โปรแกรม Paint  เป็นโปรแกรมที่ใช้วาดภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการใช้เมาส์แทนพู่กัน ซึ่งโปรแกรม   Paint  เวอร์ชั่นใหม่นี้  สามารถปรับแต่ง และ วาดรูปได้ดีกว่าเดิม สามารถเปลี่ยนรูปภาพธรรมดา ให้กลายเป็นรูปคล้ายภาพที่วาดด้วยดินสอ  หรือ กลายเป็นรูปสีน้ำก็ได้เช่นกัน ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้

ไอคอนโปรแกรม แสดงสัญลักษณ์ของโปรแกรม เมื่อคลิกแล้วจะปรากฎเมนูควบคุมหน้าต่างขึ้นมาหรือ จะใช้วิธีกดปุ่ม 
 

Alt  +  spacebar  ก็ได้

Quick access Toolbar

ใช้เก็บปุ่มคำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ  เช่น  New , Open , Save ,  Print Preview  เป็นต้น

Title bar ส่วนที่บอกชื่อของเอกสาร และ ชื่อโปรแกรม   
ปุ่มควบคุมหน้าต่าง เป็นปุ่มที่ใช้ควบคุมหน้าต่างโปรแกรม ซึ่งจะเป็นปุ่มที่ทำหน้าที่ เหมือนคำสั่งใน ไอคอนโปรแกรม
  คือ ปุ่มย่อ ขยาย ปิด หน้าต่างโปรแกรม
ปุ่ม Paint เป็นปุ่มสำหรับเรียกใช้คำสั่ง ซึ่งคำสั่งก็จะเหมือนๆกับใน Quick access Toolbar จะแตกต่างตรงที่มี
  บางคำสั่งเพิ่มเติมขึ้นมามากกว่า Quick access Toolbar เท่านั้น
แท็บ Home และ View เป็นที่เก็บรวบรวมคำสั่งต่างๆไว้  ซึ่งจะแบ่งคำสั่งออกเป็นกลุ่มๆอีกทีหนึ่ง
Ribbon

กลุ่มของคำสั่งต่างๆที่ใช้ในโปรแกรม  โดยจะแบ่งออกเป็นแท็บ

พื้นที่ทำงาน ใช้สำหรับวาดภาพต่างๆ
Status bar ใช้บอกสถานะของไฟล์รูปภาพ เช่น ขนาดของรูป  รวมไปถึงเครื่องมือที่ใช้ในการย่อ หรือ
  ขยายหน้าต่างของโปรแกรมด้วย

กลุ่มคำสั่งต่างๆที่อยู่ในแท็บ Home
            ในโปรแกรม Paint เวอร์ชั่นนี้ ปุ่มคำสั่งต่างๆจะถูกเก็บรวบรวมไว้ที่แท็บ โดยที่แท็บ Home นั้นจะเก็บรวบรวมคำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ หรือ ใช้ในการวาดรูปเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีรายละเอียดแต่ละกลุ่มคำสั่งดังนี้ 

คำสั่งในกลุ่ม Tool
                เป็นกลุ่มคำสั่งที่ใช้เกี่ยวกับการวาดรูป หรือ เรียกง่ายๆว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวดรูป เช่น ดินสอยางลบ  ถังสี หรือการพิมพ์ข้อความลงในรูป  ซึ่งจะมีเครื่องมือ หรือคำสั่งอยู่ 6 คำสั่ง  ดังนี้

Pencil ใช้วาดรูปตามอิสระ
Fill with color ใช้ใส่สีให้กับวัตถุ
Text ใช้ใส่ข้อความลงไปในภาพ
Eraser    ใช้สำหรับลบส่วนที่ไม่ต้องการของภาพ
Color Picker ใช้สำหรับเลือกสี ในกรณีที่ต้องการคัดลอกค่าสีจากภาพอื่นหรือส่วนอื่นๆ
Magnifier ใช้สำหรับย่อ และขยายพื้นที่ในการวาดภาพ

          วิธีการใช้งานคำสั่งในกลุ่ม Tool
          คำสั่ง  Pencil   เป็นเครื่องมือที่ใช้วาดภาพตามอิสระ โดยการใช้เมาส์วาดภาพ ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้

            คำสั่ง  Fill with color   จะใช้เมื่อมีวัตถุ หรือ รูปภาพที่วาดขึ้นมาแล้ว และต้องการจะเติมสีให้กับรูปภาพนั้น โดยมีข้อแม้ว่าวัตถุนั้นจะต้องเป็นวัตถุแบบปิด ซึ่งก็คือ จุดเริ่มต้น และจุดสุดท้ายจะต้องชนกันพอดี ไม่มีส่วนที่เว้นว่างอยู่   ซึ่งมีวิธีการใช้งานคำสั่งดังนี้

        คำสั่ง  Text  ใช้ในกรณีที่ต้องการพิมพ์ข้อความลงไปภายในภาพ   ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้  

         คำสั่ง  Eraser  ใช้ในกรณีที่ต้องการลบส่วนที่ไม่ต้องการของภาพที่วาดขึ้น  ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้  

                 คำสั่ง  Color picker  ใช้ในกรณีที่ต้องการจะคัดลอกสีจากวัตถุหรือภาพต้นแบบ มีวิธีการใช้งานดังนี้  

               คำสั่ง  Magnifier ใช้สำหรับย่อ - ขยายรูปภาพที่วาด หรือเรียกง่ายๆว่าซูมเข้า - ออกก็ได้ ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้

คำสั่ง  Brushes
           Brushes หรือ พู่กัน เป็นเครื่องมือที่ใช้วาดภาพเหมือนกับดินสอ หรือ Pencil  ซึ่งวิธีการใช้งานนั้นก็จะเหมือนๆกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือจะมีลายเส้นเหมือนกับการใช้พู่กันในการวาด ซึ่งต่างจากลายเส้นของดินสอที่จะเป็นเพียงเส้นตรงที่เท่ากัน  นอกจากนี้ Brushes ยังมีลักษณะลายเส้นแบบอื่นๆให้เลือกใช้อีกหลายรูปแบบ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

Brushes มีลักษณะเส้นดังนี้     
Calligraphy brush 1 มีลักษณะเส้นดังนี้     
Calligraphy brush 2 มีลักษณะเส้นดังนี้     
Airbrush มีลักษณะเส้นดังนี้     
Oil brush มีลักษณะเส้นดังนี้     
Crayon มีลักษณะเส้นดังนี้     
Marker มีลักษณะเส้นดังนี้     
Natural  pencil มีลักษณะเส้นดังนี้     
Watercolor  brush มีลักษณะเส้นดังนี้     

คำสั่งในกลุ่ม Shapes
            เป็นคำสั่งที่ใช้สร้างรูปร่างสำเร็จรูปจากโปรแกรม โดยที่ไม่ต้องวาดขึ้นมาเอง อย่างเช่น รูปหัวใจ รูปดาว เป็นต้น และยังสามารถใส่สีลักษณะต่างๆให้รูปร่างโดยไม่ต้องใส่เอง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

Shapes ใช้วาด หรือ สร้างรูปร่างต่างๆ
Outline  ใช้กำหนดลักษณะของเส้นขอบรูปร่าง
Shape  fill ใช้กำหนดลักษณะสีพื้นของรูปร่าง

วิธีการใช้งานคำสั่งในกลุ่ม Shapes
  คำสั่ง  Shapes   มีวิธีการใช้งานดังนี้

  คำสั่ง  Outline   มีวิธีการใช้งานดังนี้

  คำสั่ง  Shape fill  มีวิธีการใช้งานดังนี้

คำสั่ง Size
            เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับเปลี่ยนขนาดของเส้น หรือ เส้นขอบของวัตถุ ซึ่งก็คือจะใช้กำหนดขนาดของดินสอ  พู่กัน ยางลบนั่นเอง  ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้

 

          ซึ่งขนาดของเส้นแต่ละคำสั่งนั้นจะไม่เหมือนกัน  หรือไม่เท่ากันทั้งหมด   ตัวอย่างเช่น

ขนาดของ Pencil

ขนาดของ  Eraser

ขนาดของ  Watercolor brush

ขนาดของ  Airbrush

คำสั่งในกลุ่ม Color
            เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดสีส่วนต่างๆของรูปภาพไม่ว่าจะเป็นสีเส้น  สีพื้น ซึ่งจะแบ่งเป็น Color 1 , Color 2  และ ส่วนของการเลือกสี

Color 1    ใช้ในการเลือกสีของดินสอ พู่กัน การเทสีจากถังสี และสีตัวอักษร
Color 2 เป็นสีพื้นหลัง คือ เมื่อใช้ยางลบลบส่วนที่ไม่ต้องการออก บริเวณที่ถูกลบจะเป็นสีของ Color 2
   หรือ ในกรณีที่สร้าง Shape ขึ้นมา สีพื้นของ Shape จะเป็นสีของ Color 2 นั่นเอง
Edit colors เป็นคำสั่งที่ใช้เลือกสีอื่นๆเองตามต้องการ นอกจากสีที่โปรแกรมมีมาให้

วิธีการใช้งานคำสั่งในกลุ่ม Color

  คำสั่ง  Color 1   โดยปกติโปรแกรมจะมีค่าเริ่มต้นอยู่ที่ Color 1อยู่แล้ว โดยมีวิธีการใช้งานดังนี้

  คำสั่ง  Color 2  มีวิธีการใช้งานดังนี้

  คำสั่ง  Edit colors  มีวิธีการใช้งานดังนี้

คำสั่งในกลุ่ม Image

  Select ใช้เลือกส่วนที่ต้องการของรูปภาพ
  Crop ใช้ตัดให้เหลือเฉพาะส่วนที่ต้องการของรูปภาพ
  Resize ใช้เปลี่ยนขนาดของรูปภาพ
  Rotate    ใช้หมุนรูปภาพ

วิธีการใช้งานคำสั่งในกลุ่ม Image

  คำสั่ง  Select    ใช้สำหรับเลือกส่วนต่างๆของภาพ ซึ่งภายในคำสั่งจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  1. Selection shapes  ซึ่งมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ เลือกแบบสี่เหลี่ยม และ เลือกแบบอิสระตามต้องการ
  2. Selection options โดยมีคำสั่งย่อยอยู่อีก 4 คำสั่ง ได้แก่
- Select  all  ใช้เลือกรูปภาพทั้งภาพ
- Invert  selection ใช้เลือกส่วนที่ตรงกันข้ามกับการเลือกก่อนหน้านี้
- Delete ใช้ลบส่วนที่เลือกไว้
- Transparent  selection ใช้กำหนดไม่ให้กรอบสี่เหลี่ยมเส้นประของการเลือกปรากฏขึ้น

ซึ่งขึ้นตอนในการใช้งานคำสั่ง Select นั้น   มีวิธีการดังนี้

การเลือกด้วยคำสั่ง Rectangular selection

การเลือกด้วยคำสั่ง Free-form  selection

   คำสั่ง  Crop  เป็นคำสั่งที่ใช้ตัดให้เหลือเฉพาะส่วนที่ต้องการของกภาพ โดยการใช้คำสั่ง Crop นั้นจะต้องใช้คำสั่ง Select เลือกบริเวณที่จะตัดก่อน  จากนั้นจึงค่อยใช้คำสั่ง Crop ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้

 

  คำสั่ง  Resize  เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับขนาดของภาพทั้งหมด หรือในกรณีที่ใช้คำสั่ง Select เลือกวัตถุใดเอาไว้ก็จะเป็นการปรับขนาดเฉพาะส่วนที่เลือกไว้  ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้

    คำสั่ง  Rotate  เป็นคำสั่งที่ใช้หมุนภาพทั้งหมด หรือในกรณีที่ใช้คำสั่ง Select เลือกวัตถุใดเอาไว้ก็จะเป็นการหมุนเฉพาะส่วนที่เลือกไว้  ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้

คำสั่งในกลุ่ม Clipboard

 

  Cut ใช้ย้ายตำแหน่งของรูปภาพเฉพาะส่วนที่เลือก
  Copy ใช้คัดลอกรูปภาพเฉพาะส่วนที่เลือก
  Paste ใช้วางรูปภาพที่ก่อนหน้านี้ใช้คำสั่งย้ายหรือ คำสั่งคัดลอกมาก่อน

วิธีการใช้งานคำสั่งในกลุ่ม Clipboard

4. จะได้ผลลัพธ์ตามต้องการ

กลุ่มคำสั่งต่างๆที่อยู่ในแท็บ View
            แท็บ View จะเก็บรวบรวมคำสั่งที่ใช้สำหรับปรับเปลี่ยนลักษณะการดู  ซึ่งมีรายละเอียดของแต่ละกลุ่มคำสั่งดังนี้ 

คำสั่งต่างๆในกลุ่ม Zoom

  Zoom in ใช้เพิ่มขนาดรูปภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
  Zoom out ใช้ลดขนาดรูปภาพให้มีขนาดเล็กลง
  100 % ใช้คืนค่ารูปภาพให้มีขนาดที่100%ในกรณีที่ทำการย่อหรือ ขยายรูปภาพไปแล้ว

          โดยวิธีการใช้งานให้คลิกเลือกที่ปุ่มคำสั่งได้ทันที  โปรแกรมก็จะแสดงมุมมองตามคำสั่งที่เลือกใช้

คำสั่งต่างๆในกลุ่ม Show or hide

  Ruler คลิกให้มีเครื่องหมายถูก หากต้องการให้แสดงไม้บรรทัดบนหน้ากระดาษ
  Gridlines คลิกให้มีเครื่องหมายถูก หากต้องการให้แสดงเส้นตาราง
  Status bar คลิกให้มีเครื่องหมายถูก หากต้องการให้แสดงแถบสถานะทางด้านล่าง

          โดยวิธีการใช้งานให้คลิกที่ช่องสี่เหลี่ยมหน้าคำสั่งหากต้องการใช้งานคำสั่งนั้นๆ   แต่หากไม่ต้องการใช้งานให้คลิกซ้ำอีกครั้งเพื่อยกเลิกการใช้งาน

คำสั่งต่างๆในกลุ่ม Display

  Full screen ใช้แสดงรูปที่วาดให้เต็มหน้าจอ
  Thumbnail ใช้แสดงรูปอย่างย่อ (Thumbnail) ในกรณีที่ขยายรูปเกิน 100%

          โดยวิธีการใช้งานให้คลิกเลือกที่ปุ่มคำสั่งได้ทันที  โปรแกรมก็จะแสดงมุมมองตามคำสั่งที่เลือกใช้

การจัดการไฟล์ในโปรแกรม Paint
                เมื่อคลิกที่ปุ่ม Paint จะปรากฏคำสั่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการไฟล์รูปภาพ   ดังนี้

          ในบางคำสั่งอาจไม่สามารถใช้งานได้ทันที เนื่องจากต้องมีโปรแกรม หรือ อุปกรณ์ที่รองรับคำสั่งนั้นๆ เช่นคำสั่ง Print หรือ From scanner or camera จะต้องมีการติดตั้งเครื่องพิมพ์  เครื่องสแกน หรือต่อเข้ากับกล้องดิจิตอลอยู่ก่อน จึงจะสามารถเลือกใช้งานได้  ซึ่งหากไม่มีอุปกรณ์ต่ออยู่ ปุ่มคำสั่งจะเป็นสีเทา และไม่สามารถเลือกใช้งานได้   หรือคำสั่ง Send in e-mail ก็จะต้องมีโปรแกรมที่รองรับในการส่งอีเมล์ด้วยจึงจะสามารถส่งรูปภาพไปทางอีเมล์ได้
          การใช้งานคำสั่งย่อย  จะสังเกตได้ว่าบางคำสั่ง จะมีรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ อยู่ทางด้านหลังอยู่แสดงว่ายังมีคำสั่งย่อยซ่อนอยู่อีก ซึ่งวิธีการเรียกใช้งานคำสั่งย่อยนั้นทำโดย เลื่อนเมาส์ไปยังคำสั่งที่มีคำสั่งย่อยอยู่  จากนั้นคำสั่งย่อยๆที่ซ่อนอยู่จะปรากฏขึ้นมาให้เองทันที จากนั้นค่อยเลื่อนเมาส์ไปที่คำสั่งย่อยๆนั้น แล้วคลิกเลือกที่คำสั่งย่อยที่ต้องการ

ประเภทของไฟล์ภาพที่ควรรู้จัก