<< Go Back

ความอ่อนน้อมถ่อมตน
            ความอ่อนน้อมถ่อมตนตรงกับภาษาบาลีว่า นิวาตะ แปลว่า ไม่มีลม ไม่พองลม แต่ควบคุมตนเองให้อยู่ในสภาพปกติที่เป็น จริง เหมือนลูกโป่งที่ยังไม่อัดลมเข้าไป ความอ่อนน้อมถ่อมตนมีลักษณะคล้ายกับความเคารพ แต่เป็นคนละความหมาย กล่าวคือ ความเคารพ (คารวธรรม) เป็นการตระหนักในคุณงามความดีของคนอื่นและสิ่งอื่น แล้วปฏิบัติต่อบุคคลนั้นและสิ่งนั้นอย่างถูก ต้องจริงใจ โดยเป็นการแสดงออกทางกายและทางวาจาเป็นหลัก ส่วนความอ่อนน้อมถ่อมตน (นิวาตธรรม) นั้นเป็นการตระหนัก ในตัวเองแล้วสามารถวางตนได้ถูกต้องเหมาะสม ไม่หยิ่งยโสโอหัง ไม่โอ้อวดเกินความจริง ไม่ยกตนสูงและกดคนอื่นให้ต่ำ มี ความสุภาพ ให้เกียรติผู้อื่น รู้กาลควรไม่ควร โดยเน้นเรื่องของภายในจิตใจเป็นหลัก

ความอ่อนน้อมถ่อมตนนั้นมีลักษณะเด่น 3 ประการ ดังนี้
            1. มีกิริยาอ่อนน้อม
            2. มีวาจาอ่อนหวาน
            3. มีจิตใจอ่อนโยน

วิธีแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน
            ความอ่อนน้อมถ่อมตนนั้นแสดงออกได้  3  ทาง  เช่นเดียวกับความเคารพ  ดังนี้
            1. การแสดงออกทางกาย  ได้แก่  การแสดงกิริยาท่าทางที่สุภาพ  นุ่มนวล  ไม่หยาบกระด้าง  ไม่ทำท่าหยิ่งยโส  ไม่มองคน ด้วยสายตาเหยียด ๆ  รู้จักแสดงความเคารพผู้ใหญ่กว่าทั้งด้านชาติวุฒิ  วัยวุฒิ  และคุณวุฒิ  รู้จักให้เกียรติแก่สตรี  และพร้อมที่จะ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น  การแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนทางกายต้องเป็นไปด้วยความจริงใจ  ไม่ใช่แสแสร้งหรือแสดงอาการ พินอบพิเทาเกินกว่าเหตุจนกลายเป็นการประจบสอพลอ
            2. การแสดงทางวาจา  ได้แก่  การพูดจริงด้วยถ้อยคำที่สุภาพ  อ่อนหวาน  ไพเราะ  น่าฟัง  ไม่หยาบคาย  นุ่มนวล  ชวนให้ สบายใจ  รู้จักใช้คำพูดที่เหมาะสม  ถูกกาละเทศะ  และถูกกับบุคคล
            3. การแสดงทางใจ  ได้แก่  การมีจิตใจอ่อนโยน  การมองโลกในแง่ดี  เนื่องจากใช้ปัญญาไตร่ตรองแล้วว่าคนเรานั้นจะให้ดี พร้อมบริบูรณ์ไปทุกอย่างเป็นไปไม่ได้  แม้ตัวเราเองก็เช่นกัน  การมีความรู้สึกนึกคิดเช่นนี้   จะทำให้การพูดและกิริยาท่าทางที่ แสดงออกมาเป็นไปด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน 
            ดังนั้นคนเราหากมีธรรมะข้อนี้ ก็จะมีคนรักและเมตตา และเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้้งหลาย ทำอะไรก็จะลุล่วงไป ด้วยดีไม่มีอุปสรรค. เพราะอานิสงส์ของความเมตตา และอ่อนน้อม

ที่มา : http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=107248.0;wap2

<< Go Back