<< Go Back

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

        กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของไทยในปัจจุบันมีจำนวนหลายฉบับ ซึ่งกฎหมายแต่ละฉบับมีอำนาจและหน้าที่ในการให้ความคุ้ม ครองผู้บริโภค ที่แตกต่างกัน โดยมีหน่วยงานราชการทำหน้าที่ในการบังคับใช้ให้เป็นไปตามกฎหมาย   ซึ่งหน่วยงานราชการดังกล่าว กระจาย อยู่ตามกระทรวงต่าง ๆ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

      1. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่มีหน้าที่คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยตรง คือ   พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับ ความคุ้ม ครองตามกฎหมาย 5 ประการดังนี้

   -  สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้า
      หรือบริการ
   -  สิทธิที่จะได้อิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
   -  สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
   -  สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
   -  สิทธิที่จะได้การพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

     หลักทั่วไปของการบังคับใช้กฎหมาย คือ เมื่อมีกฎหมายฉบับใดให้อำนาจในการคุ้มครองผู้บริโภคไว้เป็นการเฉพาะแล้วก็ต้องบังคับ ตามกฎ หมายฉบับนั้น ตัวอย่างเช่น กรณีที่ผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิเกี่ยวกับเรื่องอาหาร ผู้บริโภคสามารถไปร้องเรียนที่สำนักงานคณะ กรรมการอาหารและยาซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เฉพาะเรื่องสินค้าอาหารเท่านั้น แต่ถ้ากรณีไม่มีกฎหมายใด หรือหน่วยงานใดให้ความคุ้มครองผู้บริโภคเป็นการเฉพาะแล้วก็ต้องใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งให้ความคุ้มครองในผู้บริโภคด้านสินค้าและบริการทั่วไป

      2.  กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่มีหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค โดยการเข้าไปควบคุมตรวจสอบ และกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจที่ผลิต สินค้า หรือบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมและได้รับความปลอดภัยในการใช้สินค้าและการรับบริการ โดยสามารถแบ่ง ออก เป็น 2 ประเภท ดังนี้

      2.1 กฎหมายคุ้มครองเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยในการใช้สินค้าและการรับบริการ เช่น 

  • กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงสาธารณสุข

   - พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
   - พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
   - พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510

  • กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงอุตสาหกรรม

   - พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
   - พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

      2.2 กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในการใช้สินค้าและการรับบริการ เช่น

  • กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงพาณิชย์

   - พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542
   - พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542

  • กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงยุติธรรม

   - พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540

            เมื่อผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบธุรกิจเนื่องจากการใช้สินค้าหรือบริการ ผู้บริโภคย่อมได้ รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายโดยผู้บริโภคสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคณะกรรมการคุ้มครองผู้ บริโภคคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายฉบับ เดียวที่มีอำนาจในการดำเนินคดีแทนผู้บริโภค เพื่อฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ จากการใช้สินค้าและการรับบริการโดยผู้บริโภคไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการดำเนินคดีแต่อย่างใด 

ที่มา - http://www.aksorn.com/lib/detail_print.php?topicid=712

                เรามี พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค 2522 และฉบับที่ 2 แก้ไข เพิ่มเติม พ.ศ. 2541 ที่มีเนื้อหาให้ความคุ้มครองผู้บริโภคหลายประการ แต่ตั้งแต่มีกฎหมายฉบับดังกล่าวมา ก็สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้ ระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามผู้บริโภคสินค้าหรือบริการ ก็ยังตกเป็นผู้ เสียเปรียบแก่บรรดาพ่อค้า แม่ค้า ตั้งแต่ระดับการขายสินค้าริมฟุตบาท ไปจนถึงประเภทสินค้าประเภทไฮเทค เช่น โทรศัพท์ เครื่องเล่น อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมทั้งสินค้าประเภทอาหาร เสื้อผ้า รถยนต์ รวมทั้งสินค้าทุกประเภท หรือประเภทการให้บริการ เช่น โรงพยาบาล คลินิกแพทย์ แต่ละครั้ง เมื่อเกิดปัญหาของสินค้า และบริการระหว่างพ่อค้าผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภค ผู้บริโภคมักตกเป็นผู้เสียเปรียบ หลายประการ บางครั้งแม้รู้ว่าถูกหลอกถูกเอาเปรียบ ก็ไม่อยากจะพึ่งพากฎหมาย เพราะสาเหตุหลาย ประการ ดังนี้

                1. ผู้บริโภคไม่มีความรู้ทางเทคนิควิธี กระบวนการผลิตสินค้า โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีก้าวไกลทันสมัย ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถรู้ได้ว่าสินค้า หรือบริการที่ตัวเองซื้อหา มาใช้ มาครอบครอง มีกระบวนการวิธีผลิต หรือไม่ถูกต้อง ไม่สมบูรณ์อย่างไร

                2. แม้ผู้บริโภคจะรู้ว่าตนเองได้สินค้าไม่สมบูรณ์ หรือได้รับการบริการที่ไม่สุภาพ ไม่ซื่อสัตย์ต่อลูกค้า แต่ผู้บริโภคก็ไม่อยาก เป็นความ เพราะการขึ้นโรงขึ้นศาลต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเอง ค่าจ้างทนาย ต้องเสียเวลา บางครั้งสินค้าราคาเล็กน้อย ไม่คุ้มกับ การเป็นความ ฟ้องร้องผู้ประกอบการธุรกิจ

                3.แม้ผู้บริโภคจะใช้สิทธิฟ้องร้องผู้ประกอบการธุรกิจ แต่มักจะเสียเปรียบในชั้น พิจารณาคดีที่ไม่มีความรู้ความสามารถเสาะ แสวงหาหรือพิสูจน์พยานหลักฐานว่า สินค้าหรือ บริการไม่สมบูรณ์อย่างไร เพราะกฎหมายเดิมให้ภาระการพิสูจน์เพื่อที่จะเอาผิด กับจำเลยตก อยู่กับผู้ฟ้องคดี

                4. สัญญาที่ผู้ประกอบการธุรกิจทำกับผู้บริโภค ผู้บริโภคเสียเปรียบเสมอ เพราะเป็นสัญญาสำเร็จรูป ที่มีข้อความผูกมัดผู้ บริโภค  เช่น  สัญญาเช่าซื้อ  สัญญากู้ยืมเงินต่าง ๆ เป็นต้น 

                จากการเสียเปรียบของผู้บริโภคดังกล่าว ผู้ประกอบการธุรกิจการค้า ที่ไม่สุจริตมัก ฉกฉวยโอกาสเพื่อหวังผลกำไร โดยไม่ได้ คำนึงถึงความเสียหายของผู้บริโภคที่อาจได้รับความ เสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย หรือทรัพย์สิน เช่น ขายยาที่หมดอายุความแล้ว หรือสินค้าชำรุดด้านใน แต่ไม่ยอมบอกผู้บริโภค เพราะเกรงว่าจะขาดทุน ทำให้ผู้ประกอบการค้ากำไรเกิน ควร ประชาชนในฐานะ ผู้บริโภคต้องตกเป็นเบี้ยล่างเรื่อยมา

                แต่ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2551 ผู้ประกอบการธุรกิจที่ไม่สุจริตในการประกอบการค้า ไม่ว่าจะเป็นประเภทให้เช่าซื้อรถยนต์ ให้กู้ยืมเงิน หรือการขายสินค้าประเภทใดๆ ก็ตาม รวมถึงการให้บริการต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล โรงภาพยนตร์ ฯ ได้มีกฎหมายฉบับใหม่ ที่คุ้มครองผู้บริโภคให้เข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างง่ายดาย คือ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณา คดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 หรือเรียกง่าย ๆ ว่าต่อแต่นี้ไป ข้อพิพาทระหว่างผู้ประกอบการ ธุรกิจกับผู้บริโภค หากมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมาย อันเนื่องมาจาก การ บริโภคสินค้าหรือบริการจะต้องขึ้น ศาลผู้บริโภคที่มีชื่อตามศาลจังหวัดทุกจังหวัด กฎหมายฉบับนี้มีข้อดีซึ่งเป็นประโยชน์กับ ผู้บริโภคหลายประการ คือ

                1. ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าหรือบริการใดก็ตาม สามารถไปฟ้องศาล ผู้บริโภคได้ด้วยวาจา โดยไม่ต้องจ่ายเงิน จ้างทนายความ แต่จะมีเจ้าพนักงานคดีของศาลเป็น ผู้ช่วยเขียนเรียบเรียงคำฟ้องไว้ให้ ทั้งเมื่อฟ้องไปแล้วหากคำฟ้องไม่ถูกต้อง ศาลอาจ สั่งให้แก้ไข ให้ถูกต้องชัดเจนได้ 

                2. ผู้บริโภคได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ยกเว้นผู้บริโภคฟ้องไม่มี เหตุผลอันสมควร หรือเรียกค่าเสียหายเกิน สมควร ศาลอาจมีคำสั่งให้บุคคลนั้น ชำระค่า ฤชาธรรมเนียมได้

                3. อายุความในการฟ้องร้องในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพ อนามัยจากการบริโภค สินค้าหรือบริการ สามารถใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 3 ปี นับแต่วันที่รู้ถึง ความเสียหาย และรู้ตัวผู้ประกอบการธุรกิจที่ต้องรับผิด แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่รู้ถึง ความเสียหาย

                4. หากผู้ประกอบธุรกิจจะฟ้องผู้บริโภคบ้าง ต้องฟ้องที่ศาลผู้บริโภค ที่ผู้บริโภคมีภูมิ ลำเนา ซึ่งถ้าผู้บริโภคจะฟ้องผู้ประกอบ การธุรกิจ ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่กรุงเทพฯ แต่มีตัวแทน ขายสินค้าหรือบริการอยู่จังหวัดที่ผู้บริโภคอาศัยอยู่ ผู้บริโภคสามารถฟ้องต่อศาล จังหวัดที่ ผู้บริโภคมีภูมิลำเนา ทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปศาลได้มาก อันเป็นการช่วยผู้ บริโภคที่ได้รับความเสียหาย

                5. ภาระการพิสูจน์ในศาลเกี่ยวกับการผลิตการประกอบการ ออกแบบหรือส่วนผสม ของสินค้า การให้บริการ หรือดำเนินการใด ๆ ซึ่งศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าว อยู่ในความรู้เห็น องผู้ประกอบธุรกิจก็ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำสืบให้ศาลเห็น ทำให้ง่ายต่อผู้บริโภค เพียงแต่ พิสูจน์ว่าตนเองได้รับความเสียหายจริง จากการใช้สินค้าหรือบริการนั้นเท่านั้น 

                ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนวิธีพิจารณาในศาล ซึ่งเป็นประโยชน์และสร้างความเป็นธรรม รวมทั้งมีแต้มต่อให้กับ ผู้บริโภคอีกหลายประเด็น แต่อย่างไรก็ตามเจตนารมณ์ เบื้องต้นของศาลผู้บริโภค จะดำเนินการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกัน หรือ ประนีประนอม ยอมความเป็นสำคัญ แต่ขอย้ำต่อจากนี้ไปผู้ประกอบการธุรกิจจะถูกผู้บริโภคฟ้องง่ายขึ้น และมากขึ้น ทั้งเป็นเรื่องใหม่ต่อ ศาลที่จะต้องรับภาระคดีพิพาทระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจ และผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการธุรกิจมีความรับ ผิดชอบต่อ สินค้า หรือการให้บริการ มีความสุจริตจริงใจไม่ค้ากำไรเกินควร ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะต้องขึ้น ศาลผู้บริโภค แต่อย่างไร

อ้างอิง: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=324488
http://www.l3nr.org/posts/367130

<< Go Back