<< Go Back

คำอธิบายรายวิชา
รายวิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ (สายศิลป์) (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ภาคเรียนที่ 2
เวลาเรียน 60 ชั่วโมง  จำนวน 1.5 หน่วยกิต

   หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยคำนึงถึงการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นสำคัญ นั่นคือ การเตรียมผู้เรียนให้มีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยี การสื่อสารและการร่วมมือ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม สามารถแข่งขันและอยู่ร่วมกับประชาคมโลกได้ ทั้งนี้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้ และแก้ปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับระดับชั้น

          ศึกษา วิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับการเคลื่อนที่ แรงที่กระทำต่อวัตถุ ขนาดและทิศทางของแรง แรงลัพธ์และผลของแรงลัพธ์ที่มีต่อวัตถุ แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา แรงเสียดทาน โมเมนต์ของแรง แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา การเคลื่อนที่ในแนวตรง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบวงกลม การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย  การเคลื่อนที่ของวัตถุในสนามโน้มถ่วง แรงกับการเคลื่อนที่ของอนุภาคในสนามไฟฟ้า แรงกับการเคลื่อนที่ของอนุภาคในสนามแม่เหล็ก แรงนิวเคลียร์และแรงไฟฟ้าระหว่างอนุภาคในนิวเคลียส ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงแม่เหล็ก การดึงดูดระหว่างแม่เหล็กกับวัตถุ ขั้วแม่เหล็ก  แรงไฟฟ้า และแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อวัตถุกับระยะห่างจากแหล่งของสนามถึงวัตถุ อัตราเร็วและความเร็ว งานและพลังงาน   เทคโนโลยีด้านพลังงาน การเปลี่ยนรูปพลังงาน การเกิดคลื่น ส่วนประกอบคลื่น และประเภทของคลื่น การสะท้อนและการหักเห การแทรกสอดและการเลี้ยวเบน ความถี่ธรรมชาติ การสั่นพ้อง และผลที่เกิดขึ้นจากการสั่นพ้อง  ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง ได้แก่ การสะท้อน การหักเห การแทรกสอด การเลี้ยวเบน ประโยชน์และผลกระทบจากมลภาวะของเสียง ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับแสงและการมองเห็น สมบัติของแสง การเคลื่อนที่ของแสง การผสมแสงสี องค์ประกอบ คุณสมบัติและประเภทของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หลักการทำงานของอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ประโยชน์และอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การสื่อสารโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

    โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล บันทึก จัดกลุ่มข้อมูล อธิบาย อภิปรายและสร้างแบบจำลอง เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถนำเสนอสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสิน โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการสังเกต การทดลองแบบจำลอง และใช้สารสนเทศที่ได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ คุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

รหัสตัวชี้วัด
    ว 2.2  ม.5/1 , ม.5/2 , ม.5/3 , ม.5/4 , ม.5/5 , ม.5/6 , ม.5/7 , ม.5/8 , ม.5/9 , ม.5/10
    ว 2.3  ม.5/1 , ม.5/2 , ม.5/3 , ม.5/4 , ม.5/5 , ม.5/6 , ม.5/7 , ม.5/8 , ม.5/9 , ม.5/10 , ม.5/11 , ม.5/12
รวมทั้งหมด  22  ตัวชี้วัด

 

<< Go Back