<< Go Back

        ในเรขาคณิตและตรีโกณมิติ มุมฉาก คือมุมที่เกิดจากการแบ่งครึ่งมุมบนเส้นตรง (มุมตรง) เป็นสองขนาดเท่ากัน หรืออธิบายให้เจาะจงก็คือ ถ้ากำหนดให้รังสีมีจุดเริ่มต้นบนเส้นตรงเส้นหนึ่ง และมุมประชิดสองมุมมีขนาดเท่ากัน ดังนั้นมุมดังกล่าวจะเป็นมุมฉาก มุมฉากสอดคล้องกับการหมุนหนึ่งในสี่รอบของรูปวงกลม
        แนวคิดสำคัญที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดคือเส้นตั้งฉาก (perpendicular lines) หมายถึงเส้นตรงหลายเส้นตัดกันทำให้เกิดมุมฉากที่จุดตัด และภาวะเชิงตั้งฉาก (orthogonality) คือสมบัติที่จะทำให้ก่อเกิดมุมฉากซึ่งใช้ในเรื่องเวกเตอร์ มุมฉากที่ปรากฏในรูปสามเหลี่ยมเป็นองค์ประกอบของการนิยามรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งนำไปสู่พื้นฐานของตรีโกณมิติ

 


มุมฉากมีขนาดเท่ากับ 90 องศา
ที่มาของภาพ : http://th.wikipedia.org/wiki/มุมฉาก

 สัญลักษณ์
        ยูนิโคดมีสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายของมุมฉากหลายสัญลักษณ์ ได้แก่

  • U+221F  มุมฉาก
  • U+22BE  มุมฉาก เติมเส้นโค้ง
  • U+299C  มุมฉาก เติมรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
  • U+299D  มุมฉาก เติมเส้นโค้งและจุด

        การเขียนแผนภาพมักใส่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็ก ๆ ให้กับมุมฉาก เป็นการสะท้อนข้อเท็จจริงว่า มุมฉากเป็นองค์ประกอบของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส (และรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก) การเขียนอีกแบบหนึ่งคือ ใช้เส้นโค้งแสดงมุมแล้วเติมจุดลงไปด้านใน


ส่วนของเส้นตรง AB ถูกวาดขึ้นทำให้เกิดมุมฉากสองมุมบนส่วนของเส้นตรง CD
ที่มาของภาพ : http://th.wikipedia.org/wiki/มุมฉาก

การแปลงหน่วย
      มุมฉากมุมหนึ่ง ๆ สามารถแสดงได้ในหลายหน่วยที่แตกต่างกัน เช่น
         - รอบ
         - 90 องศา
         - เรเดียน
         - 100 แกร็ด (หรือเกรด แกรเดียน ก็อน)
         - 8 จุด (ของวงกลมแสดงทิศชนิด 32 จุด)
         - 6 ชั่วโมง (มุมชั่วโมงในทางดาราศาสตร์)


รูปสามเหลี่ยมมุมฉากรูปหนึ่ง มุมฉากของมันแสดงด้วยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็ก ๆ
ที่มาของภาพ : http://th.wikipedia.org/wiki/มุมฉาก


                       ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/มุมฉาก

<< Go Back