช่วยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นประเภทคู่จะต้องอาศัยการ จับทางของคู่ต่อสู้ให้ได้มากที่สุด เพื่อการพุ่งเข้าประชิด ตีลูก ในระดับบนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้การตีลูกในระดับที่สูง จะทำให้ผู้เล่นมีโอกาส “กดลูก” บีบเกมเล่นให้ฝ่ายตรงข้ามต้อง ตกเป็นฝ่ายตั้งรับ อีกทั้งยังมี “มุมลึก” กับ“เป้าหมาย” สำหรับการตีลูกได้มากขึ้น ยิ่งตีลูกจากระดับสูงได้มากเท่าใดย่อมจะมี “มุมลึก” ของเป้าหมายได้มากเท่านั้น เช่นการกระ โดดตบพร้อมทั้งใช้ข้อมือตวัดตีลูกจิก จะทำให้ลูกสามารถข้ามไปในมุมที่ลึกกว่าการ ตบลูกจากระดับธรรมดา ถ้าทำอย่างนี้ได้ จะทำให้ลูกที่ตีข้ามไปนั้นเกิดวิถีลูกที่ข้ามไปหลากหลาย ทำให้คู่ต่อสู้เดาการเล่นของเราไม่ถูก หรือคาด การณ์ออกว่าเราจะส่งลูกไปในลักษณะใด ฟุตเวิร์ค จังหวะเท้าที่ดี เริ่มต้นที่ผู้เล่นทิ้งน้ำหนักตัวบนปลายเท้าทั้งสอง หรืออีกนัยหนึ่ง คือ ไม่ควรยืนด้วยการทิ้งน้ำหนักตัวบนแผ่นเท้าทั้งสอง ในขณะที่ยืนปลายเท้า ควรวางเท้าทั้งสองแยกจากกันเล็ก น้อยตามถนัด การยืนในลักษณะนี้ทำให้ผู้เล่นพร้อมที่จะพุ่งตัวออกจากจุดศูนย์กลางอย่างฉับไว การพุ่งออกไปไม่ว่าจะไปทางด้านหน้า ด้านหน้าซ้ายขวา ด้านข้างซ้ายขวาหรือด้านหลัง หรือหลังซ้ายขวา ผู้เล่นสามารถเคลื่อนย้ายตัวไปครอบ คลุมพื้นที่สนามได้ทั้งหมด จังหวะเท้าอาจจะซอยถี่ เป็นช่วงสั้น หรือยาวตามแต่สถานการณ์ ในกรณีที่ต้องวิ่งในระยะทางไกลควรสาวเท้าเก้ายาว เมื่อถึงจังหวะ ที่จะเข้า ประ ชิดลูกก็อาจจะซอยฟุตเวิร์คสั้นลงเพื่อเสาะ หาจังหวะการตีลูกให้กับตัวตามถนัด การสืบเท้าเข้าประชิดลูกไม่ว่าเป็นก้าวสั้น หรือก้าวยาว ควรจะพาตัวเข้าใกล้ลูกในระยะใด ผู้เล่นควรคำนึงถึงความจริงว่า ถ้าลูกห่างไกลจากตัวมาก ผู้เล่นจะเอื้อม ตีลูกด้วยความ ลำบาก แรงที่ส่งมาจากแหล่งต่าง ๆ ของการตีลูกไม่มีโอกาสได้รวมพลังใช้อย่างเต็มที่ในทำนองเดียวกัน ถ้าลูกประชิดในระยะใกล้เกินไป วงสะวิงของการเหวี่ยงตีลูกแคบแขนติดที่ช่วงไหล่ ก็จะทำให้แรงตีลูกไม่สามารถนำออก ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน ระยะห่าง จากตัวผู้เล่นในขณะที่เล่นควรจะอยู่ในระหว่าง 2-3 ฟุตจากลำตัวเป็นระยะที่กว้างพอสำหรับการตีลูกได้อย่างถนัดและเต็มเหนี่ยว ฟุตเวิร์ค หรือจังหวะเท้า จะวางอย่างไรก็แล้วแต่ ต้องไม่ลืมการตีลูกเบสิคพื้นฐาน ลูกหน้ามือ เท้าซ้ายอยู่หน้า เท้าขวาอยู่หลัง และลูกหลังมือ เท้าขวาจะอู่หน้า เท้าซ้ายจะอยู่หลัง (สำหรับผู้เล่นที่ถนัดขวาถ้าถนัดซ้ายก็สลับกัน) ฝึกฟุตเวิร์คจังหวะเท้าไปสักพักใหญ่ ๆ ทุกอย่าง จะดำเนิน ไปโดยธรรมชาติ ผู้เล่นจะไม่คำนึงหรือกังวลเรื่องของฟุตเวิร์คอีกเลย

ที่มา - http://batmint.wikispaces.com/ทักษะการเล่นกีฬาแบดมินตัน

 

<< Go Back