<< Go Back

วัฒนธรรมตะวันตก
            ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมกับชาติตะวันตกตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๕๔ ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ ๒ (พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๐๗๒) แห่งกรุงศรีอยุธยา โปรตุเกส เป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา วัฒนธรรมสำคัญที่พ่อค้าโปรตุเกสนำเข้ามาเผยแพร่คือคริสต์ศาสนารัฐบาลไทยได้เปิดรับวัฒนธรรมของชาติตะวันตกและให้ เสรีภาพในการนับถือและเผยแผ่ศาสนาแก่ชาวต่างประเทศ อนุญาตให้สร้างโบสถ์คริสต์และมีบาทหลวงคาทอลิกคณะต่างๆ เช่น โดมินิกันและฟรานซิสกัน เดินทางเข้ามาเผยแผ่ศาสนาแก่ชาวพื้นเมือง เช่น ไทย ลาว มอญ ญวน จีน ฯลฯแต่ไม่ค่อยจะประสบ ความสำเร็จ เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธและไม่สนใจเรื่องศาสนาอื่น ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกได้เจริญสูงสุด คณะบาทหลวงฝรั่งเศสนิกายเจซูอิตเข้ามามีบทบาทด้านการ เผยแผ่ศาสนา และชักชวนให้พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศสเปิดสัมพันธไมตรีกับไทย คณะบาทหลวงฝรั่งเศสได้นำศิลปวิทยา การต่างๆ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมสำคัญๆ ของตะวันตกมาสู่สังคมไทย เช่น ระบบการศึกษาในโรงเรียนการแพทย์ สถาปัตยกรรม และ วิชาการในแขนงต่างๆ เป็นต้นว่า ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๒๔๖)เป็นต้นมา สัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับชาติตะวันตกได้เสื่อมลง คณะบาทหลวงส่วนใหญ่เดินทางออกนอก ราชอาณาจักร ศิลปวิทยาการตะวันตกต่างๆ จึงมิได้สืบทอดและแพร่หลายในหมู่ราษฎร ยกเว้นศาสนาคริสต์ซึ่งยังคงเผยแผ่อยู่ใน หมู่ชาวต่างชาติและชาวไทยบางส่วนที่เลื่อมใสมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตัวอย่างของวัฒนธรรมตะวันตกที่ปรากฏในสมัย กรุงศรีอยุธยาได้แก่ เทคโนโลยีด้านการก่อสร้าง เช่น การต่อเรือการสร้างป้อมปราการ และเคหสถาน โดยใช้รูปแบบ สถาปัตยกรรมตะวันตกและเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น การหล่อปืนใหญ่ และการสร้างหอดูดาว

            วัฒนธรรมตะวันตกได้แพร่หลายมากขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ใน พ.ศ. ๒๓๗๑ ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้มิชชันนารีชาวยุโรป คือ คาร์ลกุสลาฟ (Karl Gutzlaff) และ เจคอบ ทอมลิน (Jacob Tomlin) เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกาย โปรเตสแตนต์เป็นครั้งแรก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๗๔ เป็นต้นมา มิชชัน นารีอเมริกัน เช่น หมอบรัดเลย์หมอสมิธ ฯลฯ ได้เข้ามารับผิดชอบการเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ต่อจากมิชชันนารี ชาวยุโรป และมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่วัฒนธรรมตะวันตกในสังคมไทยด้วย เนื่องจากมีโอกาสใกล้ชิดกับราษฎร ส่วนพวก คาทอลิกซึ่งเข้ามาสอนศาสนาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีก็ได้มีบทบาทมากขึ้น ตั้งแต่สังฆราชปัลเลอกัวซ์ (Pallegoix)เข้ามาไทยใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
            1. ด้านการทหาร เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้ มีการสร้างป้อมปราการ ตามแบบตะวันตก เช่น ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้าง ชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำ ปรึกษาด้านการทหาร มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก              2. ด้ารการศึกษา ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง เช่น พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการ ตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก ในสมัยรัชการลที่ 5 มี การตั้งโรงเรียนแผนใหม่ ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่ ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ ประเทศต่าง ๆ เช่น โรงเรียนแพทย์ โรงเรียนกฎหมาย ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
             3. ด้านวิทยาการ เช่น ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์ จนสามารถ คำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งโรงพยาบาล โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์ และสาธารณสุขไทย ในปัจจุบัน
             4. ด้านแนวคิดแบบตะวันตก การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง เช่นประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นอกจากนี้ วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมาก ก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์ จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย เช่น การ เข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย เช่น งานเขียนของดอกไม้สด ศรีบูรพา
             5. ด้านวิถีการดำเนินชีวิต การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย แบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป เช่น การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น การใช้เครื่องแต่งกาย แบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก การปลูกสร้างพระราชวัง อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก เช่น ฟุตบอล กอล์ฟ เข้ามาเผยแพร่ เป็นต้น โปรตุเกส เป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นำ วัฒนธรรมการทำปืนไฟ การสร้างป้อมต่อต้านปืนไฟ ยุทธวิธีทางการทหาร การทำขี้ผึ้งรักษาแผล การทำขนมฝอยทอง ขนมฝรั่ง เป็นทหารอาสาสมัยพระชัยราชาธิราช รบกับพม่า 120 คน

วัฒนธรรมตะวันตกที่รับเข้ามาเพื่อพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า
            ด้านการแพทย์และสาธารณสุข  มิชชันนารีได้นำความรู้ด้านการแพทย์และการรักษาพยาบาลแบบตะวันตก เข้ามาเผยแพร่ ควบคู่กับการเผยแผ่ศาสนา จนกระทั่งมิชชันนารีอเมริกันกลายเป็น "หมอสอนศาสนา" ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ หมอบรัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley) และหมอเฮ้าส์ (Dr. House)ได้ทำการปลูกฝี ผ่าตัด ทำคลอดและให้คำแนะนำด้านสุข อนามัยเพื่อป้องกันโรคระบาดร้ายแรง เช่น อหิวาตกโรค วิทยาการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้กลายเป็นรากฐานของการแพทย์และ สาธารณสุขไทยในปัจจุบัน เช่น การตั้งโรงพยาบาล
          ด้านการศึกษา
  มิชชันนารีอเมริกันได้นำการศึกษาในระบบโรงเรียนเข้ามาเผยแพร่ โดยได้เปิดโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ และวิชาอื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ให้กับบุคคลทั่วไป คือ โรงเรียนมัธยมสำเหร่ (หรือโรงเรียน กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ เป็นโรงเรียนสำหรับเด็กชายแห่งแรก และโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง สำหรับเด็กหญิง (หรือโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยในปัจจุบัน) เมื่อพ.ศ. ๒๔๑๙ แม้ว่าจุดประสงค์สำคัญของมิชชันนารีจะต้องการ สอนศาสนาควบคู่ไปกับการศึกษา แต่การตั้งโรงเรียนได้กลายเป็นแบบอย่างที่รัฐบาลไทยเห็นความสำคัญในการพัฒนาการศึกษา ของชาติ จึงมีการตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับบุตรหลานของเจ้านายและข้าราชบริพาร ตลอดจนโรงเรียนสำหรับเด็กไทยทั่วไป ทั้ง ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา (พ.ศ. ๒๔๖๔) ในรัชสมัยพระ-บาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีโอกาสได้รับการศึกษาดังเช่นประชากรของชาติอื่นๆ ทั้งในระดับประถมศึกษา และอุดมศึกษา
          ด้านการพิมพ์
  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อนุญาตให้มิชชันนารีนำแท่นพิมพ์มาใช้ในการพิมพ์เพื่อ เผยแผ่ศาสนาและตั้งโรงพิมพ์ การพิมพ์ได้มีบทบาทสำคัญในด้านการประชาสัมพันธ์ สื่อสารกับประชาชน และช่วยส่งเสริมการ ศึกษา ประชาชนมีโอกาสอ่านหนังสือพิมพ์เพื่อรับทราบข่าวสาร วรรณกรรมวรรณคดี ประวัติศาสตร์ ทำให้ได้รับความรู้ สร้างสรรค์ขึ้นกว่าแต่ก่อน รวมทั้งมีโอกาสแสดงความคิดเห็นผ่านหนังสือพิมพ์ที่มีอยู่ขณะนั้น เช่นบางกอกรีคอร์เดอร์ และ บางกอกคาเลนดาร์ นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ใช้การพิมพ์เป็นสื่อในการเผยแพร่ข่าวสารของบ้านเมือง ตลอดจนประกาศต่างๆ นับ ว่าการพิมพ์มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนวิถีชีวิตของสังคมไทยที่เคยเป็นสังคมปิดไม่ค่อยมีโอกาสรับทราบข่าวสารต่างๆ มากนัก
          การคมนาคมและการสื่อสาร
  ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา รัฐบาลได้พัฒนาระบบการ คมนาคมและการสื่อสาร มีการสร้างทางรถไฟและถนนเพื่อใช้เป็นเส้นทางสัญจรทางบก นอกเหนือจากการสัญจรทางน้ำ ซึ่งเป็น ทางคมนาคมสำคัญที่ใช้ ตลอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ  นอกจากนี้ยังมีการนำระบบสื่อสารซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่จากตะวันตก เข้ามา เช่น ระบบไปรษณีย์  โทรเลข โทรศัพท์  และยังได้นำรถยนต์ รถจักรยาน รถรางรถเมล์ เรือเมล์ เครื่องบิน มาใช้เป็นพาหนะ ในการคมนาคมอีกด้วย เทคโนโลยีด้านการสื่อสารและคมนาคมเหล่านี้ ล้วนมีส่วนทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการขยายตัวของชุมชนในทุกๆ ภูมิภาคของประเทศ           
            ความเจริญและเทคโนโลยีอื่นๆ
  สังคมไทยรับความเจริญต่างๆ และด้านเทคโนโลยีมาปฏิรูปประเทศหลายด้าน เช่น การ ฝึกหัดทหารแบบตะวันตก ระบบกฎหมายและการศาล และระบบการเงินการคลัง การชลประทาน และการสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ไฟฟ้า ประปา ฯลฯซึ่งล้วนเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศในเวลาต่อมา

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/52908
ที่มา : http://westernculturetothai.blogspot.com/2012/12/3-3-1.html

<< Go Back