<< Go Back

ความหมายของผู้บริโภค

        ผู้บริโภค เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เช่น ครัวเรือน ที่เป็นผู้ใช้สินค้า และ/หรือ บริการคนสุดท้ายที่ผลิตขึ้นภายในระบบสังคม มโนทัศน์ผู้บริโภคอาจมีได้หลากหลายขึ้นอยู่กับบริบท แม้นิยามทั่วไป คือ ปัจเจกบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อใช้ส่วนตัว มิใช่เพื่อการผลิตหรือขายต่อ (th.wikipedia.org/wiki/ผู้บริโภค)

ที่มา - http://www.vcharkarn.com/varticle/43824

    "ผู้บริโภค" ตามมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค  พ.ศ.2522 ให้ความหมายไว้ว่า  หมายถึง  ผู้ซื้อ  ผุ้ได้รับบริการจาก ผู้ประกอบ ธุรกิจ  หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจ   เพื่อให้ซื้อสินค้าหรือบริการ  และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้ รับบริการจาก ผู้ประกอบธุรกิจโดนชอบ  แม้มิได้เสีค่ายตอบแทนก็ตาม

    "ผู้บริโภคคือพระราชา"  เป็นคำกล่าวที่ให้ความสำคัญแก่ผู้ประกอบธุกิจจะอยู่ได้ต้องงอาศัยผู้บริโภค  เต่ในสังคมปัจจุบัน   ผู้บริโภค มักจะ ถูกเอารัดเอาเปรียบด้วยวิธีการต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการใช้กลยุทธ์ทางตลาดที่ขาดคุณธรรมและความรับผิดชอบ

    ในอดีตคนไทยไม่ค่อยเห็นความสำคัญในเรื่องการใช้สิทธิของผู้บริโภค จึงถูกเอารัดเอาเปรียบทั้งในด้านคุณภาพเเละราคา เเละมักจะ ไม่สนใจที่จะรักษาของตนเองให้มากขึ้น  อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ  ที่ได้รับการ คุ้มครอง ตามกฎหมาย และไม่ทราบถึงวิธีการเลือกซื้อสินค้าเเละบริการที่ถูกต้อง  ตลอดจนขาดข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสิน ค้าเเละ บริการ รวมทั้งผู้บริ โภค ยังคงมีลักษณะไม่สนใจที่จะเอาเรื่องกับผู้ประกอบธุรกิจที่เอารัดเอาเปรียบ  ยังมีลักษณะต่างคนต่างอยู่   ไม่มีการ รวม ตัวกัน เพื่อสร้าง อำนาจ ในการต่อรองเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตนเอง

ที่มา - https://sites.google.com/site/healtheducation51/bth-thi/1-1-khwam-hmay-khxng-phu-briphokh

    ผู้บริโภค  หมายถึง  ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจ  เพื่อให้ ซื้อ สิน ค้าหรือรับบริการ  และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ  แม้มิได้เสียค่าตอบแทน ก็ตาม

ก่อนและหลังซื้อสินค้าหรือใช้บริการ อย่าลืม !!
    1.  ตรวจสอบชื่อ/ที่อยู่ของผู้ขาย
    2.  ตรวจสอบ/ทดลองสินค้าก่อนซื้อ
    3.  อ่านสัญญาให้รอบคอบ
    4.  อ่านฉลากสินค้าให้เข้าใจ  
    5. เก็บหลักฐานให้ดี เช่น ใบสัญญา ใบเสร็จรับเงิน ใบรับประกัน แผ่นพับโฆษณา

ที่มา - http://www.suriyothai.ac.th/node/2904/

อ้างอิงข้อมูลจาก :
        สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ เรื่องการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522. 
http://www.ocpb.go.th/

<< Go Back