<< Go Back
            สังคมไทย หมายถึง ชนทุกกลุ่มที่ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน โดยมีวัฒนธรรมไทยเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต สังคม ไทยมิได้เน้นเฉพาะชนเชื้อชาติไทยเท่านั้น แต่รวมถึงชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ซึ่งอาจมีเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมบาง อย่างแตกต่างกัน แต่ทุกกลุ่มยึดถือวัฒนธรรมไทยเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตร่วมกัน

ลักษณะทั่วไปของสังคมไทย
            1.ยึดถือพระมหากษัตริย์และนับถือพระพุทธศาสนา
            2. มีโครงสร้างแบบหลวม ๆ ไม่ค่อยมีการรักษากฎเกณฑ์ระเบียบอย่างเคร่งครัด  มีการผ่อนปรนใน เรื่องต่าง ๆ
             3. เป็นสังคมเกษตรกรรม  ประชากรมีชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ
            4. ส่วนใหญ่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นหลัก
            5. โครงสร้างของชนชั้นยึดสถานภาพทรัพย์สมบัติ  อำนาจ  เกียรติยศ  คุณงามความดี  เป็นเกณฑ์ การแบ่งชนชั้น
            6. มีความรักในถิ่นฐานบ้านเกิดของตน

ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดลักษณะของสังคมไทย
            1.ทางธรรมชาติ ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรและพืชพรรณธรรม ชาติ สิ่งแวดล้อมทาง ธรรมชาตินี้ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาตั้งแต่อดีต มีขนบธรรมเนียมประเพณีหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเช่นลักษณะการสร้างบ้านเรือน ประเพณีแห่นางแมว เป็นต้น
             2. สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ ศิลป ภาษาและวรรณคดี ความเชื่อ ตลอดจน ค่านิยมทาง สังคมอิทธิพลของพระพุทธศาสนาในปัจจุบันยังรับเทคโนโลยีสมัยใหม่จากสังคมตะวันตกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
วิถีชีวิตของสังคมไทยไปจากอดีต
            3. สิ่งแวดล้อมทางสังคม หมายถึง แบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคม เช่น ความเป็น ไมตรีช่วย เหลือเกื้อกูลต่อกัน การให้ความเคารพต่อผู้ใหญ่ การมีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวอย่างใกล้ชิดสนิท สนม เป็นต้น สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ยกตัวอย่างมานี้ บางอย่างก็เปลี่ยนไปจากอดีตเนื่องจากโครงสร้างประชากรของ สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป และเนื่องจากการที่ได้ติดต่อสัมพันธ์กับสังคมอื่น ๆ โดยเฉพาะอิทธิพลจากสังคมตะวันตก ทำให้สิ่งแวดล้อมทางสังคมได้ขยายกว้างออกไปกว่าเดิม และมีผลต่อรูปแบบความสัมพันธ์ในการดำเนินชีวิตของ สังคมไทยปัจจุบัน โครงสร้างของสังคมไทย

ปัญหาที่สำคัญของสังคมไทย
            1. ปัญหาความยากจน มีสาเหตุมาจาก
                        - การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว
                        - การขาดการศึกษา ทำให้ต้องประกอบอาชีพที่มีรายได้ต่ำ
                         - ขาดความชำนาญหรือทักษะในการประกอบอาชีพ จึงหางานทำยาก
                        - ครอบครัวแตกแยก เช่น หัวหน้าครอบครัวเล่นการพนัน ดื่มสุรา ทำให้เกิดความยากจน
                        - ได้รับบาดเจ็บหรือทุพพลภาพจากเครื่องจักรในโรงงาน ทำให้ทำงานไม่ได้ หรือได้น้อยลง
                        - ลักษณะอาชีพมีรายได้สม่ำเสมอ จะเห็นจากพวกเกษตรกร และกรรมกรรับจ้าง
                         - ภัยจากธรรมชาติ หรือโรคระบาด เห็นได้ชัดเจนจากการเกษตร ทำให้ผลผลิตเสียหาย ขายไม่ได้ราคา
                         - การมีบุตรมากเกินไป รายได้ไม่พอกับรายจ่าย
                        - มีนิสัยเฉื่อยชาและเกียจคร้าน เช่น ไม่กระตือรือร้นที่จะพัฒนาอาชีพของตน ไม่ชอบ ทำงาน เป็นต้น
            แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา
                         - พัฒนาเศรษฐกิจ เช่น ปฏิรูปที่ดิน ขยายการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
                        - พัฒนาสังคม เช่น บริหารฝึกอาชีพให้ประชาชน พัฒนาโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา
                         - พัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร เช่น ขยายโรงพยาบาล เสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน เป็นต้น
            2. ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมในสังคมไทย สาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อมมี 2 ประการคือ
                        1. สภาวะทางธรรมชาติ เช่น ความร้อน แสงแดด ฝนลม ทำให้สภาพภูมิประเทศถูกทำลายได้ เอง ยากที่ จะบรรเทารักษา แต่การทำลายโดยวิธีนี้ใช้เวลานานมาก
                        2. การกระทำของมนุษย์ ทำลายได้รวดเร็วและรุนแรงยิ่งกว่าธรรมชาติมากนัก สาเหตุหลักมาจาก
                                     - การเพิ่มประชากร
                                     - การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา
                                     - แก้พฤติกรรมของคนอันเป็นสาเหตุของปัญหา ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย เช่น ไม่ทิ้งขยะลงใน แม่น้ำ ไปถึงเรื่องใหญ่โตกว้างขวาง โดยการสร้างจิตสำนึกให้รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อม
                                     - อนุรักษ์สภาพแวดล้อม โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                                     - พัฒนาสภาพแวดล้อมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิม และสร้างสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ดีขึ้นมาเพิ่ม เติม
                         3. ปัญหาสิ่งเสพย์ติดยาเสพย์ติด มีหลายชนิด ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน กระท่อม แอมเฟ ตามีน บาร์บิท-เรต แอล.เอส.ดี. และสารระเหย ปัญหาสิ่งเสพย์ติดส่วนใหญ่มักจะพบในกรุงเทพมหานคร และมีแนวโน้มว่า จะเพิ่มขึ้น นับเป็นปัญหาแก่สังคมไทยอย่างร้ายแรง แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา
                                     - ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่ ครู ผู้ปกครอง โรงเรียน สื่อมวลชน ต้องประชาสัมพันธ์ให้ สังคมรับรู้ อันตรายจากสิ่งเสพย์ติด
                                    - รัฐบาลจะต้องกำหนดมาตรฐานการลงโทษแก่ผู้ค้ายาเสพย์ติด และจัดบริการบำบัดแก่ผู้ติด ยา เสพย์ติดอย่างเพียงพอ
                                    - สมาชิกในสังคมไทยโดยเฉพาะเยาวชน และผู้ใช้แรงงาน ต้องมีความรับผิดชอบตนเอง มี เหตุผล ไม่หลงเชื่อคำชักจูงของผู้อื่น
                                     - ครอบครัวจะต้องให้การอบรมบุตร ให้ความรักและความอบอุ่นทางด้านจิตใจ แก่สมาชิก ใน ครอบครัว
            4.ปัญหาโรคเอดส์ เกิดจากเชื้อไวรัสเอดส์ ชื่อภาษาอังกฤษว่า Human immunodeficiency Virus หรือ เอชไอวี (H.I.V.) กลุ่มที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มาจากผู้ที่มีพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ และติดยาเสพย์ติด ในปัจจุบันปัญหานี้เป็นภัย อย่างร้ายแรงของสังคมไทย และนับวันจะทวีมากขึ้นหากไม่มีการวางแผนป้องกันที่ดี แนวทางป้องกันและแก้ไข ปัญหา
                        - หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข จะต้องวางแผนและโครงการป้อง กันการแพร่ ของโรคเอดส์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
                         - รัฐจะต้องประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ - สร้างค่านิยมที่ถูกต้องให้สังคมไทย เช่น ผู้ชาย ไม่ควรเที่ยวหญิงบริการ เพราะจะทำให้ ภรรยาติดเชื้อได้
                         - แก้ปัญหาอื่น ๆ อันเป็นสาเหตุเกี่ยวข้องกับโรคเอดส์ เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหายา เสพย์ติด ปัญหาโสเภณี ฯลฯ
             5. ปัญหาอาชญากรรม เป็นปัญหาที่คุกคามต่อความสงบเรียบร้อยและความผาสุกของประชาชนในสังคม สาเหตุของปัญหาอาชญากรรมมีหลายประการดังต่อไปนี้
                        - เกิดความบกพร่องทางร่างกาย
                        - เกิดจากความบกพร่องทางจิตใจ
                        - เกิดจากสิ่งแวดล้อม
                        - เกิดจากการไร้ระเบียบในสังคม แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา
                        - การลงโทษผู้กระทำผิด
                        - การเข้าค่ายฝึกอบรมให้กลับประพฤติตนเป็นคนดี
                         - ให้คำแนะนำปรึกษาให้ประพฤติตนอย่างถูกต้อง
                        - การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ประชากรมีคุณภาพที่ดี
            6. ปัญหาสุขภาพอนามัย เป็นปัญหาเกี่ยวกับความเจ็บป่วยอันเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสุขภาพ อนามัย โภชนาการ การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ฯลฯ สาเหตุของปัญหาสุขภาพอนามัยมีดังนี้
                        1. ขาดความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
                        2. ขาดแคลนหมอและอุปกรณ์การแพทย์
                        3. ข้อผิดพลาดและปัญหาด้านการบริการ
                        4. ปัญหาด้านการกระจายแพทย์ไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ

ที่มา : www.mwit.ac.th/~keng/lesson05/14.doc‎

<< Go Back