<< Go Back

การบริหารร่างกาย
            คือ การบริหารร่างกาย เพื่อจัดการให้โครงสร้างของร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลเสมอด้วยตัวของมันเอง เพราะเหตุที่ โครงสร้างร่างกายของเราประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่ยึดโยงกันเพื่อให้เกิดภาวะสมดุล และตามปกติคนเรามีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลานอนหลับ ดังนั้น โอกาสที่โครงสร้างร่างกายของเราจะเสียสมดุลย่อมเกิดขึ้นตลอดเวลา เราจึงจำเป็นต้องคอยระมัดระวัง โดยการฝึกกล้ามเนื้อให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง หรือขณะที่ร่างกายเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อก็ต้องถูกดึงไปในทิศทางที่ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อควบคุมโครงสร้างของร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุลอยู่เสมอ

            อันที่จริงไม่ว่าจะเป็นการหายใจให้ถูกต้อง การนั่งให้ตัวตรงและการรักษาอิริยาบถให้อยู่ในท่าพื้นฐาน ดังที่กล่าวมาแล้ว นั้นถือว่าเป็นการบริหารร่างกายแล้ว แต่เป็นการบริหารร่างกายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันและแก้ไขอาการ บิดเบี้ยวของโครงสร้างร่างกาย ที่ได้รับแรงกระทบกระแทกจากภายนอกอยู่ตลอดเวลา แม้เพียงแค่การนอนก็มีโอกาสทำให้ โครงสร้างของร่างกายเสียสมดุลได้แล้ว เพราะขณะที่หลับ เราก็อาจจะนอนบิดตะแคงบ้าง ตัวงอบ้าง โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น เมื่อตื่น ขึ้นมาในตอนเช้าก็ควรจัดการให้โครงสร้างของร่างกายกลับสู่ภาวะสมดุล ด้วยการบริหารร่างกายสักครั้งหนึ่ง

            การบริหารร่างกาย นอกจากจะเป็นการจัดการให้โครงสร้างของร่างกายกลับสู่ภาวะสมดุลแล้วยังเป็นการฝึกกล้ามเนื้อให้ ได้เรียนรู้ว่า การเคลื่อนไหวหรือการถูกดึงรั้งไปในทิศทางใดผิดหรือถูกต้องแต่ถ้าเราไม่มีท่าบริหาร กล้ามเนื้อก็ไม่ถูกฝึก

ท่าบริหารร่างกายเพื่อสุขภาพ
            เพื่อให้การออกกำลังมีประสิทธิภาพที่ดีควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ แต่ละครั้งประมาณ 30 นาที
ท่าที่ 1 ทำ 50 ครั้ง
            1. ยืนตัวตรง
            2. เหยียดแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้าขนานกับพื้น
            3. กำมือแน่นสลับกัน

ท่าที่ 2 ทำ 50 ครั้ง
            1. ยืนในท่าที่ต่อจากท่าที่ 1
             2. บิดข้อมือทั้งสองข้างขึ้น – ลง

ท่าที่ 3 ทำ 50 ครั้ง
            1. ยืนในท่าที่ต่อจากท่าที่ 2
            2. กำมือแล้วชกลมไปข้างหน้าสลับซ้าย – ขวา



ท่าที่ 4 ทำ 50 ครั้ง
            1. ยืนในท่าที่ต่อจากท่าที่ 3
            2. กำมือแล้วชกลมไปขึ้นข้างบน – ล่าง สลับซ้าย – ขวา


ท่าที่ 5 ทำ 50 ครั้ง
            1. ยืนในท่าที่ต่อจากท่าที่ 4
            2. กางแขนทั้งสองออกข้างลำตัว
            3. หมุนแขนไปข้างหน้าพร้อมๆกันทั้งสองข้าง 50 ครั้งแล้วหมุนไปข้างหลังอีก 50 ครั้ง

ท่าที่ 6 ทำ 50 ครั้ง
            1. ยืนตัวตรง
            2. ยกมือสองข้างขึ้นตบเหนือศีรษะแล้วกลับมาอยู่ท่าเดิม

ท่าที่ 7 ทำ 50 ครั้ง
            1. ยืนในท่าที่ต่อจากท่าที่ 6
            2. เหวี่ยงแขนทั้งสองข้างไปด้านหลัง และเหวี่ยงขึ้นตั้งตรงแนบศีรษะ ค้างไว้ 5 วินาที

ท่าที่ 8 ทำ 15 ครั้ง
            1. ยืนตัวตรง
            2. ก้มศีรษะลงให้คางจรดกับกลางกระดูกไหปลาร้า ค้างไว้ 5 วินาที
            3. เงยหน้าไปด้านหลัง พยายามให้ปลายคางตรง ค้างไว้ 5 วินาที

ท่าที่ 9 ทำ 15 ครั้ง
            1. ยืนตัวตรง
            2. หันศีรษะไปทางซ้าย ค้างไว้ 5 วินาที แล้วหันกลับ
            3. หันศีรษะไปทางขวา ค้างไว้ 5 วินาที แล้วหันกลับ

ท่าที่ 10 ทำ 15 ครั้ง
            1. ยืนตัวตรง ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นตั้งตรง 
            2. โน้มตัวไปข้างหน้าให้ลำตัวขนานพื้นค้างไว้ 5 วินาที แล้วกลับสู่ท่าเดิม
            3. เอนตัวไปด้านหลังพอประมาณ แล้วกลับสู่ท่าเดิม ทำสลับกันไป – มา

ท่าที่ 11 ทำ 15 ครั้ง
            1. ยืนตัวตรง
            2. โน้มตัวไปข้างหน้าให้ลำตัวขนานพื้น
            3. บิดลำตัวไปทางขวา จนถึงข้างลำตัว แล้วค่อยๆ ยกลำตัวขึ้นกลับสู่ท่าเดิม
            4. ทำสลับ ซ้าย – ขวา

ท่าที่ 12 ทำ 50 ครั้ง
            1. ยืนตัวตรง
            2. ยกแขนทั้งสองข้าง ทำท่าคล้ายปีกไก่ 3. เหวี่ยงข้อศอกทั้งสองข้างออกด้านหลังแล้วกลับท่าเดิม ทำ 3 ครั้ง พอครั้งที่ 4 ให้ เหวี่ยงแขนออกไปด้านหลังจนสุด นับเป็น 1 ชุด

ท่าที่ 13 ครั้ง 50 ครั้ง
            1. ยืนตัวตรง เขย่งปลายเท้า
             2. เหยียดแขนตรงไปข้างหน้าขนานกับพื้น ย่อตัวลง
            3. ค่อยๆ ยืนขึ้นในท่าเดิม เอาส้นเท้าลงแล้วกลับสู่ท่าเดิม

ท่าที่ 14 ทำ 50 ครั้ง
            1. ท่านี้ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น โต๊ะ ทำงาน เก้าอี้ ที่รับน้ำหนักได้และไม่เลื่อน (น่าจะเพิ่มคำว่า “หรือ”) ใช้ฝาผนังก็ได้
            2. ทำท่าคล้ายวิดพื้น แต่เปลี่ยนจากพื้น เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แทน

ท่าที่ 15 ทำ 50 ครั้ง
            1. ยืนตรงในท่าเตรียม
            2. เตะขาซ้าย พร้อมกับเหยียดแขนขวาออกมาด้านหน้า พยายามให้ปลายเท้าแตะกับปลายนิ้วมือ
            3. ทำสลับซ้าย – ขวา

ท่าที่ 16 ทำ 50 ครั้ง
            1. ยืนตรงในท่าเตรียม
            2. ก้าวเท้าซ้ายออก
            3. ย่อตัวลงขาด้านที่ก้าวออกไปพยายามให้ขนานกับพื้น ขาหลังตรงอย่างอเข่า และลำตัวตรง
            4. ทำสลับซ้าย - ขวา

ที่มา : http://health.dmc.tv/ดุลยภาพบำบัด-359/บริหารร่างกาย.html
ที่มา : http://www.pt.mahidol.ac.th/ptclinic/index.php?option=com_content&view=article&id=224:2009-10-26-04-55-19
           &catid=64:2009-09-06-10-27-11&Itemid=143

<< Go Back