<< Go Back

การบริโภค

        การบริโภค หมายถึง การใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ การบริโภคไม่ได้หมาย ความถึง การรับประทานอาหารอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจแต่เพียงอย่างเดียว การใช้สินค้าอื่นๆ และการใช้บริการอย่างใดอย่าง หนึ่ง ก็คือการบริโภค ด้วยเช่นกัน เช่น การไปพบแพทย์เมื่อยามเจ็บป่วย การพักโรงแรม การท่องเที่ยว การขนส่ง การ ประกันภัย เป็นต้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การกระทำทั้งหลายอันทำให้สินค้าหรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่งสิ้นเปลืองไปเพื่อ เป็นประโยชน์แก่มนุษย์ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือ ทางอ้อม ถือเป็นการบริโภคทั้งสิ้น


ประเภทของการบริโภค

แบ่งตามลักษณะของสินค้าสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 
        1. การบริโภคสินค้าไม่คงทน (nondurable goods consumption) คือการบริโภคสิ่งของชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วสิ่งของ ชนิดนั้นจะสิ้น เปลือง หรือใช้หมดไป การบริโภคลักษณะนี้เรียกว่า destruction เช่น การบริโภคน้ำ อาหาร ยารักษาโรค น้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ 
        2. การบริโภคสินค้าคงทน (durable goods consumption) คือการบริโภคสิ่งของอย่างใด อย่างหนึ่งโดยสิ่งของนั้นยังคง ใช้ได้อีก การบริโภคลักษณะนี้เรียกว่า diminution เช่น การอาศัยบ้านเรือน การใช้รถยนต์ พัดลม โทรทัศน์ ฯลฯ อย่างไร ก็ตาม ถึงแม้ว่าสินค้าคง ทนเหล่านี้จะใช้แล้วไม่หมดไปในทีเดียว แต่ก็จะค่อยๆสึกหรอไป จนในที่สุดจะไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก

ปัจจัยที่ใช้กำหนดการบริโภค

หลักการสำคัญในการเลือกบริโภคสินค้าหรือบริการ
  หลักในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการใดๆต้องคำนึงถึงความพึงพอใจสูงสุดที่ผู้บริโภคจะได้รับความพึงพอใจ ที่ผู้บริโภคจะได้รับ ได้แก่
        1. ความประหยัด คือซื้อสินค้าในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไปจนใช้ไม่หมดหรือเหลือทิ้ง และเป็น สินค้าที่จำเป็น ต้องใช้ไม่ ควรซื้อตามกระแสนิยม
        2. ประโยชน์ คือ สินค้าหรือบริการนั้นซื้อมาแล้วให้ประโยชน์ ความสะดวกสบาย คุ้มค่า เช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
         3. ราคายุติธรรม เป็นสินค้าหรือบริการที่มีราคาไม่แพงจนเกินไปผู้ผลิตไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ในด้านราคา 
        4. คุณภาพ ต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดีได้มาตรฐานในปัจจุบันสินค้าและบริการส่วนใหญ่เป็นตลาด ของผู้บริโภค หมายถึง ผู้บริโภค ที่มีสิทธิ์เลือก ซื้อได้ตามราคาและคุณภาพได้ตามที่ตนพอใจ
        5. ความปลอดภัย สินค้าหรือบริการนั้นๆ ต้องไม่เป็นอันตายแก่ผู้บริโภค เช่น อาหารสำเร็จรูปอาหาร กระป๋อง ต้องไม่มีสาร เคมี หรือหมดอายุเสื่อคุณภาพแล้ว

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภค

        1.รายได้สุทธิ
        2.รายได้ในอดีตและในอนาคต หากคาดว่าในอนาคตจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ปัจจุบันก็จะบริโภคมากขึ้นเช่นกัน หากรายได้ในอดีตเคยสูง กว่ารายได้ในอนาคตก็จะลดค่าใช้จ่ายในการบริโภคไม่มากแต่จะไปลดในค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แทน
        3.การให้สินเชื่อเพื่อการบริโภค เป็นนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ค่าใช้จ่ายในการบริโภคเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการคำ นวณ GDP เช่น มีการให้สินเชื่อในด้านการบริโภคเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น
        4.ระดับราคาสินค้า เป็นไปตามกฎอุปสงค์ (Law of Demand) ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นความต้องการซื้อลดลง
        5.ขนาดของสินทรัพย์ ผู้บริโภคที่มีสินทรัพย์ในครอบครองจะมีค่าใช้จ่ายในการบริโภคมากกว่า เช่นY=C+S เมื่อมีสินทรัพย์มากก็ จะ มี C มากเช่นกัน หากไม่มีสินทรัพย์ก็จะนำเงินไปออม (S) เพื่อจะได้สินทรัพย์ในอนาคต
        6.จำนวนประชากรและการกระจายอายุของประชากร ประเทศที่มีประชากรมาก ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการบริโภคมาก การกระจาย อายุ เป็นการแบ่งช่วงอายุคน และช่วงกำลังศึกษาถึงช่วงกำลังทำงานใหม่ ๆ จะมีการใช้จ่ายมากที่สุด
        7.การกระจายรายได้ของสังคม คนจนมีสัดส่วนค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับรายได้ คนจนมี APC มาก คนรวยมี APC น้อย ประเทศ ไหนทีมีการกระจายรายได้ต่างกันมากจะทำให้การบริโภคน้อย
        8.การคาดคะเนระดับราคาสินค้าในอนาคต หากมีการคาดคะเนระดับสินค้าในอนาคตสูง ก็มักมีการบริโภคในปัจจุบันสูงเช่นเดียวกัน
        9.การเลียนแบบการบริโภค เทคโนโลยีในการสื่อสารจะมีการเลียนแบบจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการบริโภคเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เป็นผลดี เพราะ ว่าเสียเงินตราในการนำเข้าเพิ่มขึ้น 
        10.อุปนิสัยและรสนิยมของคนในชาติ เช่นประเทศญี่ปุ่นมีการออมมากจึงไม่มีประเทศไหนไปลงทุน ไม่มีการกระตุ้นการบริโภค ทางเศรษฐกิจ ค่าใช้จ่ายในการบริโภคต่ำมาก ส่งผลให้ GDP ของประเทศญี่ปุ่นต่ำ ภาวะเงิน


ที่มา:http://elearning.spu.ac.th/allcontent/ecn207/chapter04/chapter%204.htm
ที่มา - http://www.l3nr.org/posts/101518


<< Go Back