ในการใช้ชีวิตประจำวัน ของนักเรียน ไม่ว่าจะอยู่ในครอบครัว โรงเรียน และสังคม บางครั้งอาจต้องพบเจอกับปัญหาต่างๆ รวมไปถึงความขัดแย้ง ซึ่งบางครั้งอาจเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ การศึกษาหาความรู้ในเรื่องทักษะชีวิต และนำหลักการดังกล่าวไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะช่วยให้นักเรียนสามารถป้องกันและ แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น รวมทั้งช่วยลดความขัดแย้ง ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียนด้วย โดยทักษะชีวิตที่นักเรียนควรเรียนรู้ มีดังนี้
1. ทักษะการตัดสินใจ เป็นความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างมีระบบ เช่น ถ้าบุคคลสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการกระทำของตนเองที่เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขภาพหรือความปลอดภัยในชีวิต โดยประเมินทางเลือกและผลที่ได้จากการตัดสินใจเลือกทางที่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะมีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ
2. ทักษะการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีระบบ ไม่เกิดความเครียดทางกายและจิตใจ จนอาจลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตเกินแก้ไข
3. ทักษะการต่อรองเพื่อประนีประนอม การต่อรอง หมายถึง การทำให้ลดลงเช่นของแพงมีการต่อรองให้ราคาลดลง ส่วนการประนีประนอมก็คือการผ่อนหนักให้เป็นเบาให้แก่กันหรือปรองดองกัน ดังนั้นทักษะการต่อรองเพื่อการประนีประนอมจึงหมายถึงทักษะที่ลดความรุนแรงหรือผ่อนหนักให้เป็นเบา สร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับหลายคู่กรณีทั้งหลาย โดยการใช้ทักษะดังนี้
1.ควบคุมอารมณ์ ไม่ใจร้อน มีเหตุผล
2.รอบคอบ ความรอบคอบจะสามารถคิดหาเห็นผลในการต่อรองได้ดี
3.ใช้เหตุผล เหตุผลจะทำให้การต่อรองดีขึ้น
4.มีการยืดหยุ่น การรู้จักผ่อนหนักเป็นเบา คล้อยตามบ้าง
5.สุภาพอ่อนโยน
คำพูดที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง |
คำพูดที่ประนีประนอม |
1.เธอไม่ต้องมาชวนเราไปทำเรื่องไร้สาระเลยนะ เราไม่มีเวลาว่างมากเหมือนเธอ |
1.เราอยากไปเดินซื้อของกับเธอนะ แต่เรายังทำการบ้านไม่เสร็จเลย ถ้าทำเสร็จก่อนที่เธอจะไป เราจะไปด้วยแล้วกันนะ |
2.เราว่ามานีพูดถูกที่เธอไม่มีเหตุผลเลย พูดอย่างนี้ไม่มีใครอยากพูดกับเธอหรอก |
2.เราว่าที่เธอพูดก็มีส่วนถูก แต่มองอีกด้านหนึ่ง ที่มานีพูดมาก็มีเหตุผลน่ารับฟังเหมือนกันนะ เราควรพิจารณาให้รอบคอบ เพื่อจะตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมเธอว่าดีไหม |
3.เธอเอาแต่ใจเกินไปแล้วนะ |
3.เธอน่าจะฟังคนอื่นบ้างนะ |
4. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นความสามารถในการใช้คำพูดและท่าทางเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับวัฒนธรรม และสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การแสดงความต้องการ การแสดงความชื่นชม การขอร้อง การเจรจาต่อรอง การตักเตือน การช่วยเหลือ การปฏิเสธ ซึ่งทักษะที่สำคัญเกี่ยวกับการสื่อสารก็คือ การพูดการฟัง การถาม
ทักษะการพูด : เป็นทักษะที่ผู้สื่อการจะต้องคำนึงถึงบริบทโดยรวม เพื่อให้การพูดเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ในการสื่อสารผู้พูดควรคำนึงถึง
1.พูดกับใคร : การพูดนั้นต้องใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับคนที่เราพูดด้วย เช่น พูดกับพ่อแม่ พูดกับเพื่อน หรือ พูดกับเด็ก พูดกับผู้ใหญ่ ก็จะต้องใช้ระดับภาษาที่ต่างกันและควรใช้คำสุภาพเพราะการใช้คำพูดที่ไม่ สุภาพอาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้
2. พูดที่ไหน : การพูดนั้นต้องใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับสถานที่ ควรดูว่าเป็นที่ส่วนตัว ที่สาธารณะ หรือ อยู่ในพิธีการ ควรใช้คำพูดและระดับเสียงให้เหมาะสมกับสถานที่นั้น เช่น หากนักเรียนอยู่ในพิธีไหว้ครูแล้วจำเป็นต้องพูดกับเพื่อนควรพูดอย่างกระชับ โดยใช้น้ำเสียงเบาเพื่อนไม่ให้รบกวนผู้อื่น
3. พูดเวลาใด : การพูดนั้นควรคำนึงถึงอารมณ์ของผู้ที่เราสนทนาด้วยว่าในเวลานั้นเป็นอย่างไร หรือ สถานการณ์ในขณะนั้นเราควรจะพูดอย่างไร เช่น ไม่ควรพูดเล่นในขณะที่พูดเป็นการเป็นงาน ไม่พูดเย้าแหย่ในขณะที่มีอารมณ์โกธร
4. พูดในโอกาสใด : การพูดคุยในโอกาสต่างๆ ควรมีความแตกต่างกัน เช่น ในงานสังสรรค์อาจพูดคุยกันอย่างเต็มที่สนุกสนาน ใน งานศพควรสำรวมกิริยาไม่หัวเราะ ไม่พูดตลกขบขัน ในงานแต่งงานควรใช้คำพูดที่เป็นสิริมงคล ไม่ควรพูดล้อเล่นให้คู่บ่าวสาวเกิดความระแวงแคลงใจกัน
5. พูดอย่างไร : เป็นการพูดให้ผู้ฟัง รู้สึกชอบใจ ซึ่งต้องใช้คำพูดที่สุภาพ นุ่มนวล ไม่หยาบคาย เป็นคำพูดในเชิงบวก ไม่พูดติเตียนให้ร้ายผู้อื่น ใช้คำพูดที่ไพเราะพูดด้วยความจริงใจไม่เสแสร้ง ถ้าทำได้ เช่นนี้ ก็จะทำให้ผู้ฟังหรือคู่สนทนาพอใจ
5. ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและกัน และสามารถรักษาสัมพันธภาพไว้ได้ยืนยาว
การสร้างและการรักษาสัมพันธภาพในครอบครัว : ครอบครัวซึ่งประกอบไปด้วย พ่อ แม่ ลูก หรือบางครอบครัวที่เป็นครอบครัวใหญ่อาจรวม ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ ป้า น้า อา ที่รวมกันอย่างมีความสุข และมีหลักการสร้างสัมพันธภาพ ที่ดีดังนี้
1.ทุกคนต้องปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของครอบครัว สม่ำเสมอ
2.เคารพเชื่อฟังและให้เกียติซึ่งกันและกัน เด็กต้องเคารพผู้ใหญ่
3.ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่าง
เต็มความสามารถ
4.รักและซื่อสัตย์ต่อครอบครัว
5.มีความเอื้ออาทรต่อกันละกันภายในครอบครัว
การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อน : เพื่อนคือคนที่ชอบพอรักใคร่กัน คนที่คบกันเป็นเพื่อนส่วนใหญ่จะมีความชอบ ความคิดเห็นตรงกัน และพฤติกรรมเหมือนๆหรือใกล้เคียงกัน หลักการสร้างภาพระหว่างเพื่อนคือ
1.รักและช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งในเวลาปกติและในเวลาที่เดือดร้อน
2.สามารถปรับทุกข์และร่วมกันแก้ปัญหาให้กับเพื่อนได้
3.ยอมรับฟังความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะที่ดีต่อกัน
4.สนใจและเอาใจใส่ความรู้สึกของเพื่อนเสมอ
5.ไม่เห็นแก่ตัวและไม่เอาเปรียบเพื่อน
การสร้างและการรักษาสัมพันธภาพในสังคม : การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข จะเกิดขึ้นได้โดยมีหลักปฏิบัติ ดังนี้
1.พัฒนาบุคคลิกภาพ ให้ผู้พบเห็นเกิดความชื่นชมและประทับใจด้วยการพูดกิริยาท่าทางต่างๆและการ
วางตัวอย่างเหมาะสม
2.การแสดงออกด้วยความใจกว้างและใจดี
3.การให้ความช่วยเหลือเอาใจใส่ในกิจกรรมละงานส่วนรวม
4.ให้คำแนะนำและเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
5.ร่วมกันแก้ปัญหาในสังคมให้ดีขึ้น
6. ทักษะการปฏิเสธ เป็นทักษะการปฏิเสธเป็นทักษะสื่อสารเพื่อแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้และยอมรับว่าตนเองไม่เห็นด้วย โดยไม่เสียสัมพันธภาพอันดีต่อกัน องค์ประกอบของการปฏิเสธ มีดังนี้
๖.๑ คุณลักษณะของการปฏิเสธ
๑) การปฏิเสธเป็นสิทธิและความต้องการโดยชอบธรรมที่จะปฏิเสธ
๒).การที่จะปฏิเสธหรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เพราะในเรื่องเดียวกันแต่ถ้าคนละสถานการณ์ ก็อาจปฏิเสธได้ทั้งที่ในสถานการณ์ครั้งก่อนไม่ปฏิเสธ
๓) .มีการพิจารณาถึงพฤติกรรม ว่าพฤติกรรมนั้นควรปฏิเสธหรือไม่
๔).มีองค์ประกอบในด้านความรู้สึก การแสดงพฤติกรรมที่ต้องการ และความคิดเห็นส่วนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง
๖.๒ หลักการปฏิเสธ
๑) ควรปฏิเสธด้วยคำพูด น้ำเสียง ท่าทางที่จริงจังแต่มีความสุภาพ เพื่อแสดงความตั้งใจอย่างชัดเจนในการปฏิเสธ
๒) แสดงความรู้สึกและพฤติกรรมประกอบไปกับเหตุผล
๓) การขอความเห็นส่วนร่วมกับการแสดงการขอบคุณ การขอโทษ เพื่อรักษาน้ำใจและสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
๔) มีสมาธิในการปฏิเสธเมื่อถูกรบเร้าไม่ควรหวั่นไหวหรือลังเล ควรยืนยันการปฏิเสธ และหาทางออกโดยวิธีการดังนี้
-ควรปฏิเสธซ้ำโดยไม่ต้องใช้ข้ออ้าง พร้อมทั้งกล่าวคำอำลา โดยไม่ฟังคำพูดอื่นใดอีก เพื่อไม่ให้เกิดความลังเลใจ หรือขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
-มีการต่อรองหรือผัดผ่อน โดยการหากิจกรรมอื่นมาทดแทน
-มีการผัดผ่อน โดยยืดระยะเวลาออกไป เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนใจ
๖.๓ การเลือกใช้ทักษะการปฏิเสธ
๑) ไม่ชอบหรือไม่ต้องร่วมกิจกรรมต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดความอึดอัดหรือคับข้องใจก็ควรใช้ทักษะการปฏิเสธ
๒) เมื่อรู้สึกลังเลใจต่อการเลือกสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ก็ควรใช้ทักษะการปฏิเสธสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งเสีย
๓) เมื่อรู้สึกว่าสถานการณ์นั้นเสี่ยงต่อตนเอง ก็ควรใช้ทักษะการปฏิเสธในสถานการณ์ ดังกล่าวนั้น
๖.๔ ประโยชน์ของการปฏิเสธ
๑) เป็นการแสดงสิทธิอันชอบธรรมของบุคคลต่อการแสดงความรู้สึกไม่พอใจความขัดแย้งของตนเอง ต่อผู้อื่นโดยไม่เสียสัมพันธภาพ
๒) ทำให้เกิดความปลอดภัยหรือป้องกันการเกิดความสูญเสียซึ่งอาจเกิดขึ้นได้
๓) เป็นการระงับความขัดแย้งหรือเพื่อการรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกันให้คงอยู่
๔) ใช้ในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งสถานการณ์เสี่ยงต่อสุขภาพและเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน
|