<< Go Back

คำอธิบาย: http://www.sopon.ac.th/sopon/sema_web/secondary5/health_educ/anatony/eye_files/c11.jpg
ที่มารูปภาพ http://physicsworld.nanacity.com/physicsworld/lesson/see1.htm

  นัยน์ตา และส่วนประกอบ  นัยน์ตาแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนประกอบภายนอกและส่วนประกอบภายใน ดังต่อไปนี้
     1. ส่วนประกอบภายนอกของนัยน์ตา ประกอบด้วยส่วนที่มองเห็นอยู่ภายนอก ที่สำคัญ คือ คิ้ว ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เหงื่อไหลเข้าตา ขนตาทำหน้าที่ ป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้าตาได้โดยง่าย เปลือกตาหรือหนังตา ทำหน้าที่เปิดปิดตาเพื่อรับแสง และป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับ
ตา นอกจากนี้ ยังมี ต่อมน้ำตา ซึ่งอยู่ที่ใต้หางคิ้ว ทำหน้าที่ขับน้ำตาออกมาหล่อเลี้ยงตาอยู่ตลอดเวลา

คำอธิบาย: http://physicsworld.nanacity.com/physicsworld/lesson/pic/see1.0.jpg
ที่มารูปภาพ http://physicsworld.nanacity.com/physicsworld/lesson/see1.htm

     2. ส่วนประกอบภายในของนัยน์ตาตาขาว เป็นส่วนที่มองเห็นเป็นสีขาว ทำหน้าที่ปกคลุมลูกตาทั้งหมดยกเว้นตรงกลาง คือ กระจกตา (Cornea) ซึ่งเป็น แผ่นใสๆ โค้งนูนคลุมตาดำอยู่ ทำหน้าที่ช่วยให้แสงจากภายนอกผ่านเข้าไปในลูกตาได้ ถ้ากระจกตาเป็นฝ้าทึบแสงจะผ่านเข้าไปในลูกตา ไม่ได้ จะทำให้ตา มองไม่เห็นตาดำหรือม่านตา (Iris) เป็นกล้ามเนื้อยืดหยุ่นได้ ลักษณะสีจะเป็นสีตามพันธุกรรม เช่น สีดำ สีฟ้า เป็นต้น ภายในตาดำจะมีรูม่านตา (pupil) ซึ่งสามารถเปิด – ปิดขนาดรูม่านตาให้แคบหรือกว้างได้ตามความต้องการให้แสงเข้าในตา

คำอธิบาย: http://physicsworld.nanacity.com/physicsworld/lesson/pic/see1.4.png
ที่มารูปภาพ http://physicsworld.nanacity.com/physicsworld/lesson/see1.htm

     แก้วตาหรือเลนส์ตา(Lens) มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อใสเหมือนแก้วคล้ายเลนส์นูนในกล้องถ่ายรูปแก้วตาจะมีกล้ามเนื้อและเอ็นคอยปรับให้แก้ว
ตา โค้งออกเมื่อมองภาพในระยะใกล้ หรือปรับแก้วตาให้แบนลงเมื่อมองภาพระยะไกล เพื่อให้ภาพที่มองเห็นไปตกลงบนจอตาพอดีจอตาหรือฉากตา (Retina) อยู่ด้านหลังของแก้วตา และอยู่ด้านในสุดของลูกนัยน์ตาเป็นผนังที่ประกอบด้วยใยประสาทที่ไวต่อแสง เซลล์ประสาทเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นจอรับภาพที่เห็น และส่งความรู้สึกไปที่ประสาทตาซึ่งเชื่อมต่อไปยังสมอง เพื่อแปลความรู้สึกของแสงที่รับไว้นั้นให้เป็นภาพที่เห็นต่อไปใน ส่วนของจอตามีจุดสำคัญอยู่ 2 จุด คือ
- จุดที่มองเห็นภาพชัดที่สุด เรียกว่า "จุดโฟเวีย" (Fovea Spot) หรือเยลโลสปอต (Yellow Spot) จุดนี้ไวต่อการรับแสงมากที่สุด ถ้าแสงสะท้อน จากวัตถุมาตกลงบนจุดนี้จะทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด
- จุดที่มองไม่เห็นภาพ เรียกว่า "จุดบอด" (Blind Spot) เป็นจุดที่เป็นขั้วประสาทตา ถ้าแสงสะท้อนจากวัตถุมาตกลงตรงจุดนี้เราจะมองไม่เห็นภาพ น้ำเลี้ยงลูกตา มีลักษณะเป็นน้ำใสๆ คล้ายน้ำวุ้นอยู่ในลูกตา ระหว่างแก้วตากับจอตา ทำหน้าที่ช่วยให้ลูกตารักษารูปทรงอยู่ได้

คำอธิบาย: http://physicsworld.nanacity.com/physicsworld/lesson/pic/see1.1.pngคำอธิบาย: http://physicsworld.nanacity.com/physicsworld/lesson/pic/see1.2.png
ที่มารูปภาพ http://physicsworld.nanacity.com/physicsworld/lesson/see1.htm

การมองเห็นภาพของนัยน์ตา
     เรามองเห็นภาพต่างๆ ได้เพราะแสงจากสิ่งที่เรามองนั้นสะท้อนเข้าสู่ตาเรา แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงโดยผ่านกระจกตาผ่านรูม่านตา ผ่านแก้วตา ไปตกที่จอตา เส้นประสาทที่จอตาจะส่งกระแสประสาทไปที่สมองในส่วนรับการมองเห็น สมองจะทำหน้าที่แปลภาพหัวกลับเป็นภาพหัวตั้งตาม สิ่งที่เห็น เมื่อนำการทำงานของนัยน์ตาของเราไปเปรียบเทียบกับกลไกการทำงานของกล้องถ่ายรูปแล้วจะพบว่าคล้ายคลึงกันมาก

คำอธิบาย: http://physicsworld.nanacity.com/physicsworld/lesson/pic/see1.3.png
ที่มารูปภาพ http://physicsworld.nanacity.com/physicsworld/lesson/see1.htm

 

http://physicsworld.nanacity.com/physicsworld/lesson/see1.htm

<< Go Back