<< Go Back

แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 2

1. จุด A และ B อยู่ในเส้นสนามไฟฟ้าที่มีทิศตามลูกศรดังรูป ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
       
  1. วางประจุลบลงที่ A ประจุลบจะเคลื่อนไปที่ B
  2. วางประจุบวกลงที่ B ประจุจะเคลื่อนไปที่ A
  3. สนามไฟฟ้าที่ A สูงกว่าสนามไฟฟ้าที่ B
  4. สนามไฟฟ้าที่ A มีค่าเท่ากับสนามไฟฟ้าที่ B
2. A, B และ C เป็นแผ่นวัตถุ 3 ชนิดที่ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าโดยการถู ซึ่งได้ผลดังนี้ A และ B ผลักกัน ส่วน A และ C ดูดกัน ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
  1. A และ C มีประจุบวก แต่ B มีประจุลบ
  2. B และ C มีประจุลบ แต่ A มีประจุบวก
  3. A และ B มีประจุบวก แต่ C มีประจุลบ
  4. A และ C มีประจุลบ แต่ B มีประจุบวก
3. สนามแม่เหล็กที่เป็นส่วนหนึ่งของคลื่นแสงนั้น มีทิศทางตามข้อใด
  1.  ขนานกับทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง
  2.  ขนานกับสนามไฟฟ้า แต่ตั้งแกกับทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง
  3.  ตั้งฉากกับทั้งสนามไฟฟ้าและทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง
  4.  ตั้งฉากกับสนามไฟฟ้าแต่ขนานกับทิศของการเคลื่อนที่ของแสง
4. โดยปกติเข็มทิศจะวางตัวตามแนวทิศเหนือ-ทิศใต้ เมื่อนำเข็มทิศมาวางใกล้ๆกับกึ่งกลางแท่งแม่เหล็กที่ตำแหน่งดังรูป เข็มจะชี้ในลักษณะใด
       
  1. 
  2. 
  3.  
  4.  
5. ลำอนุภาค P และ Q เมื่อเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็ก B ที่มีทิศพุ่งออกตั้งฉากกับกระดาษมีการเบี่ยงเบนดังรูป ถ้านำอนุภาคทั้งสองไปวางไว้ในบริเวณที่มีสนามไฟฟ้าสม่ำเสมอ แนวการเคลื่อนที่จะเป็นอย่างไร
     
  1.  เคลื่อนที่ไปทางเดียวกันในทิศตามเส้นสนามไฟฟ้า
  2.  เคลื่อนที่ไปทางเดียวกันในทิศทางตรงข้ามกับเส้นสนามไฟฟ้า
  3.  เคลื่อนที่ในทิศตรงข้ามกันโดยอนุภาค P ไปทางเดียวกับสนามไฟฟ้า
  4.  เคลื่อนที่ในทิศตรงข้ามกันโดยอนุภาค Q ไปทางเดียวกับสนามไฟฟ้า
6. อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมา เมื่อเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กข้อใดไม่เกิดการเบน
  1.   อนุภาคแอลฟา
  2.  อนุภาคบีตา
  3.  รังสีแกมมา
  4.  อนุภาคแอลฟาและบีตา
7. วางลวดไว้ในสนามแม่เหล็กดังรูป เมื่อให้กระแสไฟฟ้าเข้าไปในเส้นลวดตัวนำจะเกิดแรง เนื่องจากสนามแม่เหล็กกระทำต่อลวดในทิศทางใด
      
  1.  ไปทางซ้าย (เข้าหาN)
  2. ไปทางขวา (เข้าหาS)
  3. ลงข้างล่าง
  4.  ขึ้นด้านบน
8. อนุภาคโปรตอนเคลื่อนที่เข้าไปในทิศทางขนานกับสนามแม่เหล็ก ซึ่งมีทิศพุ่งเข้ากระดาษแนวการเคลื่อนที่ของอนุภาคโปรตอนจะเป็นอย่างไร
  1. วิ่งต่อไปเป็นเส้นตรงด้วยความเร็วคงตัว
  2.  เบนไปทางขวา
  3. รถยนต์กำลังเบรกกะทันหัน
  4. วิ่งต่อไปเป็นเส้นตรงและถอยหลังกลับในที่สุด
9. จากแผนภาพแสดงลักษณะของเส้นสนามแม่เหล็กที่เกิดจากแท่งแม่เหล็กสองแท่ง ข้อใดบอกถึงขั้วแม่เหล็กที่ตำแหน่ง A, B, C และ D ได้ถูกต้อง
       
  1.  A และ C เป็นขั้วเหนือ B และ D เป็นขั้วใต้
  2.  A และ D เป็นขั้วเหนือ B และ C เป็นขั้วใต้
  3.  B และ C เป็นขั้วเหนือ A และ D เป็นขั้วใต้
  4.  B และ D เป็นขั้วเหนือ A และ C เป็นขั้วใต้
10. บริเวณพื้นที่สี่เหลี่ยม ABCD เป็นบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอซึ่งมีทิศพุ่งออกตั้ง ฉากกับกระดาษดังรูป ข้อใดต่อไปนี้ที่จะทำให้อนุภาคโปรตอนเคลื่อนที่เบนเข้าหาด้าน AB ได้
   
  1.  ยิงอนุภาคโปรตอนเข้าไปในบริเวณ จากทางด้าน AD ในทิศตั้งฉากกับเส้น AD
  2.  ยิงอนุภาคโปรตอนเข้าไปในบริเวณ จากทางด้าน BC ในทิศตั้งฉากกับเส้น BC
  3.  ยิงอนุภาคโปรตอนเข้าไปในบริเวณ จากทางด้าน AD ในแนวขนานกับเส้น AC
  4.  ยิงอนุภาคโปรตอนเข้าไปในบริเวณ จากทางด้าน DC ในแนวขนานกับเส้น DB
11. วางอนุภาคอิเล็กตรอนลงในบริเวณซึ่งมีเฉพาะสนามไฟฟ้าที่มีทิศไปทางขวาดังรูป อนุภาคอิเล็กตรอนจะมีการเคลื่อนที่เป็นไปตามข้อใด
 
  1.  เคลื่อนที่เป็นเส้นโค้ง เบนขึ้นข้างบน
  2.  เคลื่อนที่เป็นเส้นโค้ง เบนลงข้างล่าง
  3.  เคลื่อนที่เป็นเส้นตรงขนานกับสนามไฟฟ้า ไปทางขวา
  4.  เคลื่อนที่เป็นเส้นตรงขนานกับสนามไฟฟ้า ไปทางซ้าย
12. อนุภาคโปรตอน อิเล็กตรอน และนิวตรอน อนุภาคในข้อใดที่เมื่อนำไปวางใน สนามไฟฟ้าแล้วจะมีแรงไฟฟ้ากระทำ
  1.  นิวตรอน
  2. โปรตอนและนิวตรอน
  3.  โปรตอนและอิเล็กตรอน
  4.  โปรตอน อิเล็กตรอน และนิวตรอน
13. แรงในข้อใดต่อไปนี้เป็นแรงประเภทเดียวกันกับแรงที่ทำให้ลูกแอปเปิลตกลงสู่พื้นโลก
  1.  แรงที่ทำให้ดวงจันทร์อยู่ในวงโคจรรอบโลก
  2.   แรงที่ทำให้อิเล็กตรอนอยู่ในอะตอมได้
  3.  แรงที่ทำให้โปรตอนหลายอนุภาคอยู่รวมกันในนิวเคลียสได้
  4.  แรงที่ทำให้ป้ายแม่เหล็กติดอยู่บนฝาตู้เย็น
14. แนวการเคลื่อนที่ของอนุภาคโปรตอนที่ถูกยิงเข้ามาในทิศตั้งฉากกับสนามไฟฟ้าสม่ำเสมอเป็นดังเส้นทางหมายเลข(1) ถ้ามีอนุภาค X ถูกยิงเข้ามาในทิศทางเดียวกันและมีเส้นทางเดินดังหมายเลข(2) ข้อใดสรุปใดที่เป็นไปไม่ได้เลย
       
  1.  อนุภาค X ดังกล่าวมีประจุบวก
  2.  อนุภาค X ดังกล่าวอาจเป็นโปรตอนที่เข้าสู่สนามไฟฟ้าด้วยอัตราเร็วที่ต่ำกว่า
  3.  ถ้าอนุภาค X ดังกล่าวมีประจุเท่ากับโปรตอน ก็จะมีมวลที่น้อยกว่า
  4.  อนุภาค X ดังกล่าวเป็นนิวเคลียสที่มีเพียงโปรตอนสองตัว
15. เส้นลวดโลหะ AB กำลังตกลงมาในแนวดิ่ง ขณะที่เส้นลวดดังกล่าวกำลังเคลื่อนที่เข้าใกล้ขั้วเหนือ(N) ของแม่เหล็กดังรูป อิเล็กตรอนในเส้นลวดโลหะจะมีสภาพอย่างไร
     
  1.   เคลื่อนที่จากปลาย A ไป B
  2.   เคลื่อนที่จากปลาย B ไป A
  3.   อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปที่ปลาย A และ B ในสัดส่วนพอๆกัน
  4.   อิเล็กตรอนจากปลาย A และ B เคลื่อนที่มารวมกันที่กึ่งกลางเส้นลวด
16. แรงระหว่างอนุภาคซึ่งอยู่ภายในนิวเคลียสประกอบด้วยแรงใดบ้าง
  1.  แรงนิวเคลียร์เท่านั้น
  2.  แรงนิวเคลียร์และแรงไฟฟ้า
  3.  แรงนิวเคลียร์และแรงดึงดูดระหว่างมวล
  4.  แรงนิวเคลียร์ แรงไฟฟ้าและแรงดึงดูดระหว่างมวล
17.  จากภาพ ที่ตำแหน่ง ก และ ข มีประจุเป็นอย่างไร
     
  1. บวก, ลบ
  2. ลบ, บวก
  3. บวก, กลาง
  4. กลาง, ลบ
18. แผ่นโลหะคู่ขนาน มีสนามไฟฟ้ากระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอ ณ ทุกจุด โดยมีทิศทางของสนามไฟฟ้าดังรูป เมื่ออิเล็กตรอนตัวหนึ่งวิ่งผ่านสนามไฟฟ้านี้ การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนเป็นอย่างไร
   
  1.  เลี้ยวสวนทางสนามไฟฟ้า
  2.  เลี้ยวตามสนามไฟฟ้า
  3.  มีทิศทางย้อนกลับไปยังเส้นทางเดิม
  4.  วิ่งไปข้างหน้าโดยไม่เปลี่ยนทิศทาง
19. เพราะเหตุใด โทรศัพท์มีคลื่นแทรกตลอดเวลา เมื่อสายโทรศัพท์พันกับสายไฟ
  1.  สายไฟมีคลื่นวิทยุแทรกอยู่
  2.  สายไฟมีการแผ่สนามแม่เหล็กออกมา
  3.  สายโทรศัพท์ลัดวงจรกับสายไฟ
  4.  กระแสไฟฟ้าวิ่งเข้าไปรบกวนคลื่นโทรศัพท์
20. จากภาพ ถ้าเลื่อนลวดตัวนำผ่านแม่เหล็กสองแท่งด้วยทิศทางดังรูป กระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำมีการเคลื่อนที่อย่างไร
     
  1.  ไม่มีกระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่
  2. กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่จาก A ไป B
  3. กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่จาก B ไป A
  4. กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่มารวมกันอยู่ตรงกลาง

<< Go Back